+++++ ข้อสังเกตเรื่องพระราชกำหนดกับรัฐบาล +++++
|
 |
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าพรก.ทั้งสองฉบับไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่ว่ารัฐบาลต้องรับผิดชอบเพียงไร ต้องลาออกหรือยุบสภา หรือไม่หากพรก.ทั้งสองถูกตีความโดยศาลว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญจึงหมดไป และเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้หลัก "ตุลาการไม่ใช่ฝ่ายบริหาร" ดังที่คุณ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ เขียนไว้ในบทความเรื่อง " พ.ร.ก.โอนหนี้ กับ มาตรฐานที่พึงมี ของศาลรัฐธรรมนูญ"
หลัก "ตุลาการไม่ใช่ฝ่ายบริหาร" ควรยึดถือไว้ฉันใด หลัก "ฝ่ายบริหารไม่ใช่ฝ่ายนิติบัญญัติ" ก็ควรยึดถือไว้ฉันนั้น นั้นหมายความว่า หน้าที่ในการออกกฎหมายหรืออนุมัติการออกกฎหมายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรไทยนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐสภา ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายบริหาร เพราะฝ่ายบริหารมีหน้าที่ใช้กฏหมายตามกฏหมายที่สภาอนุมัิต ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายบริหารอ้างความจำเป็นฉุกเฉิน และก้าวล่วงขอบเขตมาเป็นผู้ตรากฎหมายเสียเอง ในเวลานั้นๆ ฝ่ายบริหารจึงต้องรับผิดชอบต่อผลของการกระทำอย่างเต็มที่ ดังที่เคยปรากฏมา
และเป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องพระราชกำหนดนี้ หากไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฏรและหรือวุฒิสภา ก็จะไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น นั้นคือผลของกฏหมายจากพระราชกำหนดเป็นอันสมบูรณ์ไปแล้ว แม้พระราชกำหนดนั้นจะไม่ผ่านสภาในเวลาต่อมา
ต่างจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าพระราชกำหนดนั้นขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งแบบนี้จะถือว่า พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น นั้นเท่ากับความเสียหายจากการที่พระราชกำหนดนั้น ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญจะสูงกว่ากรณีพระราชกำหนดไม่ผ่าสภา เพราะรัฐบาลต้องไปแก้ไขให้กลับคืนซึ่งผลที่เกิดจากพระราชกำหนดอันถูกถือว่าไม่มีสภาพกฎหมายมาแต่ต้น ดังนั้น ความรับผิดชอบของรัฐบาลในกรณีหลังน่าจะสูงกว่ากรณีแรก
ก็หวังว่ารัฐบาลนี้ จะสังวรในเรื่องนี้ให้ดี และพึงตระหนักว่าตนนั้นเป็นฝ่ายบริหาร และพึงใช้แต่อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินในทางที่เหมาะสม

จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
22 ก.พ. 55 18:07:29
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|