 |
นายคณิตพูดมาได้ไง...ว่า "กองทุนหมู่บ้าน" สร้างหนี้....ย้อนดูกันจะจะ ผลงานของคุณทักษิณ คนละชั้นกับ ปชป. เลย(เรื่องยาวมาก)
|
 |
นายคณิตพูดมาได้ไง...ว่า "กองทุนหมู่บ้าน" สร้างหนี้....ย้อนดูกันจะจะ ผลงานของคุณทักษิณ คนละชั้นกับ ปชป. เลย
นายคณิตออกมากล่าวว่าการตั้งกองทุนสตรีฯ ของ รบ.ยิ่งลักษณ์ แค่สนองนโยบายหาเสียงรัฐบาล รังแต่ จะเพิ่มภาระหนี้ เละซ้ำรอย "กองทุนหมู่บ้าน"
โห....ไอ้ที่บอกว่าสร้างหนี้ น่ะ มันเป็น "กองทุนหมู่บ้าน" ในการบริหารของพรรค ปชป. ต่างหาก อย่าเหมารวมมั่วซั่วสิครับ
แต่กองทุนหมู่บ้าน สมัย ทักษิณ น่ะ...เขาทำกำไร มากมาย สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างโอกาส แถมยัง ให้ชาวบ้านได้เรียนรู้การทำธุรกิจ ประโยชน์มหาศาล ย้อนไปดูผลงานกันจะจะครับ
---------------------------------
ข่าวจากเดลินิวส์
กองทุนหมู่บ้าน'' เติบโตอย่างมั่นคง พิสูจน์รากหญ้ามีวินัย-คุณธรรมสูงส่ง
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เกิดขึ้นในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น นายกรัฐมนตรี โดยมีการกดปุ่มเงินก้อนแรกไปให้ประชาชน ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 จำนวน 7,125 กองทุน กองทุนละ 1 ล้าน บาท หรือหมู่บ้านละล้าน ท่ามกลางคำสบประมาท ดูถูกดูแคลนกันมากมายที่ดังก้องไปเข้าหูชาวรากหญ้า ว่าเงินก้อนนี้ คงกู้ไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไปซื้อโทรศัพท์มือถือ ซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ลูกหลาน พอถึงเวลาชำระหนี้ก็ชักดาบ
แต่ กองทุนหมู่บ้านก็ยังดำเนินการไปตามปกติ ตามวัตถุประสงค์เพื่อให้ เป็นธนาคารของประชาชน เป็นแหล่งทุนใน หมู่บ้านที่ทุกคนสามารถเข้าถึง ได้ง่าย ที่สำคัญ ยังเป็นการส่งเสริมการบริหารประเทศ ในระดับฐานราก ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ และประชาธิปไตย
กองทุนหมู่บ้านผ่านร้อนผ่านหนาวมา 9 ปี บางช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มีข่าวว่าจะถูกยุบไปด้วยซ้ำ แต่ด้วยความเข้มแข็งและมั่นคงของกองทุนหมู่บ้าน จึงอยู่รอดมาได้จนถึงขณะนี้ โดยปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 79,255 กองทุน แยกย่อยเป็นกองทุนหมู่บ้าน 74,989 กองทุน กองทุนชุมชนเมือง 3,528 กองทุน และกองทุนชุมชนทหาร 738 กองทุน รวมแล้วมีเม็ดเงินที่ชาวรากหญ้าบริหารจัดการกันเอง ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท
จากข้อมูลของ รศ.นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชน เมืองแห่งชาติ (ผอ.กทบ.) เปิดเผยว่า จากรายงานเมื่อปี 2551 พบว่า เงินกองทุน 8 หมื่นล้านบาทที่บริหารกันโดยชาวบ้าน มีดอกผลงอกเงยขึ้น มากว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเงินยอดนี้ถูกนำไปใส่เข้าสมทบกอง ทุนจำนวน 5,370 ล้าน บาท เงินออม 15,766 ล้านบาท เงินหุ้น 1,876 ล้านบาท เงินฝาก 1,758 ล้านบาท เงินประกันความเสี่ยง 1,676 ล้านบาท เงินเฉลี่ยคืนผู้กู้ 1,597 ล้านบาท เงินบริหารจัดการ 2,441 ล้านบาท และเงินจัดสรรสวัสดิการ-สาธารณประโยชน์ 2,950 ล้านบาท
“เงินกองทุน 79,255 กอง ทุน ยังอยู่ในมือชาวบ้าน ไม่ได้หายไปไหน เพราะชาวบ้านมีวินัยทางการเงิน และมีความรับผิดชอบสูง โดยกองทุน ทั้งหมดชาวบ้านบริหารกันเอง ด้วยฝีมือผู้บริหารที่ จบป.4 ป.6 และสูงขึ้น มาหน่อยอาจจะจบ ชั้นมัธยม แต่สามารถ บริหารเงินกันได้ดี
เพราะชาวบ้านส่วน ใหญ่ไม่เบี้ยวหนี้ หรือติดค้างชำระ เนื่องจากเขา มีความละอาย ใครเป็นหนี้ 2 หมื่นบาท รู้กันทั้งหมู่บ้าน ถ้าค้างชำระ ก็ติดชื่อไว้ที่ศาลาวัด หรือไม่ก็ให้ลูกหลานช่วยทวงถามให้”
เท่าที่ทราบระเบียบของธนาคารชาติ ระบุว่าถ้าค้างชำระ 3 งวด ถือว่าเป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) แต่กองทุนหมู่บ้านต้องฟ้องร้องจึงจะ ถือว่าเป็นหนี้เสีย ปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านมีคดีความกับผู้กู้ โดยแบ่งเป็น คดีแพ่ง 5,054 คดี และคดีอาญา 694 คดี รวมแล้วไม่ถึง 6 พันคดี หรือจำนวน 6 พันคนที่มีปัญหา ด้วยมูลหนี้ประมาณ 200 ล้านบาท จากสมาชิกกองทุนกว่า 12 ล้านคน
