 |
ภาพที่ชัดเจนขึ้น ของแผนแม่บทป้องกันน้ำท่วม ทั้งระยะสั้น และ ระยะยาว..แต่ถ้าจะให้ดีต้องหาคนมาแถลงให้เป็นทางการ..
|
 |
เมื่อคืนก็ตั้งใจดูรีรัน รายการคมชัดลึกของ คุณจอมขวัญที่เชิญคุณชัยพร ศิริพรไพบูลย์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ,คุณเสรี ศุภราทิตย์ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและวางระบบบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) และคุณชวลิต จันทรรัตนเสรี กรรมการผู้จัดการบริษัททีมกรุ๊ป มาร่วมรายการ..ในหัวข้อ"พื้นที่รับน้ำ แผนรับมือปี 2555"
ผมขอสรุปแต่ย่อพองาม..ผิดพลาดไปบ้างโปรดให้อภัย
ว่าด้วยเรื่องแผนแม่บทของกยน.เร่งด่วน และระยะยาวขั้นต้น ทั้ง 6 ข้อ
1. จัดหาพื้นที่รับน้ำ หรือแก้มลิงให้ได้ 2 ล้านไร่ จากที่ขณะนี้มีอยู่ 8 พื้นที่ 5 แสนไร่ ซึ่งขณะนี้เจรจากับชาวบ้านลุล่วงไปแล้ว ส่วนอีก 5 พื้นที่ 5 แสนไร่ งานออกแบบ และงานวิศวกรรมเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เหลือต้องเจรจากับชาวบ้าน รวมแล้วน่าจะได้พื้นที่รับน้ำ 1 ล้านไร่ รับน้ำได้ 3200 ล้านลบ.ม...สรุปแล้วยังขาดอีก 1 ล้านไร่ ซึ่งนายกฯจะลงพื้นที่ไปตรวจงานหารือกับพ่อเมือง และชาวบ้านในทัวร์นกขมิ้นคราวนี้
2. การบริหารจัดการเก็บน้ำหรือปล่อยน้ำในเขื่อนจะต้องมีการหารือกันก่อนดำเนินการเพื่อป้องกันน้ำท่วม..ต้องผ่า กยน.ก่อนไม่ใช่ทำตามอำเภอใจเหมือนที่ผ่านมา
3. การซ่อมแซม และสร้างเพิ่ม ประตูน้ำ คันกั้นน้ำ ถนนที่ชำรุด..อันนี้เริ่มลงมือแล้ว
4. ระบบพยากรณ์เตือนภัย..ยากหน่อยเพราะไม่มีใครทราบล่วงหน้าว่าจะมีพายุกี่ลูกแต่ถ้าบูรณาการก็คงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 ปี เช่นเดียวกับโครงการฟลัดเวย์
5. ซิงเกิ้ลคอมมานด์ ซึ่งในขณะนี้ก็ได้มีการตั้งหน่วยงาน คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ ( กนอช ) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สรุปสุดท้ายนายกฯจะเป็นผู้ตัดสินใจเอง
6. เรื่องแผนการเผชิญเหตุ..ส่วนนี้มท.รับไปดำเนินการเพราะอยู่ใกล้กับประชาชนมากที่สุด
ประเด็นที่น่าสังเกตจากคณะกรรมการกยน. ทั้ง 3 ท่านที่น่าสนใจคือ..
1 ) ตอนนี้มีหน่วยงานต่างเสนอโครงการเข้ามาแล้วพันกว่าโครงการ โดยเฉพาะ กทม.ก็ร่วม 200โครงการ แต่ไม่มีการ monitor หรือตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการดำเนินการ..ดังนั้นจึงต้องตั้งหน่วยงานอิสระเข้ามาตรวจสอบและประเมินผลซึ่งก็กำลังคัดบุคลากรอยู่..
