Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
== ว่าด้วยประเด็นนิติราษฎร์ของ คุณ คนชาย ==={แตกประเด็นจาก P11611160} ติดต่อทีมงาน

จะด่าอะไรก็ด่าไปเถิด.. เดี๊ยนก็ไม่อยากจะวิพากษ์กระทู้ล่อเป้านี้นักหรอกค่ะ
เดี๋ยวจะดาหน้าออกมาด่า เดี๊ยนล้มเจ้า ดังนั้น จะเขียนแบบซอฟต์ที่สุดนะจ๊ะตะเอง..

คุณคนชายอ่านตีความยังไงว่าเค้าบังคับ  นิติราษฎร์เค้าไม่ได้บังคับจ้ะ
แต่มันเป็นหลักการทั่วไปของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่ก่อนจะขึ้นครองราชย์ ประมุขของรัฐต้องทำการปฏิญาณตนหรือทำเป็นหนังสือให้คำสัตย์ไว้ว่า จะทรงปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฏหมาย  เดี๊ยนขอยกตัวอย่างประเทศสเปน ก็แล้วกันนะจ๊ะ

รัฐธรรมนูญสเปนมาตรา 56 (1) ระบุไว้ว่า พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐฯ  (3) พระมหากษัตริย์จะถูกละเมิดหรือฟ้องร้องมิได้ ซึ่งจะควบคู่กับการกระทำใดๆของพระมหากษัตริย์จะต้องมีผู้รับสนอง มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ตามภาษาอังกฤษอ้า่งอิงดังนี้

Section 56

(1.) The King is the Head of State, the symbol of its unity and permanence. He arbitrates  and moderates the regular functioning of the institutions, assumes the highest representation of the Spanish State in international relations, especially with the nations of its historical community, and exercises the functions expressly conferred  on him by the Constitution and the laws.

(2.) His title is that of King of Spain, and he  may use the other titles appertaining to the Crown.

(3.) The person of the King is inviolable and shall not be held accountable. His acts shall always be countersigned in the manner established in section 64. Without such countersignature they shall not be valid, except as provided
under section 65(2).

ทั้งสองประเด็นดังกล่าวข้างต้นจะเชื่อมโยงกับการที่ผู้จะขึ้นทรงราชย์ ต้องกล่าวคำปฏิญาณต่อหน้าประชาชน  หรือ ต้องทรงทำเป็นหนังสือ  เื่พื่อที่จะสาบานว่า จะปฏิบัติตามหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย  สำหรับในกรณีของสเปน  ได้กำหนดไว้นอกเหนือจากประเทศอื่นๆว่า  จะต้องให้ความเคารพต่อสิทธิพลเมือง และองค์กร (ชุมชน) ในการปกครองตนเอง  กรณีนี้ใช้กับรัชชทายาทและผู้สำเร็จราชการด้วย

Section 61

(1.) The King, on being proclaimed before the Cortes Generales, will swear to faithfully carry out his duties, to obey the Constitution  and the laws and ensure that they are obeyed,  and to respect the rights of citizens and the  Self-governing Communities.

(2.) The Crown Prince, on coming of age, and the Regent or Regents, on assuming office, will swear the same oath as well as that of loyalty to the King.

ลิงค์อ้างอิง http://goo.gl/kwg5F

หลักการในมาตรา 56 และ 61 นี่คือหลักการในประชาธิปไตยที่สำคัญ เพราะหมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ  พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข จึงต้องทรงแสดงพระองค์ต่อเจ้าของประเทศโดยนัยยะอันนี้ผ่านทางรัฐสภา  รัฐธรรมนูญนี้เป็นกฎหมายทั่วไปที่ประเทศในยุโรป ที่อนุญาตให้พระมหากษัตริย์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจได้ต้องดำเนินการตามนี้ เช่น นอร์เวย์ เบลเยี่ยม เป็นต้น  สำหรับประเทศสวีเดน จะไม่อนุญาตให้พระมหากษัตริย์ประกอบพระราชกรณียกิจใดๆ เลย  สำหรับในอังกฤษ เราเห็นชัดเจนว่า ควีนของอังกฤษองค์ปัจจุบัน จะไม่ทรงมีพระราชดำรัส นอกเหนือจากที่รัฐบาลถวายคำแนะนำ  ดังนั้นกรณีนี้ แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าเป็นโมฆะ แต่อังกฤษก็ปฏิบัติตามกฎหมายจารีตประเพณีเป็นที่รู้กันว่าจะทรงมีพระราชดำรัสแยกกัน ระหว่างเรื่องส่วนพระองค์กับฐานะประมุขของรัฐ

