ราคายางพารา... เรื่องมันยาวววว
ราคาประกาศเที่ยงวัน ปี 2540-ปัจจุบันของยางแผ่นรมควัน
ปี ราคายางแผ่นรมควัน
2540 25.35
2541 29.34
2542 23.41
2543 26.67
2544 25.35
2545 32.70
2546 44.45
2546 51.73
2547 60.16
2549 79.79
2550 78.51
2551 87.06
2552 66.27
2553 115.54
ม.ค. 54 168.66
ก.พ. 54 190.31
มี.ค. 54 167.67
เม.ย. 54 176.61
พ.ค. 54 157.25
มิ.ย. 54 153.44
ก.ค. 54 144.10
ส.ค. 54 141.02
ก.ย. 54 139.75
ต.ค. 54 127.12
พ.ย. 54 107.31
15 ธ.ค. 54 105.15
10 ม.ค. 55 106
ที่มา : http://www.rubberthai.com/price/today%20price/local_rubber.htm
ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาต แปะราคากลางของยางพาราให้ดูย้อนหลังยาว
ตั้งแต่ปี 2540 เลย เพราะผมคิดว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตายครับ มีหลักฐาน
จะได้ไม่ต้องว่ากันยาว
ทีนี้เวลาเปรียบเทียบว่าราคาของยางพาราที่ขึ้นมีสัดส่วนอย่างไรในแต่ละปี
ก็มีความจำเป็นที่จะต้องนำเอาการคำนวนดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เข้า
มาชี้แจงด้วย ซึ่งจากข้อมูลของสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กำหนดให้ปี
ฐานของ CPI อยู่ที่ปี 2550 คือ CPI ของปี 50 จะอยู่ที่ 100 ผมได้ทดลอง
ใส่เลขปีในแต่ละช่วงดู และได้ข้อมูลมาดังนี้ครับ
ปีฐาน 2550 CPI=100
ปี CPI %Change CPI ราคายาง %Change ราคายาง
2540 84.8 - 25.35 -
2546 93.5 +10.25% 44.45 +75.34%
2550 100 +6.95% 78.51 +76.69%
2551 112.1 +12.1% 87.06 +10.89%
2552 112.8 +0.62% 66.27 -23.88%
2553 108.6 -3.72% 115.54 +74.34%
15 ธ.ค. 54 112.6 +3.68% 105.15 -8.99%
จากข้อมูล CPI อ่านค่าได้ดังนี้ครับ ยกตัวอย่าง เงิน 84.8 บาทในปี 2540
จะมีค่าเท่ากับเงิน 100 บาทในปี 2550 ดังนั้นแปลว่าที่ผ่านมาราคาสินค้า
ในตลาดมีราคาสูงขึ้นหรืออีกทางนึงคืออำนาจซื้อของเงินลดลง
เมื่อดูข้อมูลจากทั้งสองตาราง เราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่านับตั้งแต่ปี
2545 เป็นต้นมา ราคายางพาราพุ่งขึ้นสูงมาก ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นราคายาง
พาราไม่เคยเกิน 30 บาท ทั้งๆ ที่ยุคก่อนหน้านั้นเป็นยุคของรัฐบาลพรรค
ประชาธิปัตย์มาโดยตลอด แล้วทำไม ถึงไม่ได้ “เอาใจใส่” ปล่อยให้ยาง
พาราซึ่งเป็น “พืชเศรษฐกิจ” ที่สำคัญของประเทศ และเป็นแหล่งรายได้
จำนวนมหาศาลของประเทศตกต่ำ
ถ้าจะเถียงกันว่าก็ข้าวของแพงขึ้นทุกวัน ยางก็ต้องแพงขึ้นด้วยสิ...
