Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
+++++ ความเป็นไปได้ของประกาศล้มล้างผลพ่วงรัฐประหารโดยรัฐสภา+++++ ติดต่อทีมงาน

กระทู้นี้ขอวิจารณ์เพิ่มเติม ในกรณีที่สมมติให้มีการนำเสนอประกาศล้มล้างผลพ่วงรัฐประหารโดยรัฐสภา เพื่อหวังให้เกิดผลทางกฏฆมายจริงๆจังๆ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ อาจเกิดขึ้นได้ หากมีสส.ของพรรคเพื่อไทยเห็นด้วยกับนิติราษฎร์ ก็อาจมีการเสนอเรื่องนี้เข้าสภาจริง


    เชิงสัญญลักษณ์ หรือหวังผลกฏหมาย
เวลานี้คนบางส่วนเชื่อว่าความคิดของนิติราษฎร์เรื่องการล้มล้างผลพ่วงของรัฐประหารนั้น เป็นการนำเสนอเชิงสัญญลักษณ์เท่านั้น นั้นคือ นิติราษฎร์หวังแค่ให้มีการประกาศจากสถาบันการเมืองที่สำคัญ ถึงการไม่เอาผลจากการกระทำของคณะรัฐประหารชุดล่าสุด โดยมิได้หวังให้เกิดผลในทางกฏหมายที่จะนำไปใช้จริงจังต่อไปแต่อย่างใด โดยหากจะมีการแก้ไขประกาศของคปค.ก็ไปแก้ไขเป็นรายประกาศกันอีกที

แต่มีคนจำนวนไม่นอ้ยเข้าใจว่าประกาศล้มล้างผลพ่วงรัฐประหารนี้ นิติราษฎร์หวังให้มีผลทางกฏหมาย ให้มีการล้มล้างทางกฏหมายต่อประกาศ คำสั่งของคณะรัฐประหาร คปค จริงๆ มิใช่เพียงแค่หวังผลเชิงสัญญลักษณ์

การเสนอให้ล้มล้างมาตรา 36 และ 37 ของรธน.2549 หากดูตามที่เสนอแล้ว คล้ายกับนิติราษฎร์จะหวังให้เกิดผลทางกฏมาย เพราะมีการเจาะจงมาตราที่จะล้มล้าง มิใช่ประกาศล้มล้างลอยๆ หากเป็นเช่นที่ว่าจริงๆ จะทำได้ง่ายหรือยากเพียงใด จะขอวิคราะห์ในส่วนนี้


     ลำดับศักดิ์ของกฏหมายที่จะใช้ ต้องเป็นกฏหมายรัฐธรรมนูญ
ปกติวิสัย การประกาศยกเลิกกฏหมายใด ต้องใช้กฏหมายในลำดับศักดิ์เดียวกัน หรือสำดับศักดิ์ที่สูงกว่าจึงจะล้มล้างได้ เช่น กฎหมายลำดับศักดิ์พระราชกฤษฎีกา ที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีสามารถออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ยกเลิกได้เอง กฏหมายในชั้นพระราชบัญญัติต้องเอาเข้าสภาเพื่อให้สภาออกพระราชบัญญัติยกเลิกหรือแก้ไข กฏหมายรัฐธรรมนูญ ก็ต้องเข้าสภา และสภาจะต้องออกกฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมายกเลิกแก้ไข ซึ่งการออกกฏหมายลำดับรัฐธรรมนูญจะต้องชี้เสียงในสภามากกว่ากฏหมายลำดับพระราชบัญญัติ เพราะมีความสำคัญกว่าและศักด์สูงกว่า

ปกติการผ่านกฏหมายในลำดับพระราชบัญญัติ จะต้องใช้เสียงข้างมากของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่จะผ่านวาระสาม แต่หากวุฒิสภาไม่เห็นด้วยกับกฏกหมายนั้น สภาผู้แทนต้องใช้เสียงที่มากกกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสส. จึงสามารถดันให้กฏหมายออกมาได้แม้วุฒิสภาจะไม่เห็นชอบ ในขณะที่กฏหมายรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องใช้เสียงของรัฐสภาคือรวมกันทั้ง สส.และสว. และจะต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสส.และสว.ร่วมกันจึงจะออกเป็นกฏหมายรัฐธรรมนูญได้

การออกประกาศล้มล้างผลพ่วงโดยจะยกเลิกมาตรา 36 และ 37 ของรธน.2549 โดยหวังให้เกิดผลลบล้างเสมือนไม่เคยมีประกาศคำสั่งเหล่านั้นออกมา แม้จะเป็นการยกเลิกกฏหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้ว(โดยรธน.2550) แต่หวังล้มล้างให้เสมือนไม่เคยมีบัญญัติมาตราดังกล่าว จนทำให้รธน.2550 มาตรา 309 ไม่สามารถอ้างอิงได้อีก มีผลต่อการตีความรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 309 ดังนั้น ประกาศนี้ย่อมมีสถานะเทียบเท่ากฏหมายรัฐธรรมนูญ


