+++++ การใช้อคติและความเกลียดชังในใจมาพิจารณา จะไม่ทำให้เกิดความยุติธรรม +++++
|
 |
ดูเหมือนมีสมาชิกบางท่านกำลังมีการใช้อคติและความเกลียดชังในใจมาพิจารณาความถูกผิด ในเหตุการณ์เมย-พค ที่เกิดในปี 2553 เป็นสิทธิของท่านนั้นๆที่จะใช้วิธีคิดแบบนั้น แต่การคิดแบบนั้นย่อมไม่ทำให้เกิดความยุติธรรม แต่สะท้อนความด้วยในวุฒิภาวะของท่านนั้นเอง ขออนุญาตกล่าวเป็นกรณีทั่วไป ไม่พาดพิงสมาชิกท่านใด และยกเป็นบางเรื่องที่เห็นแตกต่าง ดังนี้
1.การใช้สามัญสำนึก ที่ไม่มีการแยกแยะ ย่อมไม่ทำให้เกิดความยุติธรรม ดังกล่าวแล้ว การเสียชีวิตในเหตุการณ์เมย.-พค. เกิดมาจากหลายสาเหตุ ทั้งการที่ผู้ชุมนุมเข้าปะทะเจ้าหน้าที่ หรือมีการลอบยิงจากผู้ชุมนุมเอง ดังนั้น การที่เหมารวมยกการเสียชีวิตทั้งหมดให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยไม่แยกแยะ โดยอาศัยอ้างเอาเพียงสามัญสำนึกของตน เท่ากับ เป็นการใช้ศาลเตี้ยยกให้ใครใดคนหนึ่งต้องรับผิดในสิ่งที่เขาไม่ได้กระทำ อันเป็นการผิดหลักความยุติธรรม และเป็นความคิดที่เลวร้ายมาก
2. สามัญสำนึกของคนหนึ่ง จะไม่เหมือนกับของอีกคนเสมอไป จึงไม่สามารถเอามาตัดสินความผิดของใครได้
สามัญสำนึกเป็นการอ้างเอาของแต่ละคน สามัญสำนึกและความคิดของคนเสื้อแดง ย่อมแตกต่างไปจาก สามัญสำนึกและความคิดของคนที่ไม่ใช่เสื้อแดงโ ดยเฉพาะคนที่เกลียดชังเสื้อแดง ย่อมมีความคิดและสามัญสำนึก ที่แตกต่างไป ดังนั้น การอ้างเอาสามัญสำนึก จึงเป็นการอ้างที่ไม่อาจจะได้ข้อสรุปว่าจะเอาของใครเป็นยุติ
หากกรณีเหตุการณ์เมย-พค 53 ไปถามเสื้อเหลือง และเอาสามัญสำนึกของเสื้อเหลือง หรือคนอื่นๆที่ไม่ใช่ที่นิยมเสื้อแดงเป็นหลักในการตัดสิน คำตอบอาจจะออกมาว่า ผู้ที่ฝ่าฝืนประกาศพรก.ฉุกเฉิน และชุมนุมโดยสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน เป็นผู้ละเมิดกฎหมาย เมือรัฐบาลเอาทหารติดอาวุธออกมา ยังคิดต่อสู้ก็สมควรที่จะมีการสูญเสีย และทหารหรือเจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องรับผิด
การพิจารณาเรื่องต่างๆสามารถใช้สามัญสำนึกได้ แต่การตัดสินคนเพื่อให้ผิดถูกนั้น ระบบยุติธรรมทั่วโลกที่เจิรญแล้ว จึงไม่ใช้สามัญสำนึก แต่ใช้การพิจูจน์หลักฐานความถูกผิดของทั้งสองฝ่าย ลำพังการยึดเอาสามัญสำนึกของตนเป็นใหญ่เพื่อตัดสินผู้ใด จึงเป็นพฤติกรรมการใช้เพื่อจะเป็นศานเตี้ยเท่านั้น
