ปชช. ทั่วโลก เช่นเดียวกับคนไทย ทุกคน ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว อันตามนิติกฎหมาย ให้ถือว่า เป็นผู้รู้ รธน. และนิติกฎหมาย คนหนึ่ง ส่วนการเป็นนักกฎหมาย คือผู้ที่มีคุณวุฒิในด้าน นิติศาสตร์ (ทนาย) ที่สามารถนำความรู้กฎหมายมาใช้ในภาคปฎิบัติ หลายๆ คน ที่อยากแสดงตน ว่าเป็นผู้สามารถใช้ แต่การแสดงออกมาในรูปผู้รู้ นั่นเอง ถ้าใครสักคน ที่มีประสบการณ์การใช้ มาเพียงพอ ก็ทำให้นึกถึงตัวเอง ในสมัยเริ่มต้นศึกษาที่ต้อง พยายามท่องจำ กับ มาตรา และตัวบท (เนื้อหา) เพื่อตอบโจทย์ และใช้ โอ้อวดในวงสนทนา หาความเลื่อมสัย กับญาติมิตรเพื่อนฝูง ที่ไม่เคยจับแตะ อันผิดกับสมัยหลังจากได้ปริญญา ที่ต้องนำเอา นิติศาสตร์ มาเป็นอาชีพ อันสำคัญอยู่ที่ สามารถนำเอา มาตรา และตัวบท (เนื้อหา) มาตีความหรือเป็นเหตุผลอย่างไร ที่สามารถเอาผิดเรียกร้อง (โจทย์) ที่สามารถแก้ผิดเรียกร้อง (จำเลย) หรือที่สามารถเป็นผู้ชี้ขาด(พิพากษา) โดยต่างเป็นผู้มีคุณวุฒิอย่างเสมอภาค แต่ต่างประสพการใช้ต่อกัน นั่นเอง ครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นนักกฎหมาย ผมหมายถึงแต่เฉพาะผู้ที่ มีชีวิตประจำวันกับการใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือเลี้ยงชีพ สมมุติอย่างเช่นว่า เป็นทนายความอาญา ก็แล้วกัน ครับ ในรับงาน การต่อสู้คดีอาญา ผู้ว่าจ้าง (จำเลย) คือผู้ถูกกล่าวหาคดีอาญา โดยจุดยืนก็คือ ให้ต่อสู้คดีเพื่อให้ จำเลย ได้รับความเป็นธรรมจากคำพิพากษา ที่แน่นอนตรงกันข้ามกับ ความเป็นธรรมของ โจทย์ (อัยการ) ในเมื่อลักษณะวิธีการพิจารณาคดีอาญา ของไทย เป็นระบบที่ผู้ตกเป็นจำเลย (ผู้ถูกกล่าวหา) เป็นผู้ใช้สิทธิในการพิสูจน์แสดงความบริสุทธิ์ โดยจะแบ่งออกเป็น สาม ลักษณะด้วยกัน
๑.) ลักษณะผิดระเบียบการพิจารณา ตัวอย่าง ในคดียุบพรรค ปชป. อันโดยสาเหตุการยื่น สำนวนคำฟ้อง ที่ผิดระเบียบการ เป็นผลให้มีคำพิพากษา ยกสำนวนฟ้อง (จำหนายคดี)
๒.) ลักษณะผิดข้อมูลพยานหลักฐาน ตัวอย่าง ในคดีสาวยิง ฮ. อันโดยสาเหตุ ข้อมูลพยานหลักฐาน ไม่สามารถมาใช้เป็น ข้อพิสูจน์การกระทำผิด เป็นผลให้มีคำพิพากษา ยกสำนวนฟ้อง (จำหนายคดี)
๓.) ลักษณะผิดความหมายจากตัวบทกฎหมาย ตัวอย่าง ในคดีทีเจ อุดร โดย ฐานะสื่อสารมวลชน สามารถนำความจริงมาเปิดเผยในสังคม อันมิอยู่ในลักษณะหมิ่นประมาท เป็นผลให้มีคำพิพากษา ยกสำนวนฟ้อง (จำหนายคดี)
อันเป็นลักษณะ ในการพิจารณาความผิดเบื้องต้น รวมทั้งในช่วงพิจารณาลงอาญา โดยยึดหลักนิติธรรมสากล คือความคุมเคลือในคดียกผลประโยชน์ให้จำเลย เป็นหลัก นั่นเองครับ ในกรณีที่ไม่มีลักษณะผิดตาม สาม ลักษณะ ในคดีก็จะก้าวเข้าสู้หลักการพิจารณาความผิดเพื่อวินิจฉัยระวางโทษ อันสามารถเปรียบเทียบได้จาก คดีแป๊ะลิ้ม ที่มีความผิดโดยขาดเจตนา กับใน คดีอากง ที่มีความผิดเพียงไม่สมควร (สถานเบา) ไม่ใช่กรณีร้ายแรง (สถานหนัก) เป็นต้น ครับ
