+++++ นิติราษฎร์ จะต้องอิง หลักกฎหมายของรัฐประหาร คือ รัฐาธิปัตย์ หรือไม่+++++
|
 |
สืบเนื่องจากกระทู้ที่ตั้งไว้สอบถามความคิดเห็นสมาชิกที่กระทู้ P11675314 คำถามนั้นมีเพื่ออยากทราบแนวคิดเกี่ยวกับการนำข้อเสนอขอนิติราษฎร์ เมื่อนำไปใช้จะก่อผลอย่างไร ในทางกฎหมาย
ซึ่งมีสมาชิกให้ความเห็นไว้เช่นคุณตระกองขวัญและคณแอบมาซุ่ม เป็นต้น ก็ขอขอบคุณท่านทั้งสองอีกครั้ง ที่ได้กรุณาให้ความเห็นไว้ และขออภิปรายเพิ่มเติม ประกอบไว้ดังนี้
เรื่องใครควรเป็นผู้ประกาศล้างผลรัฐประหาร
ผมเห็นด้วยกับคุณตระกองขวัญว่านิติราษฎร์ไม่มีอำนาจทางกฎหมาย เป็นเพียงผู้เสนอแนวคิดเท่านั้น แต่การดำเนินการทางกฏหมายคงต้องเป็นสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นผมขออนุญาตถือว่าคุณตระกองขวัญตอบคำถามข้อที่ 1 ว่าเป็นสภาผู้แทนราษฎร ที่จะเป็นผู้ดำเนินการแก้ไข และประกาศล้มล้างผลพวงของรัฐประหาร ประเด็นนี้เห็นตรงกันกับผม แต่ตรงนี้คุณแอบมาซุ่มให้ความเห็นต่างออกไปว่า น่าจะ”ต้องมีวิธีการที่ออกแบบใหม่เพื่อรองรับโดยเฉพาะอาจจะให้ประธานทั้ง 3 ศาลร่วมกันเป็นคณะพิเศษอะไรสักอย่างเป็นวาระแห่งชาติขึ้นมา” ซึ่งก็น่าจะรับฟังและพิจารณาไว้เช่นกัน
สถานะของรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อประกาศล้มล้างผลพวงของรัฐประหารแล้วรธน.2540 จะกลับคืนมาเลยหรือไม่ แม้คำถามข้อนี้คุณตระกองขวัญจะมิได้ตอบตรงๆ แต่หากดูจากที่คุณตระกองขวัญให้ความเห็นหลายครั้งซ้ำๆกันว่า”ไม่ใช่การยกเลิก รธน. 2549 และ รธน. 2550” ก็น่าจะแปลความหมายได้ตามความเห็นคุณตระกองขวัญ รธน.2540 จะไม่กลับคืนมาหากประกาศล้างผลพวงรัฐประหาร
อันนี้อาจะแตกต่างไปจากคณแอบมาซุ่มและอาจจะมีคนอื่นอีกหลายๆคน ที่เข้าใจว่ารธน.2540 จะกลับคืนมา (คุณแอบมาซุ่มให้ความเห็นตรงนี้ไว้ว่า “ถ้ายกเลิก 50 - 49 ก็เท่ากับถอยมาที่ 40 อันนั้นจริงครับ ด้วยสิ่งที่มีอยู่ตอนนี้ถ้าไม่มีอะไรใหม่ๆใส่เข้ามามันก็คงต้องเป็นแบบนั้น” ) ซึ่งอาจจะเป็นไปได้หากการล้มล้างผลพวงรัฐประหารนั้น ได้ล้มล้างประกาศคปค. ที่ยกเลิกรธน.2540 ให้หมดสภาพไปและเสมือนไม่เคยได้มีประกาศนั้นออกมา
สำหรับผม ก็เห็นว่าตรงนี้ต้องดูถ้อยความของกฏหมายที่จะประกาศออกมาอีกทีก่อน ว่าจะให้ย้อนหลังไปถอนประกาศคปค. ฉบับที่ยกเลิกรธน.2540 ด้วยหรือไม่
สถานะของคณะกรรมการเลือกตั้ง เมื่อประกาศผลพ่วงรัฐประหารแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน หมดสภาพไปหรือไม่ ตรงนี้คุณตระกองขวัญไม่ได้ตอบตรงๆ แต่ให้ความเห็นว่านิติราษฎร์ลบล้างแค่ มาตรา 36 และมาตรา 37 ใน รธน.ชั่วคราว 2549 เหมือนกับจะเสนอว่า สถานะของคณะกรรมการการเลือตั้งจะไม่ถูกแตะต้อง
และคุณแอบมาซุ่มให้ความเห็นว่า “จำเป็นต้องมีคณะกรรมการเพื่อพิจารณาลดผลกระทบในแต่ละด้าน สรุปออกมาให้ได้ แล้วจึงพิจารณาวิธีจัดการในแต่ละข้ออย่างเป็นรูปธรรมคงไม่ใช่ยกเลิกด้วนๆแบบเด็กเล่น ต้องมีการไคร่ครวญอย่างชัดเจน”
ผมเห็นด้วยกับทั้งสองท่านว่าตรงนี้อาจจะยังไม่ชัดเจนว่าสถานะของคณะกรรมการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร หากมีการประกาศล้มล้างผลพ่วงของรัฐประหาร ด้วยการล้ามาตรา 36 และ 37
ผลกระทบจากการประกาศล้างผลรัฐประหาร ด้วยการล้างมาตรา 36 และ 37
เพราะมาตรา 36 ของรธน.2549 รับรองว่าประกาศคปค.ที่แต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นประกาศที่ถูกต้องตามกฎหมายและตามรัฐธรรมนูญ และรธน.2550 มาตรา 309 ก็รับรองความถูกกฏหมายและรัฐธรรมนูญ ต่อเนื่องสืบมา
หากประกาศล้มล้างผลพวงของรัฐประหาร ล้มล้างมาตรา 36 แล้ว ทำให้น่าคิดว่า ประกาศคปค ที่แต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะยังคงเป็นประกาศที่ถูกกฎหมายอีกต่อไปหรือไม่
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกตั้งจะยังคงเป็นประกาศทีถูกกฏหมายต่อไปได้ อย่างไร ในเมื่อกฏหมายรธน.2549 ที่รับรองไว้ในมาตรา 36 ถูกลบล้างไปเสียแล้ว ?