3. การยกตรรกะที่ผิดพลาดเพื่อเอาผิดบุคคลหนึ่ง แต่ไม่เอาผิดอีกบุคคลหนึ่ง เหตุการณ์ผ่านฟ้า-ราชประสงค์ มีคนตายเกือบร้อยศพ บาดเจ็บสองพันคน หากอภิสิทธิ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีไม่อาจจะหนีความรับผิดชอบไปได้ เช่นนั้น ทักษิณก็ไม่อาจจะหนีความรับผิดชอบที่มีคนตายในกรณีกรืเซะ ตากใบ ที่มีคนตายเป็นร้อย ไปได้เช่นกัน ในฐานะ "ผู้สั่งการ" เป็นการรับผิดชอบใน "ภาพรวม" ของเหตุการณ์ และเมื่อเป็นกรณีรัฐขัดแย้งกับประชาชนเช่นกัน เมื่อเกิดความสูญเสีย ผู้สั่งการย่อมต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาเหมือนๆกัน
เหตุการณ์ผ่านฟ้า-ราชประสงค์ แม้จะไม่ใช่สงคราม แต่เป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย และมีการก่อความวุ่นวายต่อเนื่องมีการใช้อาวุธสงคราม เมื่อรัฐประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน หากผู้ชุมนุมมีความบริสุทธ์ใจ ย่อมสลายตัวไป จวบจน มีการยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน ย่อมสามารถจัดชุมนุมใหม่ได้ตามสิทธิพื้นฐาน การไม่เลิกจากการชุมนุม เป็นการแสดงเจตน์จำนงของผู้นำการชุมนุมที่จะให้มีเหตุร้าย
4.การไม่ยอมพิจารณาหลักฐานให้รอบด้าน ทั้งฝ่ายผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหา ด้วยเพราะมีใจอคติ แต่รีบด่วนจะตัดสินให้มีความผิด ด้วยจิตใจที่อคติ ไม่ยอมพิจารณาข้อเท็จจริงที่ได้เกิดขึ้นจริงๆทั้งหมด ตัวอย่างเช่น มีกล่าวอ้างว่า “นายอภิสิทธิ์พูดว่า "ให้ทหารปฏิบัติการได้อย่างเสรี" คำพูดนี้แสดงให้เห็นว่า นายอภิสิทธิ์แสดงตนว่าเป็นผู้ "รับผิดชอบ" ทุกอย่างที่เกิดขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้”
และลำพังแค่คำพูดของอภิสิทธิ์เพียงแค่นี้ โดยมิยอมรับฟังข้อเท็จจริงอื่นที่เกิดขึ้น ก็ยืนยันว่าอภิสิทธิ์ผิดโดยไม่ยอมรับรู้รับฟังข้อเท็จจริงอื่นที่เกิดขึ้น ก็เหมือนกับเด็กที่เอาแต่ใจตัว ร้องตะโกนกระทืบเท้าเร่าๆเอาแต่ใจของตัวเองว่า อภิสิทธิ์ต้องผิดเพราะพูดแบบนั้นไปแล้ว โดยไม่ยอมรับฟังข้อโต้แย้งจากอีกฝ่าย ได้แต่ร้องว่า ต้องผิดต้องผิด ไปแบบนั้น
โดยมิพักจะรับฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ว่าเขาสั่งนั้น ในข้อเท็จจริงปรากฏในเอกสารว่า เขาสั่งให้ระวังชีวิตประชาชน การปฏิบัติการที่เสรี ก็ต้องเป็นไปตามที่เขาสั่ง หากจะมีความผิดพลาดก็ต้องดูในข้อเท็จจริงว่า ทำไมกำชับแล้วจึงมีการเสียชีวิต