สิ่งที่กระเทือนใจ กับคนรู้กฎหมาย อาจสันนิฐานลักษณะ การพิจารณาคดีอาญาของทั้งสอง ว่าไม่เป็นธรรม ฯลฯ จนถึงการปลุกกระแสต่อต้าน ฯลฯ กับนิติกฎหมาย ในมาตรานี้กันขึ้นมา ซึ่งก็เป็นกรณีอนาคติ อันไม่เกี่ยวข้องกับ ทั้งสอง คดี เพราะถ้ามองจาก บัญญัติ รธน. จะเห็นถึงความสำคัญ ในการมีนิติกฎหมายมาตรานี้ และความจำเป็นกับการบังคับใช้ อันฝ่ายหนึ่ง จะใช้เหตุผลความชอบธรรม ในตัวบทกฎหมาย ตาม รธน. ส่วนฝ่ายต่อต้าน ก็เอาความไม่เป็นธรรม ในด้านสิทธิคุ้มครอง การแสดงความเห็น ของตัวบทกฎหมาย ตาม รธน. เช่นกัน ทั้งๆ ที่ความเป็นจริง ปัญหาที่บังเกิดขึ้น อยู่ที่ในลักษณะ "การบังคับใช้ที่แตกต่าง" นั่นเองครับ
๑.) ในขณะที่แจ้งข้อกล่าวหา ในข้อหาที่มีโทษร้ายแรง อันมีเหตุผลที่สมควรยื่นขอให้มีการกักขังชั่วคราว และก็เป็นลักษณะปฎิบัติที่ใช้อยู่ ในขณะที่ จำเลยในคดีแป๊ะลิ้ม มีกิจการและที่พักอาศัยรวมทั้งปัจจัยการเดินทาง น่าจะมีเหตุผลสมควรและเชื่อมั่นได้ว่า อาจมีการหนีคดีได้ กลับไม่มีการจับกุมขัง ส่วนคดีอากง ขนาดค่าเลื้ยงชีพประจำวันก็ยังชักหน้าไม่ถึงหลัง ต้องอาศัยเจือจุนจากญาติมิตร กลับถูกจำขังด้วยเหตุผล ตามลักษณะคดี ทั้งๆ ที่ยังมิได้สรุปสำนวนคดีขึ้นฟ้อง และทราบถึงผลคำพิพากษา
๒.) ในขณะที่ผู้พิพากษา คดี น่าจะมีเหตุผลสมควร ที่อัยการ ผู้ยื่นคำร้องในคดี แป๊ะลิ้ม จะสามารถใช้ข้อมูลพยานหลักฐาน มาพิสูจน์ในขั้นอุทรถึง เจตนารมณ์ โดยนำเอา ข้อความหมิ่นมาเปิดเผยในสาธารณะชน ทั้งๆ ที่สามารถเลี่ยงได้ ส่วนในคดี อากง ฝ่ายผู้สู้คดี ก็สามารถ ใช้ข้อมูลพยานหลักฐาน มาพิสูจน์แยกแยะในขั้นอุทรถึง การใช้สิทธิตาม วิอาญา ถึงความเป็นไปได้ว่า จำเลย อาจเป็นผู้บริสุทธ หรือผู้กระทำผิดตามคำฟ้อง ได้เช่นเดียวกัน อันเป็นลักษณะ ผิดลักษณะผิดข้อมูลพยานหลักฐาน (๒)
๓.) ลักษณะของคดี โดยคดี แป๊ะลิ้ม เป็นการกระทำผิดด้วยข้อพิสูจน์ จากข้อมูลพยานหลักฐาน แต่การพิจารณา ในข้อ เจตนารมณ์ เป็นเพียงดุลย์พินิจ อันหมายถึง มีการกระทำความผิดจริง ส่วนใน คดีอากง ไม่มีข้อมูลพยานหลักฐาน ที่เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า จำเลย อย่างแน่นอน (จนด้วยหลักฐาน) เป็นผู้กระทำผิด
ผมเพียงจะชี้จากความเข้าใจ ของคำถามในหลายกระทู้ ที่ได้รับคำโต้ตอบแย้ง ในลักษณะ ผู้รู้กฎหมาย โดยเขาขาดความเข้าใจว่า ในการพิจารณาคดีอาญา มิใช่เกี่ยวกับ การพิสูจน์ความบริสุทธ์ ในการสู้คดี แต่เป็นการพิสูจน์ ถึงความคลุมเคลือ (เป็นไปได้) ถึงความบริสุทธ์ คือระหว่าง ขาดเจตนารมณ์ และข้อมูลพยานหลักฐานชี้ชัด (ไม่จนต่อข้อมูลพยานหลักฐาน) โดยไม่จำเป็นต้องเอา มาตรา หรือ ตัวบท มาใช้ แยกแยะเป็นเหตุผล ในฐานะนักกฎหมาย ครับ ผมเชื่อว่า น่าจะเป็นประโยชน์ ในสังคม รดน. มากกว่า ด้วยการแสดงตัว ในฐานะนักกฎหมาย โดยลดการโต้แย้งแข่งขัน ในความสามารถในการ ท่องจำ มาตรา และตัวบท แต่ควรจะใช้ ประสบการณ์การใช้กฎหมาย ด้วยการตีความและให้ความเข้าใจ ถึงหลักการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ควรเข้าใจว่า การยกตนข่มด้วย มาตรา หรือตัวบท หมายถึง ตัวเองรู้มาก ในด้านกฎหมาย น๊ะครับ
แก้ไขเมื่อ 17 ธ.ค. 54 07:13:13