| หากใช้หลักคิดของนิติราษฎร์ ที่ปฏิเสธอำนาจที่มากจากการปฏิวัติรัฐประหาร หรือหลักคิดที่ว่าเมื่อรัฐประหารแล้ว ประกาศใดก็มิสมครวรจะเป็นกฎหมายหรือถูกกฎหมาย หากนิติราษฎร์ มีแนวคิดเช่นนี้ ก็เท่ากับว่าประกาศการแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกตั้งนั้นไม่ถูกกฏหมาย และไม่สมควรจะถูกกฏหมายเพราะเป็นประกาศของคณะรัฐประหาร อาจถึงขั้นให้ถือว่าไม่เคยมีประกาศนี้มาก่อนเลย
ความไม่ถูกกฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เกิดจากการล้มล้างมาตรา 36 ของรธน.2549จะ ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อทุกสิ่ง เพราะนั้นเท่ากับว่าการจัดการเลือกตั้งทั้งสองครั้งที่ผ่านมาจัดโดยผู้ที่ไม่มีหน้าที่ถูกต้องตามกฏหมาย ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งเป็นประกาศของผู้ที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
ดังนั้นสมาชิกสภาและคณะรัฐมจตรีที่ผ่านมาทุกชุดล้วนได้มาอย่างไม่ถูกกฎหมาย กฎหมายที่สภาออก มติที่คณะรัฐมนตรีออก พรบ.งบประมาณและพรบ.อื่นที่สภาออก ล้วนออกโดยสมาชิกที่ไม่ได้มาอย่างถูกกฏหมาย แม้แต่สภาจะประกาศล้มล้างผลพ่วงรัฐประหารด้วยอำนาจกฏหมายที่มีของสภา ก็จะไม่สามารถกระทำได้ เพราะตนเองก็ไม่ใช่สมาชิกสภาที่มาอย่างถูกกฎหมายอีกต่อไป
ต้องพึ่งหลักกฎหมายรัฐประหาร "หลักอำนาจตามรัฐาธิปัตย์" หรือไม่
แต่ทั้งหมดนี้ หากจะยังหวังให้มีผลในทางกฎหมายโดยไม่ก่อความโกลาหลดังกล่าว นิติราษฎร์เอง จำต้องยอมรับหลักกฏหมายรัฐประหารเพื่อให้แนวคิดของตนอยู่รอด นั้นคือ เมื่อประกาศยกเลิกมาตรา 36 และ 37 ของรธน.2549 แล้ว นิติราษฎร์จะต้องยอมรับความคงอยู่ของประกาศคปค. ด้วยหลักอำนาจรัฐาธิปัตย์ เพราะประกาศเหล่านั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญใดรองรับให้คงสภาพความถูกต้องตามกฏหมายอีกต่อไป
ที่คิดเรื่องนี้ มิใช่ต้องการดิสเครดิตนิติราษฎร์ แต่ต้องการชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะนำแนวคิดนิติราษฎร์มาใช้อย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นกฎหมาย โดยมินำหลักคิดของกฎหมายรัฐประหารมาประกอบด้วย
จึงต้องสรุปว่า แนวคิดของนิติราษฎร์ จะอย่างไร ก็ยังต้องอาศัยหลักคิดของกฎหมายรัฐประหารมาประกอบเสียละกระมัง มิเช่นนั้น ก็จะมิสามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติ เพื่อให้เป็นกฏหมายใช้บังคับได้เลย แนวคิดของนิติราษฎร์และหลักคิดเรื่องหลักอำนาจรัฐาถิปัตย์ จะต้องอยู่คู่กันหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไป
ก็ขอตั้งข้อสังเกตไว้เท่านี้
.
แก้ไขเมื่อ 08 ก.พ. 55 12:18:02
แก้ไขเมื่อ 08 ก.พ. 55 12:12:09
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ก.พ. 55 12:06:15
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|