อาจมีคำถามว่า แล้วกรณีประเทศไทยล่ะ เป็นยังไง ?  
ประเด็นนี้ ได้มีการพูดถึงในการร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ 10 ธันวาคม 2475 โดยฝ่ายขวาจัดนำโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ให้ความเห็นว่า ตามประเพณีสยามแล้ว ก่อนขึ้นทรงราชย์ พระมหากษัตริย์จะทรงประกอบพิธีสาบานพระองค์ต่อพระพุทธรูปและเทวดาแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมาให้คำสัตย์ต่อรัฐสภาอีก  

กรณีนี้มีสมาชิกสภา ชื่อ นายหงวน ทองประเสริฐ  ถามว่า พระมหากษัตริย์ต้องทรงปฏิญาณว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่?  ประธานอนุกรรมการฯ  ตอบว่า ต้องทรงปฏิญาณ และตามประเพณีราชาภิเษกก็มีการปฏิญาณ อยู่แล้ว นายหงวน ทองประเสริฐ และนายจรูญ สืบแสง ต้องการให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆไปอาจไม่ปฏิญาณนั่นเอง

ขณะที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมอธิบายว่าการที่ไม่บัญญัติหรือเขียนไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้เป็นการยกเว้นว่าพระมหากษัตริย์ไม่ต้องปฏิญาณเพราะถือเป็นพระราชประเพณี  เวลาขึ้นครองราชสมบัติและขอให้จดบันทึกไว้ในรายงานการประชุม  ประธานอนุกรรมการกล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เคยเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงมีรับสั่งว่าพระองค์ได้ทรงปฏิญาณเวลาเสวยราชสมบัติและเวลารับเป็นรัชทายาทก็ต้องปฏิญาณก่อน  ดังนั้นจึงถือเป็นพระราชประเพณี  แต่นายจรูญยืนยันให้บัญญัติในรัฐธรรมนูญ   ประธานสภาฯ  จึงขอให้ลงมติ ที่ประชุมฯ ยืนยันให้คงตามร่างเดิม 48 คะแนน ยืนยันให้เติม 7 คะแนน

เรื่องนี้พระยาพหลพลพยุหเสนา  หัวหน้าคณะราษฎร์ และ นายปรีดี พนมยงค์ ได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 7 ซึ่งพระองค์ก็เห็นด้วยที่ว่า หาก พระมหากษัตริย์ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแล้วจะไม่ถูกต้อง  ประเด็นที่คณะราษฎร์ทูลถาม คือ ถ้าไม่เขียนไว้แล้ว จะมีผลอย่างไร พระองค์ตรัสตอบว่า หากมีการยึดอำนาจ พระองค์จะแสดงให้เห็นว่า  ไม่เห็นด้วยกับการฉีกรัฐธรรมนูญด้วยการสละราชบัลลังค์  เนื่องจากพระราชดำรัสนี้จึงมิได้มีการร่างรัฐธรรมนูญข้อนี้เข้าไป  แต่ก็ได้มีการบันทึกเป็นหมายเหตุไว้เป็นประการสำคัญ
ประเด็นนี้น่าสนใจอย่างยิ่ง ใครที่จะตั้งประเด็นต่อ ก็ไปค้นหาในจดหมายเหตุรัฐสภา หรือ หอสมุดแห่งชาติ ได้นะจ๊ะ

ถ้าสงสัยว่า ประเทศไทยมันเคยมีเรื่องนี้เกิดขึ้นหรือไม่ และนิติราษฎร์นำแนวคิดนี้มาได้อย่างไร
เดี๊ยนก็ขอยกคำพูดของนาย ปรีดี  พนมยงค์ ดังนี้

