งานสโมสรสันนิบาต "ไม่ใช่" วัฒนธรรมไทยแท้ ประเทศเราเริ่มจัดงานสโมสรสันนิบาตกันมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 6 ซึ่งเริ่มมีข้าราชการระดับสูงที่ไปสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศมากขึ้น การลอกเลียนวัฒนธรรมตะวันตกก็เริ่มเกิด จุดมุ่งหมายของงานก็เพื่อให้บุคคลระดับสูงของสังคมได้มาสังสรรรื่นเริงทำความรู้จักคุ้นเคยกัน ซึ่งการที่นำรูปแบบตะวันตกมาใช้ก็เพื่อให้เป็นสากลผู้มาร่วมงานจากต่างเชื้อชาติเผ่าพันธ์จะได้แต่งกายเตรียมการและปฎิบัติตนได้ถูกโดยไม่ต้องไปศึกษาวัฒนธรรมของไทยมาก่อน
งานสังสรรรื่นเริงตามแบบตะวันตก เขาก็มีรูปแบบของเขา เหตุที่เขาเชิญคู่สมรสมา ก็เพราะโดยปกติ งานแบบนี้ เขาจะแนะนำตัวกันแค่ตอนเข้างาน แล้วเขาก็แยกกันไปคุย ผู้หญิงก็คุยกะผุ้หญิง ผู้ชายก็คุยกะผู้ชาย งานแบบนี้ คนจัดเขาต้องเชิญและขอรับคำตอบกลับ ว่าผู้ที่ถูกเชิญจะมากับใคร
วัฒนธรรมตะวันตกในทำนองเดียวกันในงานระดับสามัญชนก็น่าจะไกล้เคียงงานเลี้ยงฉลองการแต่งงานของฝรั่ง dinner paty เขาก็จะต้องรู้ชื่อแขกและคู่ที่แขกคนที่ได้รับเชิญจะพามาด้วย เพราะเขาจะ fix ที่นั่ง ไม่ใช่ใครนึกจะนั่งตรงไหนก็ไปเลือกเอาตามใจชอบ ซึ่ง "คู่" ที่จะพามาร่วมงาน ปกติก็คือสามี-ภรรยาของผู้ถูกเชิญ ถ้ายังไม่แต่งงาน ก็คือคนที่อยู่กินด้วยกันขณะนั้น ถ้าไม่มีอีก ก็คนที่คบหาดูใจกันอยู่ขณะนั้น ถ้าไม่มีใครเลยจริงๆ และเป็นคนสำคัญที่เจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวเขาต้องการให้มางาน คุณก็ต้องไปนั่งโต๊ะเด็ก เพราะเขาต้องการให้จำนวน ชาย-หญิงที่มาร่วมงานมัน balance กัน พูดคุยทำความสนิทสนมกัน จะได้ไม่มีใครนั่งน้ำลายบูดหน้าเบื่ออยู่ในงานเพราะไม่รู้จะคุยกับใคร เขาอยากให้บรรยากาศในงานมันมีแต่ความสุข สนุกสนาน
ที่โต๊ะอาหาร เขาก็จะเขียนชื่อชาย-หญิง จัดตำแหน่งที่นั่งล่วงหน้า ระหว่างรับประทานอาหารก็ไม่ได้ยกป้ายออกเพราะคนไม่รู้จักกัน เพราะมันมีโอกาสสูง ที่แขกโต๊ะเดียวกันอาจจะไม่รู้จักกันมาก่อน เจ้าบ่าวเจ้าสาวเขาก็มาแนะนำให้รู้จักกันเสีย ก่อนเริ่มทานอาหาร แต่แนะนำไปหนเดียว ถ้าจำชื่อไม่ได้ก็ยังมีโอกาสแอบอ่านชื่อบนโต๊ะพอได้
ทานอาหารเสร็จมานั่งที่บาร์ก็จะเริ่มแยกกลุ่ม ผู้ชายคุยกะผู้ชาย ผู้หญิงเข้ากลุ่มผู้หญิง ซึ่งก็อาจจะไม่รู้จักกันเป็นส่วนใหญ่ บางงานที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวเขามาจากต่างเมือง ต่างประเทศกันลิบลับ โอกาสที่แขกฝั่งเจ้าบ่าวกับฝั่งเจ้าสาวจะรู้จักกันแทบไม่มีเลยนั้น เขาก็จะติดป้ายชื่อแขกทุกคนตั้งแต่ตอนเข้างาน หรือไม่เขาก็วางไว้ให้ที่ที่นั่งตอนรับประทานอาหาร ใครอยากติดก็ติด บางรายอาจจะใส่ชื่อเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวอยู่ในป้ายชื่อด้วยหรือไม่ก็ได้ เพื่อแสดงว่าแขกคนนี้เป็นแขกฝั่งเจ้าบ่าวหรือฝั่งเจ้าสาว
เหตุผลทั้งหมดทั้งมวลที่เขาซีเรียสในการแสดงชื่อ มันก็เพียงแค่ให้กล้าคุยกะคนที่เพิ่งเคยเห็นกันครั้งแรกในชีวิตนี่แหละ
กลับมาเข้าเรื่องประเทศไทย .. เรารับวัฒนธรรมของเขามาเพื่อแสดงความเป็นสากลในการจัดงานรื่นเริงสังสรร หากจะพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมใดๆ ก็คงต้องพิจารณารากเหง้าที่มาของงานประกอบด้วย ว่าเหตุผลในการที่เขาเอาชื่อใครมาใส่ที่ไหน มันเพื่ออะไร แล้วจุดมุ่งหมายที่เขาเชิญใครมา ควรจะมากับใคร มันควรใช้เหตุผลในทางกฎหมาย หรือเหตุผลในทางสังคม
ข้อกฎหมายที่นึกออกอยู่ข้อเดียวตอนนี้ ที่มันเกี่ยวข้องโดยตรงกับงานสโมสรสันนิบาต คือ เรื่องการแต่งกาย ข้อที่ว่าถึงแม้จะเป็นงานพระราชพิธี ก็ไม่ต้องประดับกระบี่ในงาน
ซึ่งก็พอจะอนุมาณได้ว่า คงเป็นธรรมเนียมตะวันตกเนื่องจากกระบี่มันเป็นอาวุธเขาก็เลยไม่นิยมเอาเข้ามาในงานรื่นเริง.. ข้ออื่นยังนึกไม่ออก ..
สรุป
ถ้างานที่จัดมันเป็นงานสังคม จะเอาข้อกฎหมายมากำหนดกฎเกณฑ์ว่าทำอะไรเหมาะไม่เหมาะ งามไม่งาม สมควรไม่สมควร มันคงไม่ถูกเรื่อง อยากจะพิจารณาว่าใครทำอะไรเหมาะสมหรือไม่ ก็เอามาตฐานของงานสังคมประเภทนั้นๆ มาว่ากันน่าจะเหมาะสมกว่า