จากความจริงที่ปรากฎ ก็คือความเคลื่อนใหวด้วยกระแสเรียกร้อง ให้มีการใช้ชีวิต จากสามอำนาจ คือนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ในระบอบประชาธิปไตย อันไม่ว่า จะเป็น รธน.๔๐ หรือ รธน.๕๐ ก็ตามที่ต่าง มีปัญหาการแทรกแทรงใน ตัวบท หรือที่เรียกกันว่า ผลพวงของรัฐประหาร ไม่อยู่ในความหมายสมบูรณ์ ของ รัฐธรรมนูญ ที่มาจากประชามติของชาวไทย ที่เป็นเหตุผล ถึง การปฎิรูปสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กันขึ้นมา นั่นเองครับ
ข้อสังเกตุ ที่รวบรวมมาจาก กรณีปลุกกระแสทางการเมือง จากพลังการเมืองขั้วต่างๆ ที่ต่างออกมาในรูป ของการ ให้แก้ใข หรือ ปรับปรุง รวมทั้งปรับเปลื่ยน ระหว่าง รธน.๔๐ กับ รธน.๕๐ เพื่อนำมาให้ลงมติชน และประกาศใช้ ถ้าจะมองในแง่ของ ความจริงของปัญหา เป็นเพียงเหตุผลที่ทำให้เกิดกระแสเคลื่อนใหว กับการปฎิรูปสร้าง หรือเป็นลักษณะแก้ปัญหาปัญหาเฉพาะหน้าในปัจจุบัน (ฉบับชั่วคราว) จนกว่าจะได้มี รธน.ฉบับสมบูรณ์ ขึ้นใช้ครับ
จากกรณีโจมตีกล่าวหา ถ้าจะมองให้ลึกลงไปถึงเจตนารมณ์ คือการพยายาม รักษาผลประโยชน์ ทางการเมืองของขั้วการเมืองนั้นๆ ในการให้บังเกิดการแก้ใข หรือคงอยู่ ของตัวบท ใน รธน. และที่สำคัญที่สุด คือมิให้มีการ ปฎิรูปสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ บังเกิดขึ้น หรือเป็นฉบับที่มีการแทรกแทรงอำนาจของขั้วการเมืองอย่างที่มีมาใน ฉบับก่อนหน้า เพราะการปฎิรูปสร้างรัฐธรรมนูญ คือการกำหนดเนื้อหา ถึงมติเจตนารมณ์ ที่ถูกกลั่นกรองมาจากนักวิชาการ มิใช่เป็นผลมาจากเจตนารมณ์ของผู้บริหาร หรือผู้ครองอำนาจ หรือนักการเมืองขั้วใดขั้วหนึ่ง อันอย่างเช่น แนวทางของการจัดตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มีความจำเป็นที่จะต้อง มีคุณวุฒิและสมัตรภาพสามารถ เป็นผู้แทนด้านวิชาการ ที่ไม่มีความผูกพันกับขั้วการเมือง ฯลฯ โดยเฉพาะเท่านั้น ครับ
ในกรณีเรียกร้อง ให้ลงประชามติเพื่อแก้ใข ปรับปรุง เป็นกรณีที่ ไม่มีความจำเป็นที่จะ ต้องถามใถ่ถึงความจำเป็น และเหตุผล ในเมื่อ รธน.๕๐ ที่ได้มติชนด้วย "รับไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง" (ฉบับชั่วคราว) รวมทั้ง "การไม่เป็นลักษณะสมบูรณ์แบบ (ยังไม่มี) โดยปริยายอยู่แล้ว แต่อาจเป็นกรณีสมควร สำหรับการยึดใช้เฉพาะการ คือ รธน.ฉบับชั่วคราว ในช่วงปฎิรูปสร้าง นั่นเอง ด้วยการปลุกกระแสทางการเมือง น่าจะเข้าข่ายการหลีกเลี่ยงความเป็นจริง อย่างเช่น นิรโทษกรรมเพื่อคนๆเดียว หรือ แผนล้มเจ้า ฯลฯ เป็นต้น ครับ
