(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 26 ธันวาคม 2554)
<
<
<
ทุกวันนี้ เมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคมขึ้น ใครๆ ต่างอ้างความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม แต่ส่วนใหญ่แล้วก็อ้างความจงรักภักดีโดยขาดหลักความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ เพราะมักพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เหมือนเป็นอีกสถาบันทางการเมืองหนึ่ง ที่ไม่สัมพันธ์ยึดโยงอยู่กับอธิปไตยของปวงชน แท้จริงแล้วสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอธิปไตยของปวงชน แยกออกจากกันไม่ได้
ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หมายถึงความจงรักภักดีต่ออธิปไตยของปวงชน
ความจงรักภักดีใดๆ ก็ตาม ที่ทำให้สองสิ่งนี้ขัดแย้งกัน คือการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง ในทางตรงกันข้าม การทำให้สองสิ่งนี้ประสานสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว คือการจรรโลงให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่อย่างมั่นคงสืบไป เพราะเมื่อดูจากประวัติศาสตร์ทั่วโลกแล้ว สถาบันกษัตริย์ในหลายประเทศได้อันตรธานไปจนเหลืออยู่ไม่เกิน 40 ประเทศทั่วโลก แต่ระบอบประชาธิปไตยซึ่งประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย กลับแพร่หลายไปมากขึ้นในทุกประเทศ สถาบันพระมหากษัตริย์จึงต้องเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ขั้วตรงข้ามที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
การแสดงความจงรักภักดีที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นอีกอำนาจหนึ่งที่เป็นอิสระจากอธิปไตยของปวงชน จึงกลับบ่อนทำลายความมั่นคงของสถาบันเสียเอง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324911600&grpid=&catid=02&subcatid=0207
ชอบมากบทความนี้ ....ไปอ่านเต็ม ๆ ตาม link นะคะ