Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ข้อสังเกตุ ในแง่สังคม กับ พรก.ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ จากแนวกระแส สถานะการณ์ ติดต่อทีมงาน

การประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ในปี ๕๒ ของ รบ.อภิสิทธิ์ ที่ก็ใช้ กำลังเจ้าหน้าที่ ทหาร พร้อมอาวุธสงคราม เพียงแต่ไม่มีข้อพิสูจน์ ถึงการมีผู้เสียชีวิต และก็ไม่มีกรณีตรวจสอบถึง ความชอบธรรม ของการปฎิบัติการ ทั้งในรัฐสภา หรือศาลรัฐธรรมนูญ อันหมายถึงในด้านปฎิบัติ ก็คือ การใช้กำลังเจ้าหน้าที่ ทหาร พร้อมอาวุธสงคราม เป็นการบริหารราชการในสถานะการณ์ฉุกเฉิน ถูกมองว่า เป็นลักษณะการปฎิบัติการโดยชอบด้วย รธน. และนิติกฎหมาย พร้อมผลความเสียหาย ที่บังเกิดขึ้น จากการปฎิบัติการด้วย ทหารพร้อมอาวุธสงคราม จะได้รับยกเว้นความผิดทางอาญา ในความคุ้มครองของ พรก.ฉุกเฉิน ขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผู้มีส่วนร่วม ในการปฎิบัติการ ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ในปี ๕๓ นำมาเป็นเหตุผลกับความชอบธรรม และเกราะป้องกันกับการถูกเรียกร้องความรับผิดชอบ ในกรณีผู้เสียชีวิต และบาทเจ็บ เป็นสำคัญ เพื่อให้ได้ความชอบธรรม น่าจะเป็นสาเหตุ ที่ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน และกระแสแน๊ะนำ ในตอนน้ำท่วม ให้ นายก ยิ่งลักษณ์ ประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน นั่นเองครับ


จากสถานะการณ์ จะสามารถตั้งข้อสังเกตุ ที่สรุปได้เคล่าๆ ว่า จากการชันสูจน์พลิกศพ ผู้เสียชีวิตอาจเป็นผลมาจาก การปฎิบัติหน้าที่ของ จนท.รัฐ ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน แต่ไม่สามารถพิสูจน์บุคคลผู้กระทำได้ ตราบใดที่ไม่มีใครสนใจกับ ความถูกต้องและชอบธรรมตาม รธน. ก็ไม่มีความชอบธรรมใดๆ กับการกล่าวหา หรือดำเนินคดีอาญากับผู้ร่วมการฝ่ายรัฐบาล ได้ จากสถานะการณ์ หลังจาก ผู้ออกคำสั่ง มาให้การ โดยใช้คำอ้างในฐานะ พยาน ที่ว่า กระทำตามอำนาจ พรก.ฉุกเฉิน สมมุติว่า ทางฝ่ายอัยการ เน้นคดีเฉพาะอยู่ที่การชันสูจน์พลิกศพ และยื่นข้อมูลหลักฐานทั้งหมดให้ศาลพิจารณา โดยคำพิจารณาก็จะทราบว่า …..ใครคือผู้เสียชีวิต ในขณะปฎิบัติหน้าที่ของ จนท.รัฐ.... อันก็เป็นหลักฐานสำคัญ ที่ญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตจะได้รับความเยียวยา ทุกอย่างในคดีก็จะถึงจุดสิ้นสุด ลงไป ส่วนถ้าสมมุติว่า ทางฝ่ายอัยการเน้นคดีครอบคุมในลักษณะ การตายมาจากการกระทำผิดกฎหมายอาญา และโดยมี จนท.รัฐ มีส่วนเกี่ยวข้อง ก๊จะส่งสำนวนสอบสวนให้กับ ดีเอสไอ (ถ้าจำไม่ผิด) ที่ก็เป็นส่วนประกอบ และประสานงานกับ ศอฉ. (ผู้ร่วมการฝ่าย รบ.) เพื่อให้ทำสำนวนสอบสวนพิจารณา คดีความในขั้นต่อไป อันก็จะขึ้นอยู่กับ ภาระกิจรัดตัวของ ดีเอสไอ ที่อาจออกแถลงการณ์ในสังคมล่าช้า เป็นเดือนหรือเป็นปี แต่สำคัญก็คือ ไม่มีการยื่นคดีฟ้อง จนท.รัฐ นั่นเองครับ


