จากกระทู้
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11446530/P11446530.html
ก่อนอื่น ผมต้องบอกตรงๆ ที่ต้องน้อมขอความเห็นอกเห็นใจ และเมตตาปราณี กับความเละเทะในคุณวุฒิ และประสบการณ์ ของผม หรือข้างบ้านเขาเรียกกันว่า เป็นพวก “ศาสตร์ติดลบ” ที่แน่นอนมิบังอาจเผยอตัวเท่าเทียบกับคุณ ห่านป่า ได้แน่นอน ครับ คนอยู่ตามป่า ตามดอย ก็ต้องอาศัย ผีสางนางไม้ และเศษขยะตีพิมพ์ ที่พวกมีความเจริญเอาทิ้งขว้างเอาไว้ เป็นพื้นฐานการค้นคว้าหาความรู้ ที่ในภาษาชาวกรุงเรียกว่า “คุณวุฒินั่งเทียน” แหละครับ ด้วยเหตุนี้ผมจึงมีข้อสงสัย และก็พยายามตั้งคำถาม กับ นักรัฐศาสตร์ นักนิติศาสตร์ นักมั่วศาสตร์ ในบอรด์ เพราะดีกว่าเก็บตก ตามพื้นที่ ครับ ทีนี้จะได้มิต้องเอามาเป็นข้อสงสัยกันอีก ถูกใหมครับ
แปลกใหมครับ คุณ ห่านป่า ผมก็เคยได้ยินอย่างที่คุณอ้าง “ประชาธิปไตย คือ... การปกครอง...โดยประชาชน เพื่อประชาชน และประชาชน นั้นเอง” และบังเอิญผมก็ได้ยิน คนสูงอายุ ผมขาว ตาน้ำข้าว หลายๆ คนที่บอกว่า ที่กล่าวกันเช่นนี้ เป็นตัวบทความที่เรียกกันว่า “เจตนรมณ์” อันเป็นผลที่ทำให้เกิดมีการสร้าง กฎระเบียบการปฎิบัติ ที่ในภาษาไทยเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” (กฏแม่บท) ขึ้นมาครับ ฉนั้น การที่จะสามารถเรียก สังคมในระบอบ ประชาธิปไตย ขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ในตัวบทของ รธน. ที่มีเจตนารมณ์ การปกครอง โดยและเพื่อ ประชาชน หรือ ระบบให้และปกป้องสิทธิ ระบุไว้อย่างชัดเจนและเป็นเอกฉันท์ ครับ
เพราะความแตกต่าง ในตัวบท ของ รธน. นี่เอง ทำให้เกิด สังคมประชาธิปไตย ที่ต่างรูปแบบ อันเรียกขานกันว่าเป็น ประชาธิปไตยซ่อนรูป หรือ ประชาธิปไตยอนาถา ขึ้นมา อันโดยลักษณะ ของ ประชาธิปไตยซ่อนรูป จะมองที่ ตัวบทของ รธน. มีแนวโนม้ของ ระบบบังคับใช้ (เผด็จการ) ซ่อนแฝงปะปนอยู่ ส่วน ประชาธิปไตยอนาถา (กำพร้า) จะอยู่ที่ตัวบทของ รธน. ที่ยังขาดความสมบูรณ์เป็นเอกฉันท์ กับความหมาย นั่นเองครับ ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ รธน. ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ สามารถมีการแก้ใข หรือยกเลิกการใช้ ขึ้นได้ ครับ
ส่วนที่ คุณห่านป่า อ้างว่า
แต่เนื่องจากประชาชนมี จำนวนมาก หากทุกคนมีอำนาจใช้กันอย่างสะเปะสะปะ ทำให้ไม่มีทิศทางในการบริหารประเทศ จึงมีการให้ใช้ ประชาธิปไตย ในลักษณะตัวแทน นั้นก็คือ การเลือก ตัวแทน ของประชาชนเกิดขึ้น โดยการเลือกตัวแทน เป็น สส. เข้าทำหน้าที่ในสภาฯ โดยกำหนดให้ เสียงส่วนใหญ่ มีอำนาจในการบริหารประเทศทั้งหมด แล้วตัวแทนเหล่านั้นค่อยไปบัญญิติกฏเกณท์ ที่จะใช้กับประชาชนต่อไปได้ ประชาชนจึงจะยอมรับ
คุณ ห่านป่า ครับ ลักษณะการปฎิบัติ ที่จำเป็นต้องให้มีผู้แทน เป็นธรรมชาติของความเป็นจริงในทุกระบบแบบของสังคม แต่มิใช่เฉพาะกับ ประชาธิปไตย ที่ต้องนำมาแยกแยะครับ ถ้าผมจำไม่ผิด จากเนื้อหา สามารถสรุปได้ว่า เป็นเพียง แนวคิดริเริ่ม ของภาคปฎิบัติ ของคนๆ หนึ่ง ชื่อว่า มารค์ หรือ คาร์มารค์ (แต่ก็อย่าตกใจน๊ะครับ ไม่ใช่ คนเดียวกันกับ คนที่คุณ ห่านป่า ยกย่อง เพราะเขาสิ้นชีพไปนานแล้ว ครับ) อันยึดหลักปฎิบัติ (บริหาร) โดยมีอำนาจอยู่ในจุดศูยน์กลาง เสมือนเช่น ระบบปกครองในอดีตของมนุษย์ชาติ หรือที่ในสมัยปัจจุบันเรียกกันว่า ระบบเผด็จการ นั่นเองครับ ก็เพราะเป็นเพียงแนวคิด นี่เอง ทำให้ ตัวบทของ รธน. เป็นกรณี ประชาธิปไตยอีกสองประเภทขึ้นมา
เพื่อให้ ประชาธิปไตย เป็นไปตามเจตนารมณ์ ด้วยบัญญัติ รธน. ทำให้บังเกิด การปฎิบัติ (บริหาร) ให้ยึดหลัก มติเสียงข้างมาก และให้มี พื้นฐานอิสสระการใช้อำนาจ (สามหลักอำนาจ) ออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ เพื่อมิให้เกิด อำนาจรวม หรือ ใช้อำนาจแทรกแทรง อย่างในระบอบ เผด็จการ นั่นเอง ครับ อันความเข้าใจเช่นนี้ หลายคนที่ได้รับความยกย่อง ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านนี้ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่แหละคือ ความเข้าใจพื้นฐานของนักประชาธิปไตย หรือเขาให้ชื่อว่า วิญญานแห่งประชาธิปไตย ครับ
อย่างที่เห็น ผมได้แสดงความเลอะเทอะของผม ให้คุณทราบ เพียงแต่รอให้ คุณห่านป่า ได้เมตตาแบ่งปัน คุณวุฒิ ของคุณ ให้เป็นวิทยาทาน กับผม เผื่อผมจะได้เอาไปเล่าให้ เด็กแถบบ้าน ที่มาเยี่ยมประจำอาทิตย์ ฟัง ครับ
แก้ไขเมื่อ 12 ธ.ค. 54 14:30:32