5. การพูดแบบตีขลุม และไม่แยกแยะระหว่างความผิดทางอาญากับความผิดทางการเมือง มีการอ้างว่า คำสั่งของ ศอฉ. แม้จะถูกต้องตามอำนาจ พรก.ฉุกเฉินแค่ไหนก็ตาม แต่เมื่อเกิดความผิดพลาดสูญเสีย ผู้สั่งการย่อมต้องรับผิดชอบ รับผิดชอบเพราะเกิดความผิดพลาดต่อเนื่องยาวนาน สูญเสียต่อเนื่องยาวนาน ผู้ตาย-เจ็บ ล้วนเป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ทั้งนั้น เป็นการพูดแบบเด็กๆที่ตีขลุมโดยปราศจากหลักฐานมายืนยัน
เพราะตามข้อเท็จจริง ไม่ใช่ผู้ชุมนุมทั้งหมดที่เป็นผู้ประพฤติดี มีผู้ประพฤติร้ายทำการยิงทำร้ายเจ้าหน้าที่อยู่ การโพสต์ว่า ล้วนเป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดูแล้วจะเป็นการตีขลุมโดยขัดแย้งกับข้อเท็จจริง
ไม่รู้จักแยกแยะว่าความผิดใดเป็นความผิดอาญา ความผิดใดต้องรับผิดทางการเมือง ได้แต่ร้องร่ำว่า มาร์คต้องผิด มาร์คต้องผิดอยู่ถ่ายเดียว เพราะเรื่องนี้หากพิจารณาตามที่ปรากฏ หากไม่มีหลักฐานว่า มาร์คหรือสุเทพได้สั่งการให้ทหารปฏิบัติละเมิดกฎการปะทะที่เป็นมาตรฐานที่ศอฉ.วางไว้ หรือสั่งการให้ทหารฆ่าประชาชนโดยไม่มีเหตุผล ลำพังการเสียชีวิตที่เกิดขึ้น ย่อมไม่สามารถจะเอาผิดทางอาญากับทั้งสองคนนี้ในฐานะฆ่าผู้ใดได้
ส่วนการเอาผิดในฐานะละเว้นปฏิบัติหน้าที่นั้น ยังต้องรอขอพิสูจน์ในรายละเอียดจากหนังสือ พยานที่จะให้ข้อเท็จจริงว่า ได้มีการควบคุมกำกับพอเพียงแล้วหรือไม่ เหตุที่ทหารกระทำการเกินคำสั่งเกิดด้วยเหตุที่สุดวิสัยจริงหรือไม่
กรณีนี้ หากมาร์คหรือสุเทพพิสูจน์ได้ว่าได้กระทำการทุกอย่างที่คนในฐานะนายกฯและรองนายกฯจะกระทำได้เพื่อป้องกันการละเมิดอำนาจของทหาร แต่เหตุที่เกิดก็ยังเกิด ( เหมือนกับที่ทหารของสหรัฐหรือชาติยุโรปหรือชาติอื่น จะมีเหตุเช่นนี้ เมื่อลงพื้นที่ปฏิบัติการณ์จริง ) สิ่งที่ทั้งสองจะรับผิดชอบ น่าจะเป็นการรับผิดชอบทางการเมืองมากกว่า ซึ่งกรณีนี้ ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจเอง เช่น ไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์มาแม้แต่คนเดียว เพราะถือว่าผิดพลาดร้ายแรงทำให้ประชาชนที่ล้วนแต่บริสุทธ์เสียชีวิต และพรรคนี้จะตายไปในทางการเมือง อภิสิทธิ์จะไม่ได้กลับมาเป็นสส.อีก

เป็นข้อคิดที่ต้องการให้สมาชิกมีสติสักนิด อย่าใช้แต่อคติและความเกลียดชังในใจมาพิจารณาเพื่อยืนกรานความผิดของใคร แบบยืนกระต่ายขาเดียว แบบเด็กๆไปแบบนั้น

จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
12 ธ.ค. 54 18:26:20
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|