บทความเก่าๆ เอามาแปะให้ดูเตือนความจำกับผลงานแมลงสาป
รัฐบาลพรรค ปชป. สร้างตราบาปมหาศาลให้กับประเทศไทย
ทศวรรษที่ 2530 เป็นทศวรรษแห่งการขยายตัวที่รวดเร็วของไทย คือ มากกว่า 8% เกือบทุกปี ประเทศไทยมีเงินไหลเข้าจากต่างประเทศ
อย่างมหาศาลทั้งในรูปเงินกู้และเงินลงทุน ในขณะที่มีเงินไหลเข้าอย่างรุนแรงนั้น นโยบายของประเทศมิได้มีการปรับตัวเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
การวางกฎเกณฑ์ ควบคุมสถาบันการเงินเป็นไปด้วยความหละหลวม และความผิดพลาดที่สำคัญก็คือ
การดำเนินนโยบายตรึงค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์เป็นเวลานานทำให้ขาดกลไกสำคัญที่จะช่วยลดแรงกดดันจากการไหลเข้าของเงิน
และยังเท่ากับเป็นการค้ำประกันและส่งเสริมการกู้เงินระยะสั้นจากต่างประเทศ เมื่อรวมเข้ากับการเปิดเสรีทางการเงินและ
การที่ดอกเบี้ยภายในประเทศสูงกว่าภายนอกมาก ก็ยิ่งทำให้การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเติบโตจนเกินควบคุม สภาพคล่องที่ล้น
เพราะเงินไหลเข้าได้ทำให้เกิดฟองสบู่ในราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่พุ่งสูงขึ้นจนเกินเหตุผล ภาคสถาบันการเงิน
เมื่อมีสภาพคล่องมากก็ปล่อยกู้อย่าง หละหลวม มีการทุจริตและการลงทุนในโครงการที่ไม่คุ้มค่าเป็นจำนวนมาก
ในที่สุดเมื่อสถานการณ์สุกงอม อสังหาริมทรัพย์เริ่มขายไม่ออกอย่างรุนแรง สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มประสบปัญหาหนี้เสีย หนี้สินต่าง ประเทศเพิ่มขึ้น
จนเข้าใกล้ 60%ของ GDP และดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศที่ขาดดุลมาโดยตลอดก็เพิ่มขึ้นจนถึง ขีดอันตราย กองทุนต่างประเทศก็เข้ามา ฉวยโอกาสหากำไร
โดยการเข้าโจมตีค่าเงินผสมโรงกับนักลงทุนในประเทศที่ต้องการป้องกันความ เสี่ยงของตัวเอง กดดันให้รัฐบาลต้องยอมลดค่าเงินบาท การลดค่าเงินทำให้เกิดการขาดทุน
และมีหนี้สินเพิ่มขึ้นทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนนักลงทุนต่างประเทศบางกลุ่มก็ขาดทุนกันอย่างรุนแรง ในขณะที่เกิดวิกฤติทางการเงิน
ก็มีเงินไหลออกนอกประเทศอย่างฉับพลัน เจ้าหนี้ต่างประเทศเรียกหนี้คืนและไม่ยอมต่อสัญญาเงินกู้เกิดเป็นปรากฎการณ์ สภาพคล่องเหือด ฟองสบู่แตก
## รัฐบาล ชาติชาย (สิงหา 2531-กุมภา 2534)
เป็นยุคของการเปิดเสรีทางการลงทุน ชักชวนต่างชาติมาลงทุน เศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็ว และเริ่มมีการสะสมฟองสบู่ โดยเฉพาะที่ดินที่มีการเก็งกำไรกันมาก
อัตราการขยายตัวประมาณ 11~13%ของ GDP
ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบประมาณ 3~ 8% ของ GD P
หนี้ต่างประเทศรวม (ปี 2533) 29600 ล้านดอลลาร์
## รัฐบาล อานันท์1 (มี.ค. 25 34-เม.ย. 2535) อานันท์2(มิ.ย 2535-ก.ย.2535)
รัฐบาลได้สร้างภาพพจน์ต่อต่างประเทศด้วยการเปิดเสรีทางการค้า มีการลดภาษีนำเข้าหลายรายการเช่น รถยนต์ ไทยขาดดุลการค้ามากขึ้น
อัตราการขยายตัวประมา ณ 8.5 %ของ GDP
ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบประมาณ 5.5~ 7.5% ของ GDP
หนี้ต่างประเทศรวม (ปี 2535) 43621 ล้านดอลลาร์
## รัฐบาล ชวน 1 (ก.ย.35-พ.ค.38)
*นโยบายเปิดเสรีทางการ เงิน
โดยหวังให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาค อนุญาตให้มีการปล่อยสินเชื่อวิเทศธนกิจ BIBF แต่ได้คงนโยบายค่าเงินตายตัวโดยผูกติดไว้กับดอลลาร์
ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถปรับตัวได้ อีกทั้งการกู้เงินต่างประเทศประเภท BIBF นั้นก็ได้มีการผ่อนคลายมาตรการกำกับที่มีอยู่เดิมให้
ไม่ต้องมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน BIS
*นโยบายเปิดเสรีทางสาธารณูปโภค
รัฐบาลขณะนั้นมีนโยบายจำกัด บทบาทของภาครัฐ โดยให้สัมปทานกับเอกชนและเรียกเก็บค่าสัมปทานล่วงหน้า
เช่น โทรคมนาคม ทางด่วน (สบายครับ นอกจากไม่เปลืองงบแล้ว ยังได้เงินเข้ารัฐ ทั้งไม่ต้องเสี่ยงโดนด่าว่าขายสมบัติชาติ
หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนเหมือนระดมทุนจากตลาดทุน )
การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการลงทุนในสาธารณูปโภคและการเปิดเสรีภาคการเงินเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการกู้ยืมเงินจากนอกประเทศ
โดยภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมาก มีการกู้เงินจากนอกประเทศเข้ามาฝากกินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย เก็งกำไรในที่ดิน
และในตลาดหุ้น สถาบันการเงินก็กู้เงินเข้ามาปล่อยกู้อย่างหละหลวม มีการใช้เงินกู้ไปในการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
ในเวลาไม่กี่ปีหนี้สินต่างประเทศของไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปี 2537 IMF ได้เริ่มเตือนประเทศไทยให้เปลี่ยนนโยบายการเงินและได้เตือนซ้ำอีกในปี 38 แต่ไม่ได้รับความสนใจ
ระยะนี้อัตราการขยายตัวของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงคือประมาณ 8~9% ของ GDP แต่ช่วงนี้ก็มีดุลบัญชีเดินสะพัดที่ติดลบรุนแรงทุกปีเช่นกัน (-5~ -5.5 %ของ GDP )
ส่วนหนี้ต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก (ปี 2538 ไทยมีหนี้ต่างประเทศ 82,568 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ หนึ่งเท่าตัวในช่วงเวลา 3 ปีของรัฐบาล )
ชุดแรกหมดอำนาจตามวาระ กับหนี้สาธารณะ 82,568 ล้านดอลลาร์
เพิ่มขึ้น 38,947 ล้านดอลลาร์จากเดิม 43,621 ล้านดอลลาร์