Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
[Free-R.Gong] "นักการเมือง" เป็น "อาชีพ" กระทู้เก็บตก/อยากเขียนเพื่อสนับสนุนความคิดคุณ ศาลายา ติดต่อทีมงาน

อาชีพ, อาชีว, อาชีวะ     น. การเลี้ยงชีวิต, การทํามาหากิน; งานที่ทําเป็นประจําเพื่อเลี้ยงชีพ.

(ป., ส.).
พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตสถาน

"นักการเมือง" เป็น "อาชีพ" หรือไม่ ผมขอตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า "นักการเมือง" ถือเป็น "อาชีพ" การหยิบยกนำเรื่อง "เงินประจำตำแหน่ง" ซึ่งเป็นเงินค่าตอบแทนของสส.และสว.(สมาชิกรัฐสภาผู้มีสถานะพิเศษ*) ไม่ได้เป็น "เงินเดือน" ยกมาเป็นตัวแทนสรุปตีขลุมว่า "นักการเมือง" ไม่ใช่ "อาชีพ"นั้น เป็นคำกล่าวอ้างที่ผมคิดว่า "ใช้ไม่ได้" ครับ

การประกอบอาชีพ มันไม่ได้มีกฎหมายกำหนดเป็นกรอบที่ตายตัวว่า ค่าตอบแทนที่ได้รับจะต้องอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง หรือจะไปเที่ยวบอกว่าการงานใดถ้าไม่มีค่าตอบแทนในรูปแบบของเงินเดือน การงานนั้นก็ไม่ถือว่าเป็น "อาชีพ" มันไม่มีใครเคยไปตีกรอบอย่างนั้น

ค่าตอบแทนหรือรายได้ที่เกิดจากการทำงานเลี้ยงชีพสามารถแฝงอยู่ในรูปแบบต่างๆ จะจ่ายค่าตอบแทนอามิสสินจ้างผูกเป็นรายปี คิดค่าจ้างเป็นแบบเหมาจ่ายคิดกันเป็นงานๆ ทำไร่ทำนาทำสวนเก็บเกี่ยวผลผลิตนำไปขายกันเป็นฤดูกาล หรือจะทำการว่าจ้างเบิกจ่ายกันเป็นรายวัน ก็ว่ากันไปตามข้อตกลงที่ได้ทำสัญญากันเอาไว้

มาดูความหมายของคำว่า "อาชีพ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน คือ การเลี้ยงชีวิต การทํามาหากิน งานที่ทําเป็นประจําเพื่อเลี้ยงชีพ ถ้ายึดจากความหมายดังกล่าว คำว่า "อาชีพ" ก็เป็นคำที่ครอบคลุมการงานทุกชนิดที่มีในโลกใบนี้ การงานใดใช้ทำมาหากินได้ ใช้เลี้ยงชีพได้ ใช้เลี้ยงชีวิตได้ การงานนั้นก็ยึดถือเป็นอาชีพได้แล้ว ทุกวินาทีบนโลกนี้มีอาชีพแปลกใหม่เกิดเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

จะประกอบอาชีพเกษตรกรทำกสิกรรม ยึดการจับปลาทำอาชีพการประมง เป็นนายพรานทำการล่าสัตว์ เป็นคนรับจ้างทั่วไป เป็นคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นช่างซ่อมรองเท้า เป็นกรรมกรรับจ้างแบกหาม เป็นพ่อค้าแม่ขาย เป็นเซียนพระ เป็นเกจินู้ดชื่อดัง เป็นนักแสดงเต้นกินรำกิน เป็นพระเอกลิเก สัปเหร่อ หรือแม้กระทั่งการเป็นขอทาน อาชีพต่างๆ เหล่านี้ แม้ไม่มีรายได้ประจำในรูปของเงินเดือน แต่ก็ถือได้ว่าเป็น "อาชีพ" ทั้งสิ้น