" ในระหว่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธ.ค. มีปัญหาว่าจะควรเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า พระมหากษัตริย์มีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพหลฯ และข้าพเจ้าเข้าเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดา มีพระราชกระแสรับสั่งว่า รัฐธรรมนูญของหลายประเทศที่มีประมุขรัฐเป็นประธานาธิบดีนั้นเขียนไว้ว่า ประมุขแห่งรัฐมีหน้าที่พิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ และต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ว่า จะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญไว้ ส่วนสยามนั้น รับสั่งว่าไม่จำเป็นต้องเขียน เพราะเมื่อพระองค์พระราชทานแล้วก็เท่ากับให้สัตยาธิษฐาน และยิ่งกว่านั้นตามพระราชประเพณีได้ทรงสัตยาธิษฐานในพิธีราชาภิเษก ข้าพเจ้ากราบทูลว่า เมื่อได้เปลี่ยนการปกครองมาเป็นราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแล้ว จะโปรดเกล้าฯสำหรับพระมหากษัตริย์องค์ต่อไปให้มีความใดเติมไว้ในพระราชสัตยาธิษฐานในพิธีราชาภิเษกบ้าง รับสั่งว่า มีความในพระราชปรารภที่ขอให้พระบรมวงศานุวงศ์สมัครสมานกับประชาราษฎร์ ในอันที่จะรักษาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว เจ้านายที่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆไป ก็เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ จึงมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ "

" พระยาพหลฯ  กราบบังคมทูลว่า การทรงพิทักษ์รัฐธรรมนูญนั้นจะทรงกระทำอย่างไร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รับสั่งว่า ถ้ารัฐบาลเสนอเรื่องใดที่ขัดรัฐธรรมนูญ พระองค์ก็ส่งกลับคืนไปโดยไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยให้ พระยาพหลฯ  กราบทูลต่อไปว่าคณะราษฎรเป็นห่วงว่านายทหารที่ถูกปลดกองหนุนไปจะคิดล้มล้างรัฐบาลขึ้นมาแล้วจะทูลเกล้าฯ  ถวายรัฐธรรมนูญใหม่ของเขาให้ทรงลงพระปรมาภิไธย จะโปรดเกล้าฯอย่างไร รับสั่งว่าพระองค์จะถือว่า พวกนั้นเป็นกบฏ และ  ในฐานะจอมทัพ  พระองค์จะถือว่าพวกนั้นเป็นราชศัตรูที่ขัดพระบรมราชโองการ ถ้าพวกนั้นจะบังคับให้พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์ก็จะทรงสละราชสมบัติให้พวกเขาหาเจ้านายพระองค์อื่นลงพระปรมาภิไธยให้ "

อ้างอิง : ปรีดี พนมยงค์, จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน ๑๔ ตุลาคม, พิมพ์ครั้งที่ ๕, ๒๕๔๓, หน้า ๖๘-๖๙   ซึ่งมีตามเน็ตทั่วไป หรือถ้าชอบแบบ Original  ก็ไปหาได้ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ นะจ๊ะ

เดี๊ยนขอสรุปว่า เรื่องทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของประชาธิปไตย และ  คณะนิติราษฎร์น่าจะหมายถึงการเสด็จขึ้นทรงราชย์ของพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป จ้ะ  

ถ้าเงินซื้อคนชายไม่ได้ ก็ซื้อเดี๊ยนไม่ได้เหมือนกันจ้ะ  เพราะเดี๊ยนรวยพอ  และ กรูก็โพสต์ตามข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักประวัติศาสตร์ชาติไทยเช่นกัน ทุกอย่างที่เดี๊ยนพิมพ์ มีที่อ้างอิงทั้งสิ้น  

ถ้าไม่หน้ามืด สักแต่จะพิมด่า ก็ให้มันเหนือชั้นกว่านี้หน่อย มาแบบนี้ เค้าเรียกว่าอนุบาลมาก นะจ๊ะ คนชายยยย ยายยย ยายยย...

แก้ไขเมื่อ 23 ม.ค. 55 00:46:07

จากคุณ : มารร้ายวัวน้อย
เขียนเมื่อ : 23 ม.ค. 55 00:39:20 A:27.130.147.15 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com