+++++ ตอบคุณตระกองขวัญที่ เรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย +++++
|
 |
คุณตระกองขวัญถามเรื่องนี้อีก ทั้งๆที่ผมว่าผมได้นำเสนอเรื่องนี้ซ้ำมาหลายครั้ง แต่เมื่อสอบถาม ก็ต้องตอบคำตอบคือ ประกาศใดจะมีสภาพเป็นกฎหมายใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักรไทย ประกาศนั้นจะต้องอ้างอิงหรือสาวสืบต่อเนื่องอำนาจตามกฏหมาย มาจาก
1.กฏหมายรัฐธรรมนูญ อ้างอิงกฏหมายรัฐธรรมนูญโดยตรง หรืออ้างอิงกฏหมายรัฐธรรมนูญทางอ้อม ผ่านการอ้างอิงกฎหมายลำดับศักดิ์รองลงไป เช่น อ้างอิงพระราชบัญญิต พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา (ซึ่งบรรดา พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ก็จะออกมาได้ตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเวลานั้น)
หรือ 2. ใช้อำนาจรัฐาธิปัตย์ ในขณะที่ในเวลานั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดอยู่ เพราะถูกยกเลิกไป ดังที่มีปรากฏในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย
ประกาศจะมีสภาพเป็นกฎหมายใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักรไทย มิใช่คุณหรือผมจะนึกคิดเข้าใจเอาเองได้ แต่จะต้องอ้างอิงอำนาจตามกฏหมายจากแหล่งแหล่งหนึ่งใน 2 ข้อ ข้างบนเท่านั้น จึงจะมีสภาพกฎหมายได้ มียกเว้นในกรณีเดียวคือกฎมายรัฐธรรมนูญ ที่จะไม่อ้างอิงกฎหมายอื่น แต่จะอ้างอิงว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นตามอำนาจรัฐาธิปัตย์ของคณะรัฐประหาร หรือตั้งขึ้นตามอำนาจรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จแล้ว จึงนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป หรือ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกลาโปรดกระหมอมใหใชบทบัญญัติหนึ่งๆ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ในระหว่างที่มีการร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแบับเดิมโดยคณะรัฐประหารไป
คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดที่จัดเลือกตั้งปี 2550 และ 2554 เป็นคณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งด้วยประกาศ คปค ฉบับที่ 13 ประกาศนี้ถูกรองรับให้เป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมายด้วยอำนาจของ รธน.2549 มาตรา 36
หากรัฐสภา ออกกฏหมายที่มีผลทางกฎหมายล้มล้างมาตรา 36 นี้ได้จริง จนเสมือนว่า ไม่เคยมี มาตรา 36 นี้มาก่อนอย่างที่นิติราษฎร์เสนอไว้ เช่นนั้น ประกาศ คปค.ฉบับที่ 13 ที่แต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก็ไม่มีกฎหมาย รธน. รองรับว่าเป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมายและสามารถใช้ได้อีกต่อไป และคณะกรรมการการเลือกตั้งก็กลายเป็นคณะกรรมการ เถื่อน ที่ไม่มีกฏหมายใดรองรับ
ผมเคยชี้ไว้แล้วว่า ทางที่เหลืออยู่ทางเดียวหากจะล้มล้างมาตรา 36 โดยไม่ให้ประกาศ คปค ที่ 13 หมดสภาพกฏหมายก็คือ ต้องกลับไปอ้างอำนาจรัฐาธิปัตย์ของคปค เพื่อให้ประกาศ ฉบับที่ 13 นั้นยังคงสภาพกฎหมายอยู่ได้ และไม่เกิดความวุ่นวายจากการประกาศยกเลิกมาตรา 36 ของรธน.2549 และหากทำเช่นนี้
แต่หากกลับไปอ้างอิงอำนาจรัฐาธิปัตย์ของคณะรัฐประหาร แล้วจะถือว่าเป็นการล้มล้างผลพวงรัฐประหารได้อย่างไร ดังนั้น แนวคิดของนิติาราษฎร์จึงมีปัญหาอยู่ดังที่ได้ชี้ไว้เช่นนี้แหละครับ
.
แก้ไขเมื่อ 10 ก.พ. 55 07:43:31
แก้ไขเมื่อ 10 ก.พ. 55 07:35:00
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ก.พ. 55 07:32:36
A:58.136.21.218 X:
|
|
|
|