
เรื่องสลายการชุมนุมเหมือนกัน เหตุการณ์ 7 ต.ค. 2551 กับ 10 เม.ย. - 19 พ.ค. 2554
7 ต.ค. นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่าต้องมีคนรับผิดชอบ และ ผบ.ตร. ผิด ถึงขั้นนายอภิสิทธิ์สั่งปลดออกจาราชการ
ปลดแล้วก็ไม่ยอมคืนตำแหน่งตามมติ กต.ร. จนต้องมีการฟ้องร้อง จนศาลปกครองสูงสุดรับฟ้อง
แต่ 10 เ.ม.ย. - 19 พ.ค. นายอภิสิทธิ์บอกว่าเขาไม่ควรรับผิดชอบ แม้เขาจะเป็นนายกรัฐมนตรี
โปรดอ่าน และพิจารณา
..................................................................
ความรับผิดชอบ
ทิ้งหมัดเข้ามุม
มันฯ มือเสือ
หลายคนสงสัย ทำไมกระทรวงการต่างประเทศของ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อยู่ดีๆ ถึงได้หาเรื่องใส่ตัวด้วยการคืนพาสปอร์ตให้ทักษิณ
ทั้งที่รู้ว่าเรื่องใดๆ ในโลก ถ้าหากมีชื่อ 'ทักษิณ' เข้าไปเกี่ยวข้องไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่แคล้วต้องถูกสหบาทาจากพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มต่อต้าน
ถามผู้สันทัดการเมืองถึงรู้ว่าเรื่องการคืนพาสปอร์ตนั้น นอกจากเป็นความพยายามสร้างผลงานให้เข้าตานายใหญ่แล้ว
ยังเป็นหนึ่งใน 'สัญลักษณ์' การคืนความเป็นธรรมให้กับทักษิณ โดยยึดมาตรฐานปฏิบัติเดียวกับกรณีกำนันเป๊าะ และนายวัฒนา อัศวเหม ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์
แต่การเมืองในบรรยากาศโรมรันพันตู
การคืนพาสปอร์ตให้ทักษิณ ไม่ต่างอะไรกับการทำลูกบอลหลุดเข้าตีนฝ่ายตรงข้าม ที่จ้องหาโอกาสโจมตีรัฐบาลยิ่งลักษณ์แทบทุกลมหายใจเข้าออก
ถึงนายกฯยิ่งลักษณ์ปฏิเสธไม่รู้ไม่เห็น ก็ยากจะขว้างงูให้พ้นคอ
ลิ่วล้อประชาธิปัตย์บางคนฟันธงขนาดที่ว่า เรื่องคืนพาสปอร์ตจะเป็นสาเหตุให้รัฐบาลชุดนี้เริ่มเข้าสู่โหมด 'นับถอยหลัง' ทางการเมือง
ขณะที่ตัวหัวหน้าพรรคพูดถึงเรื่องนี้ไว้น่าคิด
"วันนี้สื่อไปถามก็อาจจะบอกว่าไม่รู้ ก็ต้องถามต่อว่าแล้วมีความเห็นอะไรอย่างไร วันนี้มีการออกหนังสือเดินทางไปแล้ว นายกฯต้องบอกมาว่าจะไปแก้ไขหรือไม่"
"ถ้า รมว.การต่างประเทศเป็นคนทำอะไรต่างๆ นายกฯ ก็ต้องแสดงจุดยืนออกมาเหมือนกันเพราะเป็นผู้บังคับบัญชา เพราะฉะนั้นก็ต้องไล่ดูกันไป"
"ความรับผิดชอบก็จะไล่กันไปเป็นทอดๆ"
ที่บอกว่าน่าคิดก็เพราะถ้ายึดตามหลักการนี้แล้ว
ทำไมปล่อยให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีต ผอ.ศอฉ. บอกว่า อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ ไม่เกี่ยวกับคำสั่งสลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.53
จนมีคนตาย 91 ศพ บาดเจ็บอีกเป็นพัน
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNVEl5TVRJMU5BPT0=§ionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBeE1TMHhNaTB5TWc9PQ==
..........
บทบาท "อภิสิทธิ์" จากเหตุ เดือนตุลาคม 2551 ถึง พฤษภาคม 2553
คําสั่งศาลปกครองสูงสุดให้รับฟ้องคดี ที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรื่องเป็น เจ้าหน้าที่รัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
น่าศึกษาอย่างเป็นพิเศษ
ไม่เพียงเพราะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการเพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 228/2552 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2552 ลงโทษปลด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกจากราชการ
ทั้งที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) มีมติประชุม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2552 ว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ไม่ได้กระทำผิดร้ายแรง ให้ยกโทษจากกรณีสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปราบปรามประชาชนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
นี่ย่อมเป็นผลและความต่อเนื่องจากสถานการณ์สลายการชุมนุมบริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
เป็นความต่อเนื่องไปยังป.ป.ช.ต่อเนื่องไปยังก.ตร.และต่อเนื่องถึงศาลปกครอง
หากไม่มีสถานการณ์การสลายการชุมนุมในเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 เกิดขึ้น กรณีของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ คงไม่มีอะไรมาเปรียบเทียบ
เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง
ไม่เพียงแต่แตกต่างในเรื่องความรุนแรง ร้ายกาจ อันเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในระหว่างการเข้าสลายการชุมนุม
หากแต่ยังเป็นความแตกต่างในมุมมองและบทสรุป
เหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 มีคนตาย 4 โดยในจำนวนนี้ 2 คนยังน่าสงสัยว่าสาเหตุมาจากปัจจัยใดกันแน่ ขณะที่เหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 มีการใช้อาวุธสงคราม และแน่ชัดแล้วว่าอย่างน้อย 16 ศพอาจเกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ท่าทีของสังคมต่อสถานการณ์ปี 2551 และสถานการณ์ปี 2553 ไม่เหมือนกัน
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้พยายามต่อสู้เพื่อล้างมลทินของตนจากสถานการณ์และความเลวร้ายเมื่อปี 2551 อย่างยืนหยัด
มติของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) คือตัวอย่างหนึ่งของการต่อสู้
มตินี้มีความเห็นต่างไปจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช.อันชี้มูลความผิดของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อย่างเด่นชัด
มติป.ป.ช.นั้นเองที่นำไปสู่การปลด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์ สุวรรณ จากตำแหน่ง
จากเดือนตุลาคม 2552 จนถึงเดือนธันวาคม 2554 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ดำเนินการต่อสู้ยืนหยัดความบริสุทธิ์ของตนอย่างต่อเนื่อง
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งในการพิสูจน์ทราบ
ในฐานะนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มิอาจปัดปฏิเสธความรับผิดชอบได้
ไม่เพียงแต่จะปัดปฏิเสธผลอันเป็นความต่อเนื่องจากเดือนตุลาคม 2551 หากที่สำคัญยังจะปัดปฏิเสธผลอันเป็นความต่อเนื่องจากเหตุการณ์เดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 ไม่ได้ อีกด้วย
อย่างน้อยคดีชันสูตรพลิกศพ 16 ศพก็ถึงมือพนักงานอัยการแล้ว
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dOVEl5TVRJMU5BPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHhNaTB5TWc9PQ==
นี่แหละคือสิ่งพิสูจน์ว่า "ดีแต่พูด" อย่างชัดเจนและแท้จริง
น่าสงสารครับ

แก้ไขเมื่อ 22 ธ.ค. 54 11:28:55