ถ้าเทียบ เป็นสัดส่วนจำนวนคนแล้วถือว่าน้อยมาก โดย เฉพาะมูลหนี้ 200 ล้านบาท ที่เป็นคดีความกันอยู่ ยังไม่ถือว่าเป็น หนี้สูญหรือถ้ามอง แบบแย่สุดสุด 200 ล้านบาท เป็นหนี้สูญ เมื่อเทียบกับกองทุนทั้งหมด 8 หมื่นล้าน บาท ถือว่าจำนวนหนี้เสียไม่ถึง 0.5%
รศ.นทีกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันกอง ทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองหลายแห่ง ได้ยกระดับเป็น “สถาบันการเงินชุมชน” หมาย ถึงหลายกองทุนที่มี ความเข้มแข็ง อยู่ใกล้ชิดกัน มีความเห็นสอดคล้องกัน ได้บูรณาการ หลายกองทุนเข้าด้วยกันเป็นสถาบันการเงินชุมชน ซึ่งหลายคนตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ตั้งเป็นธนาคารชุมชน ตรงนี้ต้องอธิบายว่า ใช้ชื่อธนาคารชุมชนไม่ได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขและกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย
ปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชน แล้ว 1,149 แห่งทั่วประเทศ หลายแห่งประสบความสำเร็จมาก เช่น สถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดรวมใจ มีเงินทุนหมุนเวียนในการปล่อยกู้ ถึง 83 ล้าน บาท สมาชิกสามารถกู้ได้รายละเป็นแสนบาท ส่วนแห่งอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จก็มีสถาบันการเงินชุมชนเขาหญ้าออก จ.พัทลุง มีเงินทุนหมุนเวียน 20 ล้านบาท และสถาบันการเงินชุมชนถนนหัก จ.บุรีรัมย์ มีเงินทุนหมุนเวียน 15 ล้านบาท
“ทั้ง หมดเป็นบทพิสูจน์ฝีมือการบริหารของพี่น้องรากหญ้าได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านมีวินัยสูง มีคุณ ธรรม เมื่อกู้เงินไปใช้ ไปลงทุน ก็พยายามหามาใช้คืน บางคนมีสปิริตถึงขั้นต้องไปกู้เงินนอกระบบมาใช้คืน เงินกองทุนหมู่บ้าน ซึ่ง เราไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น เพราะถือว่าผิด วัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้าน และถ้าชาวบ้านเหลวไหล เหมือนคำสบประมาท ในช่วงแรก ๆ รัฐบาลชุดนี้คงไม่ให้เงินลงมา กองทุนหมู่บ้านอีก 2 หมื่น ล้านบาท และไม่ได้โยนให้เปล่า ๆ
แต่หมู่บ้านและชุมชนเมืองต่าง ๆ ต้องเสนอแผนงาน เสนอโครงการเข้ามา จึงจะได้เงินกองทุน เพิ่ม ซึ่งปัจจุบันมีกองทุนเสนอโครงการเข้ามาแล้วกว่า 60% แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวมาก” รศ.นที กล่าว
ที่ผ่านมามีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวนหนึ่งไม่ประสบ ความสำเร็จ เพราะประธานและคณะกรรมการบริหารกองทุน ขาดประสิทธิภาพ ไม่มี ความกระตือรือร้น บางกองทุนปล่อยกู้เฉพาะในหมู่วงศาคณาญาติ จึงไม่ เป็นที่ยอมรับของสมาชิกอื่น ๆ ในหมู่บ้านหรือชุมชน
ส่วนการชำระหนี้คืนกองทุนนั้น ชาวบ้านทั่วไปชำระหนี้คืนกันตามปกติ ถ้ามีปัญหา ก็จะให้ลูก-หลาน และญาติเข้าไปช่วยพูดคุยเจรจา จนปัญหาคลี่คลายด้วยดี แต่ที่มีปัญหาส่อเจตนาจะเบี้ยวหนี้ ไม่ชำระหนี้คืนตามเวลา และติดตามทวง ถามยาก คือข้าราชการบางคนในหมู่บ้าน
ทั้งหลายทั้งปวง แสดงให้เห็นว่าชาวรากหญ้าก้าวไปไกลกว่าที่คิดลบคำสบประมาท และคำพูดดูถูกดูแคลนลงอย่างสิ้นเชิง ที่สำคัญในอนาคตกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตั้งเป้าหมายว่าจะมีตรา สินค้าเป็นของตนเอง และอาจปล่อยกู้ให้กับภาครัฐด้วย.
พิเชษฐ์ รื่นกลิ่น/รายงาน
--------------------------------
เป็นไงล่ะ....นายคณิต มัวเอาหัวไปมุดอยู่รูไหนมาครับ ถึงกล่าวในทำนองว่า กองทุนหมู่บ้าน สร้างหนี้ และล้มเหลว
คำพูดของนายคณิตอาจจะจริง ในยุค รบ.มาร์ค แต่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การบริหารงานของคุณทักษิณอย่างแน่นอน...!!!
...
จากคุณ |
:
นายผอมจอมซ่า
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ก.พ. 55 01:24:33
A:183.89.94.3 X:
|
|
|
|  |