นอกจากนี้แล้ว ศาลได้วินิจฉัยว่า เมื่อฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองรถขณะเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และรัฐบาลได้ประกาศพ.ร.ก. เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองมีความไม่สงบ โดยนปช.เริ่มชุมนุมเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 และนปช.ทำการปิดถนน ทำให้ประชาชนเกิดความไม่สงบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายตามมาตรา 135/1 (1),มาตรา 83 คดีนี้ถือเป็นคดีร่วมกันก่อการร้ายคดีแรกที่ศาลตัดสินลงโทษ แต่ทั้งนี้ ศาลได้ยกฟ้องจำเลยข้อหา ฐานสนับสนุนการก่อการร้าย เนื่องจากมีพยานโจทก์เพียงปากเดียวมาเบิกความว่าจำเลยเป็นผู้ขับรถให้แก่นาง จุรีรัตน์ สินธุไพร ซึ่งเป็นแกนนำ นปช. แต่โจทก์ก็ไม่มีพยานอื่นใดมาเบิกความว่า กลุ่มแนวร่วมนปช.เป็นกลุ่มก่อการร้าย จึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการ กลุ่มนปช.ในการกระทำการก่อการร้าย นอกจากนี้แล้ว ในรถคันเกิดเหตุมีการตรวจรถยนต์พบ เครื่องยิงจรวด อาร์พีจี 2 ,ระเบิดสังหาร,ปืนกล จึงพิพากษาว่าจำเลยร่วมกันมี ปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดไว้ในความครอบครอง ลูกระเบิดไว้ในความครอบครอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยฐานร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอม (แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม) จำคุก 2 ปี ฐานร่วมกันก่อการร้ายตามมาตรา 135/1(1) จำคุก 20 ปี ,ฐานร่วมกันใช้และครอบครองเครื่องยิงจรวดจำคุก 5 ปี,ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิด จำคุก 5 ปี ,ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนกลมือ จำคุก 5 ปี ,ฐานร่วมกันพกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันควร จำคุก 1 ปี ตามพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 แต่ยกฟ้องความผิดตามพ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530และสนับสนุนนปช.ในการก่อการร้าย รวมจำคุก 38 ปี ที่มา ประชาไท
|