และคำว่า "นักการเมือง" ก็ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ "สส.และสว." เท่านั้น แต่คำว่า "นักการเมือง" ยังครอบคลุมไปถึง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. อบจ. สจ. สก. สข. ผู้ว่ากทม. ไปจนถึงตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองที่นักการเมืองทุกคนใฝ่ฝันคือ นายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหาร หรือ ประธานสภา ผู้ซึ่งเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ
  • *สส.เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นสมาชิกรัฐสภาที่ถือบันไดขั้นแรกในการก้าวขึ้นไปสู่การดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สูงกว่าในสภา อาทิ นายกรัฐมนตรี (ข้าราชการการเมือง) ประธานรัฐสภา (ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา) ตำแหน่งข้าราชการเมืองมีเงินเดือน/เงินประจำตำแหน่ง
อาชีพของนักการเมืองจึงแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ

1. นักการเมืองระดับท้องถิ่น
2. นักการเมืองระดับชาติ

ปัจจุบันแนวโน้มคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาสูงและมีอายุน้อยเริ่มหันมาสนใจอาชีพนักการเมืองกันมากขึ้น โดยเฉพาะครอบครัวนักการเมืองหลายตระกูลที่สมาชิกในครอบครัวไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นใด เป็นนักการเมืองกันทั้งตระกูล มีการวางทายาทเพื่อสืบทอดตำแหน่ง ผูกขาดตำแหน่งยึดเป็นมรดกประจำตระกูล ลูกหลานเรียนจบก็ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเลยก็มีอยู่เยอะ

หรือคนรุ่นใหม่ที่มีความฝันอยากเป็นนักการเมืองตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อเป็นเด็กตัวเล็กๆก็ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาเล่าเรียนเรียนให้จบ เมื่อเติบโตเรียนจบจนได้รับปริญญา ก็มุ่งหน้าเข้าสู่เส้นทางการเมือง เปลี่ยนสถานะจากนิสิตนักศึกษามาประกอบอาชีพนักการเมือง ทำความฝันให้เป็นจริง เข้ามาเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ ก็มีเห็นกันอยู่มากมายในหลายพรรคการเมือง

สำหรับการอ้างที่ว่า ถ้านักการเมืองลงเลือกตั้งแล้วไม่ได้รับเลือกตั้ง และนักการเมืองคนนั้นไม่ประกอบอาชีพอื่น นักการเมืองคนนั้นก็จะไม่มีรายได้เลี้ยงชีพ เป็นการตีขลุมของคนที่ไม่เคยมองดูข้อเท็จจริงในโลกปัจจุบัน ที่พรรคการเมืองจะได้รับเงินอุดหนุนและพรรคการเมืองยังสามารถจัดงานระดมทุนเพิ่มเติมเองได้ มาเพื่อใช้เป็นเงินทุนใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรค

ซึ่งค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองนั้นจะรวมการจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรทางการเมืองของพรรคออกมาเป็นรายได้ในรูปแบบใดในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นแม้นักการเมืองจะสอบตก นักการเมืองคนนั้นก็ไม่มีความจำเป็นต้องประกอบอาชีพอื่น นักการเมืองคนนั้นยังคงปฏิบัติงานการเมืองได้ต่อไป เพราะพรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่จะมีการมอบเงินให้ไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพและดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งถือเป็นค่าพัฒนาการเมืองอย่างหนึ่ง

แต่ถ้านักการเมืองคนนั้น เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นยึดอาชีพเป็นนักการเมือง เป็นสมาชิกพรรคที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารในพรรค และพรรคการเมืองที่ตนสังกัดได้ถูกศาลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่แทนศาลสั่งยุบพรรค ตนเองจึงได้ถูกหางเลขโดนตัดสิทธิเลือกตั้ง เป็นเวลา 5 ปี ไปด้วย ตรงนี้ล่ะครับ คือ ปัญหา

สำหรับผู้ที่มีอุดมการณ์ มีความมุ่งมั่นอยากเป็นนักการเมืองอาชีพ มีเข็มชีวิตเพื่อการเมือง อาสาพ่อใหญ่แม่แก่เข้ามาเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้าน ดูแลบำบัดทุกข์บำรงุสุข อาสาคนไทยเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี เข้ามาทำคุณประโยชน์ให้ชาติบ้านเมือง (Live for Politics) ไม่ได้เป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ได้จากการยึดอาชีพนักการเมืองเพื่อเข้าไปทำมาหากิน ทำการโกงและกอบโกย แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน (Live from Politics)