ตรงนี้เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ..เสนอโครงการบรรยายสวยหรูตบท้ายด้วยคำว่าเพื่อป้องกันน้ำท่วมแต่วิธีการปฎิบัติในเชิงวิศวกรรมที่สามารถพิสูจน์เป็นรูปธรรมหรือประเมินได้ น่าจะมีน้อยมาก..
2 ) การชดเชยค่าเสียหาย ค่าเสียโอกาสของผู้ที่อาศัยในพื้นที่รับน้ำไม่ควรจ่ายในอัตราเดียวกับผู้ได้รับน้ำท่วมทั่วไป แต่เขาเป็นผู้เสียสละรับภาระแทนรัฐจึงต้องจ่ายในอัตราที่เป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย และต้องเบิกจ่ายทันที..ไม่ใช่ใช้ระบบการเบิกจ่ายตามขั้นตอนปกติของทางราชการ..
3 ) กรณีของกทม.การที่จะขุดลอกคลอง นั่นก็หมายถึงต้องรื้อบ้านเรือนที่รุกล้ำริมคลอง ริมแม่น้ำด้วย กทม.จะมีวิธีจัดการอย่างไร เพราะนั่นหมายถึงการสูญเสียฐานคะแนนเสียงและมวลชนด้วย
4 ) ปีนี้เป็นที่คาดว่าน้ำจะมาเดือนกันยายน..แม้พื้นที่น้ำท่วมจะลดลง และไม่สูงมากแต่ก็ยังจะท่วมดังนั้นโปรดแจ้ง หรือให้คำแนะนำผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตดังกล่าวว่าจะรับมืออย่างไร
5 ) การให้ข่าว..หรือแถลงความคืบหน้าถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ..แม้จะเป็นที่ทราบว่าเป็นเรื่องเทคนิคทางวิศวกรรม เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก..แต่ผมคิดว่ารัฐบาลน่าจะจัดหาคน หรือทีมงานประชาสัมพันธ์ที่สามารถอธิบายให้ประชาชนให้เข้าใจได้โดยง่าย และเป็นไปในทางทิศทางเดียวกัน..
เพราะจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่า รัฐบาลเป็นห่วงเป็นใยและได้พยายามดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดอย่างเต็มความสามารถแล้ว..
6 ) ขอขอบคุณ และขอเอาใจช่วยคณะกรรมการ กยน.ทุกท่านที่ได้เสียสละและอุทิศแรงกายแรงใจเพื่อช่วยกันแก้ไข และป้องกันวิกฤติการณ์น้ำท่วมที่อาจกำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ครับ..
และอย่าไปสนใจคำพูดของนายสรเสี้ยม ที่บอกว่าถ้าน้ำท่วมปีนี้ต้องจับคนไปตัดคอ..เพราะอีจะไม่มีข่าวเล่น..
ส่วนเงินตามแผนป้องกัน และแก้ไขจะมีไหม..ไม่มีใครรู้..แต่ขอบอกว่า 1.2 แสนล้านบาทในงบปกติตามที่นายอภิสิทธิ์ขู่ไว้ไม่น่าพอแน่ครับ..และถึงเวลานั้นถ้าศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนก็ตัวใครคัวมันแล้วล่ะครับท่าน..
ตบท้ายอยากเรียนถามท่านทั้งหลายที่อุตส่าห์หลงเข้ามาอ่านจนถึงบรรทัดสุดท้ายว่า..
ท่านคิดว่า พรก.กู้ตังค์โครงการไทยเข้มแข็ง 4 แสนล้านบาท กับพรก.ที่2 ฉบับที่อยู่ที่ศาลฯ ท่านคิดว่าโครงการใดเร่งด่วนกว่ากัน และ ถ้า ไอ้โครงการไทยเข้มแข็งเป็นเรื่องเร่งด่วนจริงทำไมเงินมันถึงเหลือ 8.8 พันล้านบาทล่ะครับ..หรือว่ากินจนยัดไม่ลงแล้ว
จากคุณ |
:
แมวน้ำสีคราม
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ก.พ. 55 07:55:36
A:180.180.212.116 X:
|
|
|
|  |