ดูตรงนี้กันก่อนครับ เราต้องเปรียบเทียบราคายางและ CPI ระหว่างปี
2540 กับ ปี 2554 ดูครับ ในรอบ 14 ปีที่ผ่านมาราคายางเพิ่มขึ้นสุทธิ
(105.15-25.35)/25.35 = 314.79% ในขณะที่ CPI เพิ่มขึ้น = (112.6-69.5)/69.5
= 62.01%
ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นแค่ 62% ในขณะที่ราคายางพุ่งสูงไปกว่า 300% ใน
ขณะที่ยางพาราราคาเพียงแค่ 105.15 บาท แล้วถ้าเป็นตอนที่ราคายาง peak
เนียะ เช่น 150 กว่าบาทในปีที่ผ่านมา มันจะเป็นซักกี่ร้อยเปอร์เซนต์
เพราะฉะนั้นคำว่า "ลำบากมาก อยู่ไม่ได้" สำหรับผมแล้ว มัน over ไปเยอะครับ
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ยุคทักษิณ 1 ราคายางก็ถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ
กลายเป็นเศรษฐีร่ำรวยกันถ้วนหน้า แล้วอย่ามาเถียงผมซะให้ยากส์เลย
เพราะถ้าไม่รวยจริง คงไมมีใคร “ถางป่าปลูกยาง” กันจนโล้นเตียนไปทั่ว
ภาคใต้หรอก จริงมั้ย???
เมื่อก่อนเกษตรกรผู้ปลูกยางนั้นแทบไม่เคยจะลืมตาอ้าปากได้ด้วยซ้ำ เพราะ
ราคายางต่ำมากซะจนหลายครั้งต้องพึ่งการรับจำนำยางพาราในช่วงรัฐบาล
ประชาธิปัตย์ แล้วดีไม่ดีรัฐบาลปชป. ยุคนั้นยังแกล้ง “เนียน” แทงบัญชีว่ายาง
พาราที่รับจำนำนั้นเสีย ใช้ไม่ได้แล้วเอาไปเลหลังขายถูกๆ ให้มาเลเซีย
ใช่หรือไม่ละครับ !!!
แล้วอย่างนี้จะหาว่ารัฐบาลไม่สนใจไยดีได้ยังไง ในเมื่อมันเป็นนโยบายหลัก
มาตั้งแต่รัฐบาลคุณทักษิณอยู่แล้ว ต่อเนื่องมาจนถึงยุครัฐบาลนี้ว่าจะต้องให้
พี่น้องเกษตรกรได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และราคาสินค้าเกษตรจะต้องดีขึ้น
ซึ่งในเรื่องนี้ นายถาวร เสนเนียม สส.สงขลา พรรค ปชป. ก็ได้ออกมาบอกว่า
การที่ราคายางตกต่ำเกิดจากการที่ รมช. เกษตรไปทำสัญญาขายยางพารา
ล่วงหน้าให้จีนจำนวน 1.8 แสนตัน ในราคากิโลกรัมละ 105 บาท ซึ่งโดยปกติ
แล้วรัฐบาลไหนจะขายยางล่วงหน้าจะไม่มีการกำหนดราคา เพราะจะเอาราคา
ตลาดโลกเป็นเกณฑ์ เมื่อกำหนดไว้ที่ 105 บาท พ่อค้าคนกลางจะได้โอกาส
กดราคา
อ้าว แล้วที่หล่นมา 80 กว่าบาทเนียะ ฝีมือใคร ฝีมือรัฐบาล หรือ ฝีมือพ่อค้า
คนกลางที่กดราคากันแน่เนียะ!!! ???
มึนทั้งประชาธิปัตย์ มึนทั้งม็อบ เวนกำ...
สำหรับผม ผมว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ เพียงแต่อยากจะขอให้กลุ่มผู้ค้ายาง
มีความอดทนรอกันซักนิดนึง เพราะว่าตอนนี้มีเรื่องอื่นเร่งด่วนกว่า ซึ่งผมไม่
ได้บอกนะครับว่าราคายางตกต่ำไม่สำคัญ แต่ต้องจัดลำดับกันสักนิดนึง
ว่าอะไรควรก่อน อะไรรอได้บ้าง
แก้ไขเมื่อ 11 ม.ค. 55 01:37:03
แก้ไขเมื่อ 11 ม.ค. 55 01:31:33
แก้ไขเมื่อ 11 ม.ค. 55 01:26:48
แก้ไขเมื่อ 11 ม.ค. 55 01:26:27