จากกระทู้
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11447377/P11447377.html
ก่อนอื่น ผมต้องขอขอบใจ คุณ หมอเด็ก เป็นอย่างมาก ที่ให้ความสนใจกับ บทความของผม พร้อมทั้งให้แนวคิด และขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ ถ้าคำตอบ ที่มาจาก การตีความเข้าใจของผม แต่ไม่ตรงประเด็น
อันตามปรกติ การใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือการลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นผู้แทน มิได้กำจัดอยู่ที่ วัยวุฒิ และ คุณวุฒิ ครับ ในกรณีที่เด็กมิสามารถใช้สิทธิเลือกตั้ง ขึ้นอยู่กับ กฎระเบียบของการ รับรองผู้บรรลุนิติภาวะ (กฎแม่) และส่วนบุคคล ที่มีระเบียบต้องห้าม ทั้งๆ ที่บรรลุนิติภาวะ (รู้ทราบนิติ) ก็เป็นกรณีวิสามัญ อันก็มีกฎระเบียบรองรับ (กฎลูก) อีกทีครับ
การใช้มติชน เสียงข้างมากเพื่อเลือก ผู้แทน เข้ารับหน้าที่บริหารสังคม เท่านั้น เป็นลักษณะปฎิบัติ ที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของประชาธิปไตย ครับ ส่วนการได้คะแนนเสียง ถ้าเป็นคะแนนเสียง ไม่สามารถ ใช้วิจารณาญานอย่างอิสระของตนเองได้ ก็หมายถึงว่า เป็นคะแนนเสียงที่ไม่ชอบธรรม อันการประสานควบคุม อยู่ในอำนาจ ของกรรมการเลือกตั้ง ครับ คุณอย่าลืมว่า นโยบาย ของผู้สมัคร คือ จุดประสงศ์กับการบริหาร ในอนาคต ที่ไม่มีข้อผูกพันกับ ความสำเหร็จ หรือ ให้ผลประโยชน์ตามความคาดหมาย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ อย่างเช่น ถ้าสถานะการณ์อุทกภัยที่มีผลเสียหายต่อ ปชช. และรัฐ ไม่บังเกิดขึ้น โอกาสที่จะลงมือกับนโยบาย ตามที่แจ้งหาเสียงไว้ จะมีมากขึ้น เป็นต้นครับ แม้แต่ในการดำรงค์ชีวิตของเราเอง มีอะไรบ้างล๊ะครับ ที่ตั้งเป็นจุดประสงศ์ ในอนาคตเอาไว้ พอวันนั้นมาถึง กลับเป็นไปไม่ได้ ฉนั้นการให้คะแนนเสียงด้วย นโยบาย ไม่ใช่สัญญา ที่ในทุกกรณีเป็นข้อผูกพัน ที่จะต้องกระทำ ครับ
ตรงกันข้ามถ้าไม่มีอุปสรรค์กีดกั้น และผู้ได้คะแนนเสียงไม่ทำตามนโยบาย ก็หมายถึง การหมดโอกาสที่จะให้คะแนนเสียง กับเขาอีก นั่นเอง แต่ที่แน่ การลงคะแนนเสียง ไม่ว่า จะถูกต้อง หรือผิดพลาด เป็นการให้สิทธิเป็นผู้แทน ในช่วงระยะปรกติ ทีกำหนด (๔ ปี) โดยก็จะเป็นช่วงเวลา ร่วมรับผิดชอบ และรับผลประโยชน์ ครับ
แก้ไขเมื่อ 12 ธ.ค. 54 15:44:12