
ไกลเกินกว่าจะย่ำอยู่ที่เดิม ไกลเกินกว่าจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ไกล ไกลเหลือเกิน
..................
เมื่อวันที่ 12 มกราคม หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รายงานว่า กลุ่มบุคคลชั้นสูงที่เป็นราชนิกุล 8 คน ประกอบด้วย หม่อมราชวงศ์สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ (ธิดาในหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ หรือ ท่านชิ้น) หม่อมราชวงศ์สายสิงห์ ศิริบุตร (ธิดาในหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์) หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ (ธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ มารดาของ นายจุลจักร จักรพงษ์ หรือ ฮิวโก้), นายวรพจน์สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (อดีตเอกอัครราชทูตประจำกรุงโรม ประเทศอิตาลี), พลเอก หม่อมราชวงศ์กฤษต กฤดากร, หม่อมราชวงศ์ภวรี(รัชนี) สุชีวะ (ธิดาหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนีประธานมูลนิธิโครงการหลวง), หม่อมราชวงศ์โอภาส กาญจนะวิชัย และนายสุเมธ ชุมสายณ อยุธยา เข้าชื่อทำจดหมายถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยการกระทำอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
โดยจดหมายส่งไปยังนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มกราคม ระบุว่า จำนวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงระยะเวลา 7 ปี จากไม่มีคดีเลยในปี 2545 มาเป็นมีปริมาณคดีสูงถึง 165 คดี ในปี 2552 โดยที่ข่าวเกี่ยวกับคดีต่างๆ เหล่านี้มีการรายงานเผยแพร่ออกไปทั่วโลก ยังผลให้เกิดการโจมตีเพิ่มสูงขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ในจดหมายดังกล่าวอ้างถึง พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปี 2548 ว่า "แต่อย่างไรก็ตาม เข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่งต่างประเทศเขาบอกว่าเมืองไทยนี่พูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ ว่าวิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีที่เข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์" มาเป็นเหตุผลสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มตนในครั้งนี้
"นับตั้งแต่พระบรมราโชวาทดังกล่าวไทยมีรัฐบาลมาแล้วหลายรัฐบาล แต่ไม่มีรัฐบาลใดเลยที่ริเริ่มปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯนี้รวมทั้งรัฐบาลนี้ด้วย" จดหมายดังกล่าวระบุ
บางกอกโพสต์อ้างว่า นายสุเมธ หนึ่งในผู้ร่วมลงนามในจดหมาย เปิดเผยว่า กลุ่มผู้ที่ลงนามพบกันในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา เพื่อหารือกันถึงเรื่องนี้ในแง่ที่ว่ายังคงใช้กฎหมายนี้อย่างบิดเบือนอยู่อย่างต่อเนื่อง และผลกระทบของการใช้กฎหมายที่เกิดขึ้นทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศ จึงเห็นว่าเมื่อรัฐบาลชุดนี้เป็นผู้จัดการเฉลิมฉลองวาระครบรอบพระชนมพรรษา 84 พรรษา ก็น่าที่จะถือเป็นโอกาสดีที่รัฐบาลชุดนี้จะตระหนักในพระราชประสงค์ของพระองค์ในประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน
บางกอกโพสต์ระบุว่า แม้กลุ่มราชนิกูลทั้ง8 จะเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมาย แต่ไม่ได้ระบุชัดว่าในส่วนใดควรได้รับการแก้ไข และแก้ไขอย่างไร
"กลุ่มของเราไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และเราคิดว่า นั่นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการหาทางออกให้ได้" นายสุเมธกล่าว โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลมีภารกิจต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และในกรณีนี้ก็คือ ต้องใส่ใจในความวิตกกังวลของพระองค์ต่อการที่สังคมเกิดแตกแยก แบ่งพวกยึดถือจุดยืนสุดโต่ง รัฐบาลควรใส่ใจในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก่อนที่จะดำเนินการประการหนึ่งประการใดต่อไป
http://web.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=309996
ครับ ถ้าฟังเหตุผลกันบ้างสักนิด ไม่เอาแต่ติดยึดมองด้านใดด่านหนึ่งเท่านั้น จนมองข้ามด้านอื่น มันก็จะผิดที่ผิดทางต่อไป
รอจังหวะแต่จะเอากฎหมายมาเล่นเป็นเครื่องมือในการทำลายล้างกัน
แล้วความเสียหายตกแก่ใคร ?