จากความต้องการ ให้มี รัฐธรรมนูญ ฉบับมติชน (สมบูรณ์) น่าจะมีกระแส ในแนวทาง ที่ให้รัฐสภา ลงมติ (พรฎ) ให้มีการ เลือกตั้ง มิใช่ แต่งตั้ง ผู้แทนราษฎร ให้มาเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) โดยเป็นการเลือกแฟ้นจาก ผู้ลงสมัครเลือกตั้งตามจำนวนประชาชนในพื้นที่ (ในแต่ล๊ะจังหวัด) อย่างเช่น ปชช.ในจังหวัด หนึ่งล้านคน ต่อ ๑ ผู้แทน เป็นต้น อันมีการกำหนด คุณวุฒิด้านวิชาการ ในระดับปริญญา และไม่อยู่ในสังกัด หรือสมาชิกของพรรคการเมือง แต่สามารถได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง เป็นสำคัญ โดยอายุการเป็นสมาชิก จะสิ้นสุดลงในเมื่อมีการประกาศใช้ เป็นสำคัญ ในการร่างสมควรจะแบ่งในเนื้อหา ออกเป็น สอง ส่วน คือการร่าง บทเจตนารมณ์ ตามมาตราที่ระบุ และในส่วนที่สอง คือตัวบทกฎหมาย อันใช้เปรียบเทียบกับ ลักษณะของ คำพิพากษา เสมือนตัวบทกฎหมาย และสำนวนเหตุผลคำพิพากษา เสมือนเจตนารมณ์ หรือ แนวทางการตีความหมาย อันทั้งสอง เมื่อนำมาใช้ สามารถเป็นแนวทางสำคัญในกรณีพิจารณาความหมาย ที่ศาลรัฐธรรมนูญ สามารถนำมาเป็นหลักการพิจารณาได้ต่อไป และโดยในภาคปฎิบัติ สามารถให้ประชาชน ตรวจสอบและแสดงความคิดเห็นในส่วนของเจตนารมณ์ ในทุกช่วงระดับตอน ของการปฎิรูปสร้าง ก่อนที่จะปรับเป็นนิติมาตรา (ข้อสรุปด้วยนิติวิชาการ) เพื่อให้ ลงมติ ก่อนประกาศใช้ นั่นเองครับ
จากในข้อเสนอเช่นนี้ ถึงแม้ว่า มีข้อสรุปมาจาก ลักษณะการก่อร่างรัฐธรรมนูญ ในต้นแบบของหลายประเทศก็ตาม แต่น่าจะเป็นกรณี ที่พรรคการเมืองบางขั้ว มิอาจยอมรับได้ เพราะเป็นการตัดช่องแทรกแทรงจากขั้วของฝ่ายตน ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ฉนั้นก็จะไม่แปลก ที่จะพยายามสร้าง กระแสให้มี รธน.ในฉบับ แก้ใข ที่มาจาก ระบบการ แต่งตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจาก ขั้วของนักการเมือง หรืออำนาจซ่อนเร้น หรือหมายถึงว่า จุดมุ่งหมาย ของการให้ได้มาซึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับมติชน อย่างสมบูรณ์แบบ จะไม่เป็นผลสำเร็จ และปัญหาที่บังเกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ก็จะบังเกิดต่อทอดไปสู่อนาคตไม่เปลี่ยนแปลง ครับ
คำถามที่ ปชช.ทุกคน ที่น่าจะสำรวจก็คือ การมีผู้แทนสำหรับบริหาร หรือในฐานะผู้ให้บังคับใช้ รธน. สมควรอย่างไร ที่จะเป็นผู้กำหนดเจตนารมณ์ ที่เป็นสภาพของ การบังคับใช้ในฐานะผู้ครองอำนาจ นอกเสียว่า ปชช. ยอมรับสภาพตัวเองในฐานะผู้ตกอยู่ใต้อำนาจ ของผู้ที่เลือกเข้าไปเป็นผู้แทน นั่นเอง ครับ
แก้ไขเมื่อ 24 ธ.ค. 54 23:12:59