"รัฐธรรมนูญ" ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แก้ไขไม่ได้
ยิ่งรัฐธรรมนูญที่มาจากการรัฐประหาร ยิ่งมีความชอบธรรมที่จะแก้ไข
พรรคประชาธิปัตย์ก็เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาแล้วเมื่อปลายปี 2553
เป็นผลจากเหตุความรุนแรงในเดือนพฤษภาคม 2553 "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายชุด
มีทั้งคณะกรรมการชุด "คณิต ณ นคร" เกี่ยวกับเรื่องการปรองดอง
ชุด "สมบัติ ธำรงธัญวงศ์" เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
"สมบัติ" เสนอให้แก้ไข 6 ประเด็น
"อภิสิทธิ์" เคยให้สัมภาษณ์จากสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2553 ถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าคำถามหนึ่งที่ต้องตอบประชาชนให้ได้หากไม่มี ส.ส.ร.และใช้สมาชิกรัฐสภาดำเนินการ คือไม่ใช่เรื่องที่นักการเมืองต้องการ แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนต้องการ
"ดังนั้น ใจของผมคือไม่ตั้ง ส.ส.ร.ก็ไม่เป็นไร แต่อยากให้มีการทำประชามติหลังจากที่รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว"
ฟังเหมือนว่าใจจริงของ "อภิสิทธิ์" อยากให้มี ส.ส.ร.และการลงประชามติ
เหมือนที่พรรคเพื่อไทยเสนอในวันนี้
แต่สุดท้ายเมื่อ "อภิสิทธิ์" นำผลการศึกษาของคณะกรรมการชุด "สมบัติ" เข้าที่ประชุม ครม. จาก 6 ประเด็นก็ตัดเหลือเพียงประเด็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
จากนั้นก็เสนอเข้าสภาพิจารณากันเลย
ไม่มีการทำประชามติด้วย
ในปี 2553 เมืองไทยก็เกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ที่นครราชสีมาและหลายจังหวัด
น้ำท่วมใหญ่เริ่มต้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม
กว่าน้ำจะแห้งหมดก็ประมาณเดือนพฤศจิกายน
รู้ไหมครับว่า ญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ของรัฐบาล "อภิสิทธิ์" เข้าสภาเมื่อไร
23 พฤศจิกายน 2553
หลังน้ำแห้งไม่นาน
ถ้าคิดแบบ "อภิสิทธิ์" ใน พ.ศ.2554 ก็ต้องบอกว่ารัฐบาลควรจะใช้เวลาทุ่มเทกับเรื่องการฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่ปี 2553 "อภิสิทธิ์" คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญสำคัญไม่แพ้การฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วม
ดังนั้น จึงเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเลย
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ อีกไม่กี่วันก็เข้าสู่ปี 2555 แล้ว
เปลี่ยน พ.ศ.ใหม่อีกครั้ง "อภิสิทธิ์" จะคิดแบบเดิมอีกหรือเปล่า
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324722695&grpid=&catid=02&subcatid=0207
หมดความน่าเชื่อถือไปนานแล้วคนแบบนี้ 