โปรดไตร่ตรองอย่างมีโยนิโสมนสิการเทอญ
ขอตบท้ายกระทู้ด้วยคำพูดของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ว่า
"ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมาผมได้เขียนบทความทางวิชาการและข้อเขียน อื่นๆ และพูดอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ โดยที่ไม่เคยเสนอให้ล้มเจ้าหรือล้มเลิกสถาบันกษัตริย์สิ่งที่ผมพูดอยู่ในกรอบของการมีสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้น ขณะเดียวกันผมก็ไม่ปิดบังความคิดที่ว่า สถาบันฯ ต้องปรับปรุง ซึ่งไม่ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอาญา ผมจึงเขียนโดยใช้ชื่อจริงและเปิดเผยโดยตลอด เมื่อปีกลาย 2553 ได้รวบรวมข้อเสนอ 8 ข้อ สว. คำนูณ (สิทธิสมาน) ยังเอาไปเผยแพร่มาแล้ว"
"บรรดาผู้พิทักษ์สถาบันทั้งหลายควรจะตั้งสติให้ดีว่าคนเป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านที่เขาไม่ได้คิดเหมือนกัน คุณจะทำอย่างไร จะไล่ออกไปนอกประเทศหรือ ปัญหาคือมันไม่ใช่อย่างนั้น มันมีคนจำนวนมากที่เห็นว่าสถานะปัจจุบันของสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่อง ที่..อย่างน้อยที่สุดคือการอภิปรายกันอย่างตรงไปตรงมา"
"บรรดาที่ออกมาตบเท้าลองถามตัวเองดีๆ ว่าคุณต้องการให้มันเป็นอย่างไร คุณปิดปากเขา เขาพูดตรงๆ ไม่ได้เขาก็ใช้สัญลักษณ์พูด นี่คือความจริง คุณประยุทธ์เองก็ตาม ไม่มีประโยชน์นะครับท่าทีแบบนี้ไม่มีทางที่จะทำให้คนไม่คิดไม่พูดไม่อภิปรายกัน ประเทศไทยไม่มีทางกลับถึงยุคที่คนพูดเป็นเสียงเดียวกันหมด ซึ่งมียุคนั้นจริงหรือเปล่าไม่รู้ นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ และวิธีแก้ปัญหาแทนที่จะใช้กำลังกดดัน จับคนแก่ไม่ให้ประกัน ผู้หญิง ศาลยกเลิกคำตัดสินไปแล้วก็ยังไม่ให้ประกัน วิธีแบบนี้มีแต่ทำให้คนไม่พอใจอยู่แล้วก็ไม่พอใจยิ่งขึ้น คนที่สงสัยก็ยิ่งสงสัยมากขึ้นและนำไปสู่การปะทะ"
"ผมรักประเทศนี้ แต่เราต้องการประเทศหรือบ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่น่ารักกว่านี้ ที่คนมีเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ ถ้ามีเรื่องไม่เห็นด้วยก็แสดงความไม่เห็นด้วยออกมา ไม่ใช่ว่าพอเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์แล้วต้องเงียบ ฐานคิดของผมคือทำให้เราทุกคนมีความเป็นคนปกติในเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบัน กษัตริย์เหมือนเรื่องอื่นๆ องค์กรสาธารณะอื่นๆ เมื่อไม่เห็นด้วยก็เถียงกันออกมา นี่คือความเป็นคนปกติธรรมดา แต่สถานะของสถาบันกษัตริย์มาถึงจุดที่ว่า เมื่อคุณจงรักภักดีมาก แล้วพอมีคนไม่เห็นด้วยแล้วคุณต้องการให้คนที่ไม่เห็นด้วยเป็นอะไรล่ะ สังคมแบบนี้ประเทศแบบนี้มันไม่น่าอยู่เอามากๆ"
http://www.งดโฆษณาเว็บ/2011/04/blog-post_24.html
