ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่อนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง
ประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงค์อนุมัติเงินกู้ให้รัฐบาลทหารพม่าถึง 4 พันล้าน
เพื่อซื้อสินค้าจากเครือชินคอปอร์เรชั่น ซึ่งเป็นหนึ่งในมูลเหตุสำคัญของ
คดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ
จำไม่ผิด การอนุมัติให้ เอ็กซิมแบงค์ปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า
นั้นมีบริษัททีได้ประโยชน์จากเงินกู้หลายบริษัท ชินคอปร์ เป็น
เพียงหนึ่งในบริษัทที่ได้ผลประโยชน์ เพราะเป็นเพียงบริษัทไทย
บริษัทเดียวที่มีธุรกิจดาวเทียม ทีรัฐบาลพม่าสนใจธุรกิจดาวเทียม
หากปล่อยเงินกู้ก้อนนี้ไปให้พม่าไปซื้อธุรกิจนี้จากประเทศอื่น
เพียงเพราะครอบครัวนายก ฯ เจ้าของธุรกิจนี้ ...คงโดนกระหน่ำ
อีกแบบ
พม่าเป็นประเทศปิด และโดนแซงค์ชั่นจากสหรัฐอเมริกา ....
รัฐบาลพม่าไม่สะดวกที่จะมีบัญชีเงินสกุลดอลลาร์ เพื่อใช้
ในธุรกรรมต่าง ๆ เพราะหากมีเงินที่ปรากฎว่าข้องเกี่ยวกับ
ธุรกรรมในประเทศพม่า ผ่านไปยังธนาคารในสหรัฐอเมริก
จะโดนอายัดทันที
พม่าจึงเปลี่ยนไปเปิดบัญชีเงินสกุลยูโร เพื่อใช้ในธุรกรรม
ในประเทศพม่า ธุรกิจใดยังใช้เงินสกุลดอลลาร์ต้องรับความ
เสี่ยงในเรื่องนี้เอง
ธนาคารกลางของพม่าจึงหันมาเปิดบัญชีเงินสกุลดอลลาร์กับธนาคาร
ในประเทศไทย ผ่านการประสานงานของทูตพาณิชย์ ในสมัย
รัฐบาลอดีตนายก ฯ ทักษิณ เพื่ออำนวยความสะดวกให้การทำ
ธุรกิจต่างๆ ในประเทศพม่า และส่งเสริมธุรกิจการเงินของไทย
ระบบธนาคารในประเทศพม่าไม่ได้รับความเชื่อถือจากนักธุรกิจ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนใหญ่จึงทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่าน
ธนาคารในประเทศไทย และ สิงค์โปร์
การที่ปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า มองในอีกมุม คือการส่งเสริมการ
ลงทุนของไทยในพม่า ...ชึ่งเดิมก็มีอยู่บ้างแล้ว และจะทำให้
ธุรกรรมการเงินในประเทศพม่า หันมาใช้ประเทศไทยมากกว่า
สิงคโปร์ เพราะสะดวกกว่า ในเรื่องระยะทาง และธนาคารกลาง
พม่าก็มีบัญชีเงินดอลลาร์กับธนาคารในประเทศไทยด้วย
เท่าที่ทราบ ซีพี เองก็มีการลงทุนในประเทศพม่า
เรื่องธุรกิจ กับการเมืองน่าจะต้องเอื้อกันด้วย เพราะประเทศเรา
ไม่ได้เป็นมหาอำนาจแบบอเมริกา และก็ไม่ควรต้องไปตามก้น
อเมริกาไปซะทุกเรื่อง
แต่บางเรื่องอเมริกาเองก็มีข้อยกเว้น เช่น โรงเรียนนานาชาติ
ในพม่า สามารถโอนเงินดอลลาร์ไปสหรัฐได้ เพราะเป็น
American School