การมองของคุณ ศาลายา ถึง "การตัดสิทธิการเมืองเป็นการห้ามประกอบอาชีพ" เป็นกรณีที่ผมเองก็มองเช่นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ความเป็นจริงของข้อต้องห้าม ครอบคุมเกินกว่า การอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ นั่นเอง ครับ และโดยเฉพาะการใช้ผลบังคับย้อนหลัง อย่างที่ระบุใน ตัวบทของ รธน. เมื่อนำมาเทียบกับ "ให้ใช้กฎหมายในขณะที่ศาลพิพากษา" มาเป็นเหตุผลยืนยันความถูกต้อง เพราะมันก็ไม่ผิดอะไร กับการได้มาถึงการเป็นนายก ของ รบ.อภิสิทธิ์ นั่นเอง ครับ
ถ้าเมื่อวานผมขายถั่ว และวันนี้มีกฎหมายห้าม ความผิดในฐานะกระทำต้องห้าม ที่จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อวันนี้ผมยังขายถั่วอยู่เท่านั้น อย่างถ้าจะมองเทียบในเชิงความคิด การชุมนุมมีมาก่อนการตั้ง ศอฉ. ที่ตั้งขึ้นเพื่อปกปัดภัยพิบัติในกรณีฉุกเฉิน ในเมื่อการชุมนุมเป็นสิทธิโดยชอบธรรม เป็นข้อพิสูจน์แน่ชัดว่า การชุมนุมมิใช่สถานะการณ์ฉุกเฉิน ฉนั้นการปฎิบัติการของ ศอฉ. ไม่เป็นลักษณะปกปัดภัยพิบัติ แต่การนำเอา บทบัญญัติต้องห้าม การชุมนุมในขณะมีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน มาเป็นเหตุผล ในการปฎิบัติการ "สลายชุมนุม" หรือให้ฟังเพราะว่า "ขอคืนพื้นที่จราจร" ฝ่ายชุมนุมยึดว่า การชุมนุมเป็นสิทธิอันชอบธรรมการปฎิบัติการเป็นการละเมิดสิทธิโดยจงใจของผู้มีอำนาจ ส่วน ศอฉ. ก็ถือว่า ในขณะประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ห้ามชุมนุม ฉนั้นการปฎิบัติการเป็นการปฎิบัติโดยชอบด้วย รธน.และนิติกฎหมาย
ผลทางการเมืองในอนาคต ก็จะหมายถึงว่า ถ้ายอมให้กรณีสลายชุมนุม ตามข้อมูลพยานหลักฐาน ทางกฎหมาย ของ ศอฉ. และเหตุผลการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน เป็นไปโดยชอบธรรม นับแต่นี้ไป ถ้าการชุมนุมเรียกร้อง ที่ผู้บริหารเข้าใจว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความลำบากต่อตัวเอง ก็สามารถใช้เป็นผลในการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน และให้ใช้มาตราการรุนแรง โดยทหารพร้อมอาวุธยุโธปกรณ์สงคราม เข้าสลายการชุมนุมโดยชอบธรรม ไม่ว่าจะบังเกิดความเสียหาย ต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ในขอบข่ายใด ก็จะมิต้องถูกดำเนินคดีอาญา นั่นเอง แต่ถ้ายอมให้กรณีสลายชุมนุม ชี้ชัดตามความเป็นจริง จะเห็นว่า การประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน มิชอบด้วย รธน. เช่นเดียวกับการใช้มาตราการปฎิบัติการ ของ ศอฉ. ในกรณีต้องห้ามชุมนุม ในขณะที่มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน โดยการใช้ความรุนแรงเข้าสลายชุมนุม ที่ทั้งระบบมีความจำเป็นที่จะต้องถูกพิจารณา ตามกระบวนการยุติธรรมถึงความผิด ในด้านการเมืองก็จะเป็นผลว่า รูปแบบรัฐประหาร หรือเผด็จการ ที่ปรับเปลื่ยนให้เข้ากับ รธน. และนิติกฎหมาย หรือให้กรายเป็นกรณีชอบธรรม ของยุคสมัย (สมัยใหม่) จะไม่เป็นผลสำเหร็จได้ อันในขณะนี้ขึ้นอยู่กับ กระบวนการยุติธรรมทุกรูปแบบ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับคดีผู้เสียชีวิต และบาทเจ็บ หรือเสียหาย จากการปฎิบัติการสลายชุมนุม จะให้ผลออกมาในรูปใด และท้ายที่สุดคือ การยอมรับของ ปชช. ที่จำต้องถูกบังคับใช้ หรือที่เรียกว่า เป็นสิ่งชอบธรรม ตาม รธน. และนิติกฎหมาย กันต่อไป ครับ
ฉนั้นเมื่อวกกลับมาดู กรณีการตัดสิทธิทางการเมือง ที่ใช้การพิจารณาคดี มาสร้างความเป็นธรรม ตามบัญญัติ รธน. และนิติกฎหมาย ก็น่าจะสันนิฐานได้ว่า ที่จริงนั้นเป็นกรณี วิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือเป็นการสร้างการทำลายร้างฝ่ายตรงข้าม กันแน่ อันเป็นบ่อเกิดถึง จุดมอง ความไม่ยุติธรรม แต่ชอบธรรมตามนิติกฎหมาย จากข้อสังเกตุของผม ครับ
แก้ไขเมื่อ 17 ธ.ค. 54 23:26:42