ขอสักนิดกับเรื่อง "จินตนาการกับความรู้"{แตกประเด็นจาก P11544257}
|
 |
เรื่องคำกล่าวของไอสไตน์ที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้"... ผมว่าคุณ BarBoy กำลังเข้าใจผิดครับ
การจินตนาการโดยปราศจากความรู้นั้น...ไม่น่าเป็นทัศนคติของไอสไตน์ จนเป็นที่มาของคำพูดดังกล่าว
ทฤษฎีต่างๆที่ไอสไตน์เสนอนั้น...ไม่ได้ปราศจากความรู้เป็นพื้นฐานแต่อย่างใดนะครับ
ไอสไตน์ไม่ได้สร้างทฤษฎีขึ้นจากความว่างเปล่า แต่เป็นการอาศัยความรู้ที่มี นำมาต่อยอดความรู้โดยอาศัยจินตนาการครับ
ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ไอสไตน์เสนอขึ้นมานั้น (ในปี 1905) ... ก็มีพื้นฐานจากทฤษฎีของแมกเวลล์ (ช่วงปี 1860) (แมกเวลล์เสียชีวิตไม่นาน หลังจากนำเสนอทฤษฎีนี้) ซึ่งการแก้สมการของแม็กเวลล์นั้นต้องอาศัยการบิดเบี้ยวที่แปลกประหลาดของระยะทางและเวลา
ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานการอธิบายเรื่องเวลาและระยะทางต่างจากทฤษฎีของนิวตั้น สำหรับทฤษฎีของนิวตั้น แต่ละหน่วยของเวลาจะเดินไปอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นที่ใดในจักรวาล ดังนั้นนาฬิกาบนโลกก็จะเดินด้วยอัตราเดียวกับนาฬิกาบนดวงจันทร์ แต่สำหรับสมการของแม็กเวลล์นั้น ได้ทำนายไว้ว่า ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง นาฬิกาสามารถเดินช้าลงได้
สมมติว่า ถ้าเราเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง คู่ขนานไปกับลำแสงอีกลำหนึ่ง ถามว่าลำแสงที่เขาเห็นจะเป็นไปในลักษณะใด? ถ้าใช้แนวความคิดแบบนิวตั้น เราก็น่าจะเห็นคลื่นแสงหยุดนิ่งอยู่กับที่ (เป็นคลื่นนิ่ง) ถูกมั้ยครับ?
ตอนที่เรียนอยู่ ไอสไตน์ได้ศึกษาสมการแมกเวลล์แล้วก็พบความแปลกประหลาดในสมการนี้ เขาพบว่า สมการของแม็กเวลล์ ไม่ยอมให้คลื่นนิ่งเป็นคำตอบ สมการแมกเวลล์ทำนายว่า แสงจะต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เท่าเดิม ไม่ว่าเราจะไล่กวดแสงยังไง แสงก็ยังวิ่งด้วยความเร็วเท่าเดิม (ดังนั้นเราไม่สามารถเห็นคลื่นหยุดนิ่งอยู่กับที่ได้) ดังนั้นเราอาจจะต้องมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองในเรื่อง Space-Time กันใหม่
นี่เป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ไอสไตน์นำเสนอในปี 1905 (และเป็นหลักที่ไอสไตน์ยึดในตอนปรับปรุงเป็นทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป)
จะเห็นว่าไอสไตน์ไม่ได้จินตนาการจากศูนย์(หรือไม่มีอะไรเลย) ครับ
จินตนาการที่ขาดความรู้...มันก็คือเพ้อฝันหรือเพ้อเจ้อ ซึ่งหาคุณค่ามิได้
จินตนาการที่มีคุณค่า...คือจินตนการที่มาพร้อมกับความรู้
แต่อย่าลืมว่า..."ความรู้" นั้น มันเพิ่มพูนขึ้นทุกวัน ดังนั้นสิ่งที่เป็นเรื่องเพ้อฝันในวันนี้ อาจจะเกิดขึ้นจริงในวันข้างหน้าได้
แต่ความฝันหรือจินตนาการที่อยู่ห่างไกลจากความรู้ มันก็เป็นเรื่องเพ้อฝัน...(ถึงไม่ใช่อัจฉริยะ) ใครๆก็เป็นได้
และตัวอย่างเรื่องที่คุณแต่งเพลงจากการฮัมเพลงโดยให้เพื่อนเป็นคนแกะโน๊ตให้นั้น การที่คุณเล่นดนตรีไม่เป็น...ไม่ใช่ว่าคุณไม่่ความรู้ด้านดนตรีนี่ครับ (แต่ที่คุณขาดก็คือทักษะการเล่นดนตรี หรือประสาทพิเศษที่สามารถแยกเสียงโน๊ตได้อย่างถูกต้องมากกว่า) (และถึงจะไม่มีทักษะด้านดนตรีเลย ก็สามารถใช้ความรู้ด้านอื่นๆนำมาประยุกต์ใช้ทางอ้อมก็ได้นี่ครับ)
ส่วนเรื่องกรอบความคิดนั้น... ถ้าเราจะคุยกัน มันจำเป็นต้องระบุกรอบให้ชัดเจน ว่าเราจะคุยเรื่องอะไร หัวข้อไหน มีรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง
เพราะกรอบใหญ่...มันครอบคลุมเนื้อหากว้างขวาง ถ้าจะให้ผู้อ่านใช้จินตนาการเชื่อมโยงกันเอง โดยไม่ระบุว่า ...รายละเอียดข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร หรือคุยกันในแง่มุมไหน หรือมีเงื่อนไขอะไรอย่างไร ฯลฯ ร้อยคน...อาจจะได้สักร้อยเรื่องก็เป็นได้ (และคงไม่สามารถบอกได้ว่า ความคิดใด ถูก-ผิด...ถ้ามีเหตุผลที่ดีมารองรับคำอธิบายของตน)
การที่จะสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเจตนาของผู้เขียน ก็คงต้องมีการลงรายละเอียดกันบ้างครับ
คงมิใช่ว่า ใครมีมโนทัศน์สูง-ต่ำกว่ากันอย่างไรหรอก
อ้อ...ในเรื่องไอสไตน์ที่มีการคิดเป็นภาพแล้วนำมาลงรายละเอียดอะไรนั่น สันนิษฐานได้ว่า เป็นเพราะไอสไตน์เคยทำงานเป็นเสมียนในสำนักงานทะเบียนสิทธิบัตร ทำให้เขาต้องฝึกการแยกแยะความคิดหลักๆจากคำร้องขอจดสิทธิบัตรของนักประดิษฐ์ทั้งหลาย ซึ่งมักเขียนอธิบายด้วยคำพูดที่คลุมเครือ นั่นจึงเป็นการฝึกให้เขาคิดเป็นภาพครับ (คิดๆแล้ว...ก็น่าจะเป็นโชคดีในความอัปโชคของไอสไตน์)
งั้นก็....แค่นี้ล่ะกันครับ
++ แก้ไขคำผิด ++
แก้ไขเมื่อ 07 ม.ค. 55 07:28:58
แก้ไขเมื่อ 06 ม.ค. 55 16:34:36
จากคุณ |
:
King Hades
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ม.ค. 55 15:51:51
A:113.53.210.133 X:
|
|
|
|