เพราะความเป็นไปได้ กับการกระทำผิดต่อสิทธิมนุษย์ชน ในประเทศที่มีระบบปกครอง ที่ยังมิใช่ ประชาธิปไตย สมบูรณ์แบบ โดยอย่างน้อย จะมีลักษณะนิติบัญญัติที่มิใช่เจตนารมณ์ ส่วนใหญ่ของ ปชช. มีลักษณะบริหารโดยบังคับใช้ มีลักษณะตุลาการที่ไม่โปร่งสัยตามหลักนิติธรรมสากล อันหมายถึงว่า เป็นสังคมที่มีนิติรัฐ แบ่งแยกระหว่าง ผู้มีอำนาจ และ ผู้อยู่ใต้อำนาจ นั่นเอง การถูกริดรอนสิทธิของผู้อยู่ใต้อำนาจ กับอิสระเสรีของฝ่ายผู้มีอำนาจ นี่เองเป็นรากฐาน หรือเจตนารมณ์ ของ รธน.กรุงโรม และทำให้บังเกิด ศาลคดีอาญาสากล ไอซีซี ขึ้นมา ที่ ประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมเป็นประเทศภาคีประเทศหนึ่ง เพียงแต่การพิจารณาคดี จะสามารถกระทำได้โดยชอบธรรม เมื่อประเทศภาคีได้ลงนามสัจญาบัน รับรองเสียก่อน โดยที่ รบ. ของประเทศไทยยังมิได้กระทำ ครับ


อย่างน้อยในฐานะประเทศภาคี ของประเทศไทย เป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของ ศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่จะตรวจสอบกระบวนการยุติธรรม ถึงการละเมิดสิทธิมนุษย์ชน ของประเทศไทย โดยอิสระได้ รวมทั้งสามารถนำ กรณีที่อยู่ในขอบข่ายละเมิด รธน.กรุงโรม โดยได้รับคำสมยอม จาก รบ. หรือคำขอร้องจาก ยูเอ็น ให้เป็นกรณีวิสามัญ ขึ้นพิจารณาความในระดับศาลได้ โดยการรับคำร้อง ในระดับต้น จะสอบเทียบจากหลักสากล (รธน.กรุงโรม) พร้อมข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่เอง กับ รธน. และนิติกฎหมาย ในประเทศนั้นๆ เป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากหลักฐานข้อมูล ที่พร้อมยื่นให้พิจารณารับคดี กับ บุคคลสัญชาติ อังกฤษ น่าจะทำให้ เป็นที่จับตาสังเกตุ ของหน่วยงานศาลอาญา ในขณะนี้ ที่ถือเป็นจุดยืน


.) การประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ไม่มีเหตุผลอันชอบธรรมตาม รธน.๕๐ ของไทย

.) การปฎิบัติการ ศอฉ. มิได้อยู่ในกรอบสิทธิอำนาจ ของ พรก.ฉุกเฉิน และกฎบัญญัติ รธน.กรุงโรม (สิทธิมนุษย์ชน)

.) กระบวนการยุติธรรม เมื่อเทียบกับ นิติบัญญัติสากล มิได้อยู่ในของข่ายที่โปร่งสัยตามสมควร


ลักษณะความคืบหน้า ในคดีความ ที่มีผู้เสียชีวิตและบาทเจ็บ ในขณะปฎิบัติหน้าที่ ตาม พรก.ฉุกเฉิน น่าจะมีแนวโน้มเข้าสู่ การได้รับเยียวยาส่วนบุคคล และไม่มีผู้ใดต้องรับผิดชอบ ตามนิติกฎหมายอาญา ส่วนผลทางการเมือง ก็จะเป็นมาตราการสำคัญ ของการใช้กำลัง เจ้าหน้าที่ทหารพร้อมอาวุธสงคราม โดยคำสั่งของ รัฐบาล ในสถานะฉุกเฉิน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสถานะการณ์ สงครามกลางเมือง หรือตาม พรก.กฎอัยกาศึก ในอนาคต และถ้าบังเอิญ เป็นขณะที่ มี รบ. ประเภทรัฐประหารซ่อนรูป ก็จะกรายเป็นเครื่องมือที่สำหรับใช้ในการ ผดุงรักษาอำนาจ อย่างมีผลประโยชน์ อันสูงยิ่ง ครับ


ไม่ว่า ผู้มีส่วนร่วม หรือรับผิดชอบด้วยการออกคำสั่ง จะถูกดำเนินคดีทาง กฏหมายอาญาหรือไม่ก็ตาม ไม่เพียงแต่น่าจะเป็นสิ่งที่ควรทำใจ เพราะไม่สามารถเอาชีวิตที่เสียไปกลับคืนมาได้ เท่านั้น แต่ที่สำคัญคือ การมีอนาคต เสมือนถูกมัดมือชก กับ การปฎิบัติหน้าที่โดยคำสั่ง ของ ทหารพร้อมอาวุธยุโธปกรณ์สงคราม ภายไต้ความคุ้มครองของ พรก.ฉุกเฉิน กับตัวเองและลูกหลาน จนกว่า มติชนส่วนใหญ่ จะมีพลังเพียงพอ กับการเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ใข อันโดยช่วยผลักดัน ให้ รบ. ลงสัญญาบัญ และยึดแนวทางความคิดของกลุ่ม นิติราษฎร มาปฎิบัติ นั่นเอง ครับ


แก้ไขเมื่อ 10 ธ.ค. 54 04:51:48

จากคุณ : พลายทมิฬ
เขียนเมื่อ : วันรัฐธรรมนูญ 54 04:51:12 A:217.227.32.59 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com