     ความยากหรือง่ายในการระดมเสียงเพื่อออกกฏหมายนี้
การตรากฏหมาย เพื่อให้เกิดผลย้อนหลังลบล้างกฎหมายเดิมเสมือนไม่เคยมีกฏหมายเดิมเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เชื่อได้ว่า สิ่งนี้จะทำให้ในที่ประชุมของรัฐสภาจะต้องมีการถกเถียงกันเผ็ดร้อนเป็นแน่   และแน่นอนเสียงของสมาชิกที่จะลงคะแนนเพื่อสนับสนุน ให้กฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับบนี้ออกมา ย่อมจะแปรปรวนไปตามความไม่แน่ใจ จริงอยู่รัฐบาลมีเสียงข้างมากอยู่ในสภาล่างคือสภาผู้แทนราษำร แต่การผ่านกฏหมายรัฐธรรมนูญต้องอาศัยเสียงของวุฒิสภา และคะแนนเสียงจะต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาทั้งสองรวมกัน


สมมุติว่า รัฐบาลสามารถระดมคะแนนเสียงจากวุฒิสภามาเสริม จนทำให้ร่างกฏมายรัฐธรรมนูญนี้ผ่านรัฐสภาออกมาได้ สิ่งที่ต้องคิดต่อไป ก็คือเรื่องความยอกย้อนของกฏมายที่จะไปขัดกันเอง ดังที่วิเคราะห์ไว้ในกระทู้ข้างล่าง( กระทู้ข้างล่าง ) เพราะเมื่อมีกฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ออกมายกเลิกล้มล้างกฏหมายรัฐธรรมนูญ 2549 โดยล้มล้างมาตรา 36 และ 37 เสมือนไม่เคยมีมาตราทั้งสอง และประกาศำสั่งของคปค.ไม่สามารถจะใช้มาตรา 309 ของรธน.2550 มาอ้างอิงต่อไป

ประกาศและคำสั่งเหล่านั้น จะคงสภาพกฏหมายต่อไปได้อย่างไร โดยเฉพาะประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. นั้นเอง


     ผลที่ตามมาจากการออกกฏหมายนี้
ดังที่วิเคราะห์ไว้ข้างล่าง( กระทู้ข้างล่าง )ว่า หากยึดหลักนิติราษฎร์ที่ถือว่าประกาศของคณะรัฐประหารย่อมไม่สมควรเป็นกฏหมายที่ใช้ต่อไปได้ ดังนั้น กกต.ก็จะไม่มีประกาศแต่งตั้งที่ถูกกฏหมายรองรับมาตั้งแต่แรกเริ่ม


กกต.ก็ย่อมกลายเป็นกกต.เถื่อน และกกต.เถื่อนจัดการเลือกตั้ง ประกาศผลการเลือกเลือกตั้ง ก็ย่อมเป็นประกาศผลการเลือกตั้งที่ไม่สามารถจะใช้ได้ในทางกฏหมาย เพราะคนประกาศ กกต.เป็นองค์กรเถื่อนที่ไม่มีประกาศที่ถูกกฏหมายรองรับหรือให้อ้างอิงได้ ดังนั้น สภาผู้แทนราษฎรชุดปี 2550 และชุดปี 2554 ก็ไม่ใช่สภาที่ได้มาอย่างถูกกฏหมาย รัฐบาลที่มาจากสภาทั้งสองวาระก็ไม่ได้มาอย่างถูกกฏหมาย

และดังกล่าวแล้ว สภากลายเป็นสภาที่ไม่ถูกกฏหมาย ดังนั้นการออกกฏหมายรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างมาตรา 36 และ 37 ของรธน.2549 จึงไม่สามารถทำได้ วนกลับมาจุดเริ่มนี้เอง

แต่หากยึดหลักกฏหมายที่ว่ามีอำนาจรัฐาธิปัตย์อยู่จริง ประกาศแต่งตั้งกกต.จะคงสภาพกฏหมายอยู่ได้ แม้จะไม่มีรธน.2549 มาตรา 36 มารับรองไว้ โดยอ้างอิงอำนาจของรัฐาธิปัตย์  และหากเป็นเช่นนั้น สภาที่ได้มาจากการเลือกตั้งปี 2550 และ ปี2554 ก็จะไม่สิ้นสภาพทางกฏหมาย แม้มาตรา 36 ของรธน.2549 ที่รับรองประกาศ คปค.จะถูกยกเลิกไปแล้วก็ตาม

ก็คงต้องคอยดูว่าสุดท้ายแล้ว พรรคเพื่อไทย สนใจที่จะนำแนวคิดของนิติราษฎร์ มาผลักดันเพื่อให้เกิดผลในทางกฏหมายที่จริงจังหรือไม่ และจะมีปัญหาการขัดกันเองดังว่าหรือไม่ หรือจะปล่อยให้เป้นเพียงแค่การประกาศเชิงสัญญลักษณ์ ที่ไม่ได้มีผลจริงจังในทางกฏหมายเลย


จากคุณ : thyrocyte
เขียนเมื่อ : 8 ก.พ. 55 20:19:43 A:58.136.21.214 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com