+++++ หนังสือเดินทางเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทย และอาจเรียกคืนเมื่อใดก็ได้ +++++
|
 |
ใครมีหนังสือเดินทางทั่วไป หากเคยเปิดดูปกหลังด้านในจะพบคำเตือนที่กระทรวงการต่างประเทศพิมพ์ไว้ให้ผู้ถือรับทราบเรียกว่า ระเบียบการ จะมีข้อสุดท้ายคือข้อที่ 3 สำหรับหนังสือเดินทางรุ่นที่ใช้ปัจจุบัน ( หรือ ข้อ 6 สำหรับหนังสือเดินทางรุ่นก่อนนี้) จะมีข้อความว่า ๓.หนังสือเดินทาง เป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทย และอาจเรียกคืนเมื่อใดก็ได้ THIS PASSPORT IS THE PROPERTY OF THE ROYAL THAI GOVERNMENT AND MAY BE WITHDRAW ANYTIME. |
การขอมีหนังสือเดินทางนั้น ล้วนต้องเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนดไว้ ไม่สามารถอ้างได้ว่านี้คือสิทธิที่จะมีได้มาแต่กำเนิดหรือสิทธิที่ติดตัวมาอ้างเอาๆ และการขอหนังสือหนังเดินทางนั้น ต่างจากบัตรประชาชน เพราะหนังสือเดินทางเป็นสิทธิที่ประชาชนจะขอได้ หากมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่ทางราชการวางไว้ ไม่ขอมีก็ไม่ถูกลงโทษ แต่บัตรประชาชนนั้น เป็นหน้าที่ที่รัฐกำหนดให้ต้องมีเมื่ออายุถึงเกณฑ์ หากไม่มีย่อมถูกรัฐลงโทษในฐานะที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่รัฐกำหนด(ในที่นี้คือปรับ) ระเบียบกระทรงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง ก็เป็นกฏระเบียบตามกฎหมายที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ไม่มีข้อความตอนใดขัดหรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญมาตราใดๆ หรือพระราชบัญญัติใด ซึ่งเป็นกฎหมายในลำดับศักดิ์ที่สูงกว่าเลย จึงใช้บังคับได้ ส่วนที่สมาชิกเข้าใจไปเองว่า กฎระเบียบนี้ก็ขัดแย้งกับ สิทธิ เสรีภาพ พื้นฐานของมนุษย์ นั้นเป็นแนวความคิดที่คิดเอออเอาเอง (P11476800 ) และไม่เข้าใจหลักพื้นฐานของการเกิดขึ้นของทั้งสิทธิ และหน้าที่ ทั้งสิทธิและหน้าที่ของบุคคลนั้นล้วนมีขึ้นมาตามกฎหมายกำหนด ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆอย่างที่เข้าใจ หรืออ้างกันเอาเองแบบนั้น สิทธิอันใด หรือหน้าที่อันใดจะมีขึ้น จะต้องมีกฎหมาย กำหนด หากสิทธิและหน้าที่นั้นเป็นของประชาชนทุกคนจะมีปรากฏในตัวรัฐธรรมนูญ แต่หากสิทธินั้นหน้าที่นั้นมีขึ้นเฉพาะกลุ่ม ก็จะมีกฎหมายออกมาเป็นการเฉพาะ เช่น พระราชบัญญัติรับราชการทหาร กำหนดหน้าที่ให้เป็นของชายไทย ไม่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของหญิง ผู้ใดฝ่าฝืนมีบทลงโทษ, พระราชบัญญัติบัตรประชาชน กำหนดให้คนไทยอายุตั้งแต่ 7-70 ปีต้องมีบัตร ใครไม่ปฏิบัติตามมีบทลงโทษ (ส่วนหนังสือเดินทางประชาชนที่อายุไม่ถึง 7 ปีก็ทำได้ ยังไม่มีบัตรประชาชนก็ทำได้ เพราะไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการมีบัตรประชาชน) สิทธิล้วนเกิดขึ้นมาตามแต่รัฐบัญญัติและกำหนด เช่น สิทธิในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีตามรธน.มาตรา 49 , สิทธิการขอเข้าสำรวจแร่ตามพระราชบัญญัติแร่, สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย, สิทธิในที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, หรือสิทธิในการเข้าตรวจดู ค้นคว้า ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ฯลฯ อีกมากมาย การขอมีหนังสือเดินทางก็เป็นสิทธิเช่นกัน แต่การจะมีสิทธิและหมดสิทธิหรือถอนสิทธิล้วนแต่เป็นทางราชการกำหนด ระเบียบกระทรงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง จะใช้ไม่ได้ก็ต่อเมื่อขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งสมาชิกจะต้องชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตราใด ??? และต้องมีการส่งเรื่องศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา หรือหากขัดต่อกฎหมายพระราชบัญญัติอื่น ซึ่งต้องให้ศาลปกครองวินิจฉัย หากไม่มีศาลใดวินิจฉัยว่าขัดต่อกฎหมายลำดับที่สูงกว่าแล้วไซร้ ลำพังการอ้างว่า กฎระเบียบนี้ก็ขัดแย้งกับ สิทธิ เสรีภาพ พื้นฐานของมนุษย์ นั้น ก็เป็นเพียงการเอาเองลอยๆ มิได้มีผลให้ระเบียบนี้หมดสภาพกฎหมาย ดังนั้น หนังสือเดินทางเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทย และอาจเรียกคืนเมื่อใดก็ได้ และที่ผ่านมามีการเรียกคือถอนหนังสือเดินทางกับผู้ที่มีพฤติการณ์ที่จะก่อความเสียหายแก่ประเทศไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งไม่จำเป็นว่าผู้นั้นมีความอาญาติดตัวอยู่แล้วหรือไม่ มีคำสั่งศาลห้ามเดินทางหรือไม่ แต่หากจะก่อความเสียหายให้แก่ประเทศไทยในระหว่างอยู่ต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศก็ทรงสิทธิที่จะถอนหนังสือเดินทางได้โดยชอบธรรมตามกฎหมาย ดังที่มีการเพิกถอนหนังสือเดินทางทักษิณโดยรมต.กษิต ส่วนการคืนหนังสือเดินทางให้คุณทักษิณในสมัยรัฐบาลนี้ อาจะทำได้ตามอำนาจและระเบียบที่มีก็จริง เพียงดูจะขัดๆกับแนวทางที่ระเบียบนี้วางไว้แต่เดิมว่า ข้อ ๒๑(๒)ซึ่ง อาจจะไม่พิจารณาออก หากเมื่อได้รับแจ้งว่าผู้ร้องเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว แต่รัฐบาลนี้ก็ยังจะไปออกให้อยู่ดี ซึ่งอาจจะมีการอภิปรายเรื่องนี้ในสภากันต่อไป 
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
19 ธ.ค. 54 20:40:13
A:124.122.61.58 X:
|
|
|
|