 |
+++++ ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่พิจารณาคดีย้อนหลังครับ คุณกาลามะชน +++++
|
 |
ที่คุณกาลามะชน ลงความเห็นไว้ในกระทู้ P11450406 นั้นถูกบางส่วน แต่ในข้อเท็จจริงศาลอาญาระหว่างประเทศจะไม่พิจารณาคดีย้อนหลัง คำว่าไม่ย้อนหลังนี้ นั้นคือ คือ 1.ไม่ย้อนหลังไปก่อน วันที่ 2 กรกฏาคม 2545 ( 1 July 2002) และ 2.จะไม่ย้อนหลังไปก่อนวันที่สนธิสัญญาโรมมีผลในประเทศนั้นๆครับ
ทั้งนี้เป็นไปตามหลัก "ไม่มีกฎหมายไม่มีความผิด" นั้นคือ ในเวลาที่ สนธิสัญญาไม่มีผลในประเทศนั้น การกระทำใดๆในประเทศนั้น ย่อมไม่สามารถจะถือเป็นความผิดตามสนธิสัญญากรุงโรมได้ เพราะกฎหมายนั้นไม่มีอยู่ในเวลานั้น หากเทียบเคียงกรณีที่เกิดในเมืองไทยก็ต้องบอกว่า ในเหตุการณ์ พค 2553 นั้น สนธิสัญญาไม่มีผลในประเทศไทย การกระทำใดๆในเดือน พค.2553 จึงไม่สามารถจะถือเป็นความผิดตามสนธิสัญญากรุงโรมได้
ความข้อนี้คุณกาลามะชน สามารถตรวจสอบได้โดยตรงจากกฎบัตรกรุงโรม ครับ ผมขออนุญาตคัดบางส่วนมาลงประกบไว้เพื่อความสะดวกในการพิจารณาเรื่องนี้ของสมาชิก ดังนี้
กฎบัตรข้อ 11 (2) ระบุว่า หากประเทศใดเป็นภาคีหลังจากที่สนธิสัญญามีผลไปแล้ว( หลัง 1 กค 2545) ศาลจะมีอำนาจพิจารณาคดีในประเทศนั้นได้ เฉพาะแต่อาชญากรรมที่ทำหลังจากกฏบัตรได้มีผลในประเทศนั้นแล้วเท่านั้น ( คลิก )
Article 11 Jurisdiction ratione temporis (2.) If a State becomes a Party to this Statute after its entry into force, the Court may exercise its jurisdiction only with respect to crimes committed after the entry into force of this Statute for that State
| แต่การพิจารณาคดีก่อนสัตยาบรรณจะมีผลใช้บังคับ หรือที่เรียกว่าย้อนหลังไปนั้น จะเกิดได้ใน 2 กรณีเท่านั้น คือ 1. ตามความในวรรคท้ายของมาตรา 12 นี้เปิดโอกาสไว้ว่า แม้ประเทศนั้นจะยังไม่ให้สัตยาบรรณ แต่หากรัฐบาลประเทศนั้นแจ้งเป็นทางการว่าได้ยอมรับอำนาจศาลแล้ว ศาลก็จะเข้าไปพิจารณาคดีได้ หรือ 2. ตามกฎบัตรข้อ 13(b) โดยคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติมีมติให้ศาล เข้าไปดำเนินการพิจาณาคดีและเหตุการณ์ในประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะเจะจง แม้ประเทศนั้นไม่เป็นภาคีเลยก็ตาม แต่การมีมตินี้ต้องเป็นไปตามกฎบัตรสหประชาชาติ Chapter VII เท่านั้น
กรณีที่คุณยกมาเรื่อง อดีตผู้นำเผด็จการหลายคนในอัฟริกาที่กำลังถูกดำเนินคดี นั้นก็เป็นเพราะมีมติของคณะมนตรีความมั่นคงตามกฎบัตรข้อ 13(b) มิใช่เพราะศาลไปมีอำนาจพิจารณาคดีย้อนหลังได้เองในเหตุที่เกิดขึ้น ก่อนประเทศเหล่านั้นเข้าเป็นภาคี
ตรงนี้ข้ออนุญาต ลงคำอธิบายกฎบัตรกรุงโรมไว้จากเวบที่เขาบรรยายไว้ชัดเจนว่า ศาลจะไปมีอำนาจพิจารณาคดีเฉพาะคดีที่เกิดหลังประเทศนั้นๆเข้าเป็นภาคีแล้ว โดยให้นับไป 60 วันหลังวันที่ประเทศนั้นๆได้ยื่นสัตยาบรรณต่อนายทะเบียน (กฎบัตรมิได้มีผลทันที แต่จะมีผล 60 วันหลังจากที่ยื่นเอกสารต่อนายทะเบียน )
Where the ICC Statute comes into force for a particular State Party after 1st July 2002, then the ICC has jurisdiction for crimes committed after the entry into force of the Statute for that State. Therefore for a State which accedes or ratifies after 1st May 2002, the entry into force of the Statute shall be the first day of the month after the 60th day following the deposit by the State of its instrument of ratification, acceptance, approval or accession (“The 60 day rule” – See Article 126(2) click to view ).
|
ส่วนกรณีการพิจารณาคดีในเหตุการณ์ในกัมพูชา หรือ อิรัค ที่คุณยกมา หรือ Yugoslavia, Rwanda, Sierra Leone, หรือ East Timor นั้น ไม่ใช่ศาลอาญาระหว่างประเทศ ไม่ใช่ศาลICC ครับ แต่เป็นศาลเฉพาะกิจระหว่างประเทศที่เรียกกันว่า Ad Hoc Tribunal หรือ International tribunal เป็นศาลเฉพาะกิจ ศาลกลุ่มนี้ตั้งขึ้นมาพิจารณาคดีเป็นคราวๆไป ไม่ได้มีกฎบัตรอะไรเฉพาตัว แต่อาศัยสนธิสัญญาเจเนวา และกฎหมายอื่นๆในการพิจารณษคดี และมักจะเป็นการพิจารณาคดีแบบเอาผิดย้อนหลัง จนมีนักสิทธิมนุษย์ชนและนักกฎหมายบางกลุ่มเคยทักท้วงว่า เป็นการตั้งศาลเอาผิดกับการกระทำที่ไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติว่าผิด รายละเอียดของศาลเหล่านี้ จะไม่ขอนำมาลง แต่หากสนใจแนะนำลองเข้าไปอ่านดูในลิงค์ค่อไปนี้ ครับ 1 2 และ 3

โดยสรุป ตามที่ผมทราบมาและตามกฎบัตรและคำอธิบายที่ข้างต้น การศาลอาญาระหว่างประเทศจะเริ่มมีอำนาจ ในประเทศไทย หลัง 60 วันล่วงไปแล้วนับจากวันที่ประเทศไทยยื่นแสดงสัตยาบรรณต่อนายทะเบียนครับ ไม่ใช่ก่อนหน้านั้น ดังที่มีการเข้าใจกัน

จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
13 ธ.ค. 54 12:23:07
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|  |