ฆ่าคนตาย/ยังให้มีการลดโทษ ขับรถไล่ทับจงใจฆ่า/ยังให้รอลงอาญา เป็นโจรเป็นกบฎ/ยังให้โอกาสกลับตัวเป็นผู้พัฒนาชาติไทย เข้าพรรคผิดแสดงจุดยืนต่าง/ลงโทษไม่มีการปราณี จะใช้สิทธิลงประชามติไม่รับกฎโจร ก็ทำไม่ได้ จะใช้สิทธิเข้าเสนอแก้ไข/ยกเลิก กฎโจร ก็ทำไม่ได้  จะใช้สิทธิลงชื่อถอดถอนพวกที่มันเข้ามาโกงกิน ก็ทำไม่ได้

การถูกตัดสิทธิเลือกตั้งแบบเหมาเข่งโดยที่ตนเองไม่ได้กระทำความผิดอะไรด้วยนั้น ใครไม่โดนเข้ากับตัวเองก็คงไม่รู้หรอกครับว่า การเข้ามาทำการรัฐประหาร ฉีกกฎหมาย และเขียนกฎโจรขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานพรรคการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์โดยเฉพาะ (อีกพรรคหนึ่งได้รับการยกเว้น) เผาบ้านไล่หนู ลงโทษสมาชิกที่เป็นคณะกรรมการยกพรรคแบบเหวี่ยงแห มันเป็นผลผลิตและมาตรฐานที่บัดซบของการทำรัฐประหารปล้นชาติไทยเพียงใด

ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เสียสิทธิทางการเมืองดังนี้

1. สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น
2. สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
3. สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
4. สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
5. สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย
6. สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
7. สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้ ส.ว. มีมติถอดถอนบุคคล ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญส่อทุจริต
8. สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น




คุยกับอภิสิทธิ์ » อาชีพนักการเมือง

เป๋าเป่า ถาม

1. นักการเมืองถือเป็นอาชีพหรือเปล่าค่ะ
11. คุณอภิสิทธิ์ตอบเองหรือเปล่าค่ะ เพราะเห็นไม่ค่อยมีเวลาว่างเลย
ข้อไหนตอบได้ก็รบกวนตอบนะคะ เพราะสงสัยมานานแล้วค่ะ หากไม่สะดวกที่จะตอบก็ไม่เป็นไรค่ะ

อภิสิทธิ์ ตอบ

๑. ถือเป็นอาชีพได้ครับ
๑๑. ตอบเองครับ

ข้อมูลประกอบ สส.สัดส่วน กับ การระบุอาชีพ (จิ้ม)




ปล. คำถามที่ผมได้ตั้งกระทู้ถามเพื่อนสมาชิกที่เห็นต่างที่กระทู้ P11468750 ผมยังไม่ขอตั้งกระทู้เฉลยคำตอบนะครับ ผมจะรอดูอีกสักพักว่าจะมีเพื่อนสมาชิกที่เห็นต่างๆ ท่านใด สามารถทำการตอบคำถามที่ง่ายที่สุด และตอบได้ตรงตามประเด็นหรือไม่ /// กลับกันคำถามข้อที่หนึ่งจะเป็นคำถามที่ยากที่สุดสำหรับเพื่อนสมาชิกคนเสื้อแดง แต่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า จะมีเพื่อนสมาชิกคนเสื้อแดงสามารถทำการค้นหาคำตอบที่ถูกต้องได้หรือเปล่า

แก้ไขเมื่อ 18 ธ.ค. 54 20:53:35

แก้ไขเมื่อ 18 ธ.ค. 54 20:44:09

แก้ไขเมื่อ 18 ธ.ค. 54 19:33:30

แก้ไขเมื่อ 18 ธ.ค. 54 19:29:23

จากคุณ : สิงห์สนามหลวง
เขียนเมื่อ : 18 ธ.ค. 54 19:22:44 A:61.90.22.120 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com