ขอสรุปเองก็แล้วกัน สำหรับ "กองทุนหมู่บ้าน"
ทุกๆ โครงการของทุกรัฐบาล ก็ต้องมีทั้งประสบความสำเร็จ
และล้มเหลว จะมาเถียงกันทำไม เหมือนตาบอดคลำช้างไหม?
ใครเจอกองทุนบริหารดี ก็บอกว่าบริหาร ประสบความสำเร็จ
คุณม่วงคัน เจอแต่ล้มเหลว ก็บอกว่า แย่ทั้งนั้น
แต่ที่ประหลาดใจก็คือ ข้อมูลจาก คุณ "โรงเรียนวัด"
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11751034/P11751034.html
กับข้อมูลจาก "คุณม่วงคัน" .. ...
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11750818/P11750818.html
มันเป็น "กองทุนหมู่บ้าน" ในประเทศเดียวกันหรือเปล่า
ยอมรับค่ะ เป็น "สาวเหลือน้อย" ที่ใส ซื่อมาก เพราะอ่านทุก comment
แล้วยิ่งเป็น "งง" มาก ๆ
บางส่วนจากข้อมูลที่ "คุณม่วงคัน" link มาให้นะคะ สุ่มตรวจแล้ว
ก็จะเห็นว่ามันสำเร็จหรือล้มเหลว ไม่มีตัวอย่างไหนที่ล้มเหลวเกินกว่า
กว่า 50% ของกองทุนที่สุ่มตรวจ ....
...เอ๊ออ ...... มีงานไหนบ้างที่ประสบความสำเร็จ เต็มร้อย
รู้แล้วละ ว่าทำไมถึงไม่ยกเลิก ตกลงเพื่อน ๆ คนอื่นมาช่วยกันตอบ
ต่อก็แล้วกัน ... สาวเหลือน้อย .... ขอเรียนรู้หน่อย
จะว่าดิฉัน ใส ซื่อ มาก ๆ แต่ขอวิเคราะห์จากข้อมูลที่คุณให้มาแบบ คนรู้
น้อย ใส ซื่อ นะคะ ...... เพราะ .... ข้อมูลที่ให้มา บอกว่า หนี้ค้างชำระมาก
ที่สุดมาจากหมู่บ้านทางภาคใต้ค่ะ ... ดูตรงนี้หรือเปล่า ...
จาก link ของคุณม่วงคัน ....
สำหรับข้อมูลตามบัญชีเงินฝากธนาคารของแต่ละกองทุนหมู่บ้านที่ฝาก
ธ.ก.ส.จำนวน 13,936 กองทุน จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่ากองทุน
หมู่บ้านประมาณร้อยละ 18.25 (จำนวน 2,543 แห่ง) มีปัญหาหนี้ค้างชำระ
หรือเงินขาดบัญชี คิดเป็นเงินรวมไม่น้อยกว่า 1,583.32 ล้านบาท หรือ
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 11.36 นอกจากนี้ จากการสุ่มตรวจกองทุนหมู่บ้าน
450 กองทุน พบประเด็นปัญหาสำคัญที่สอคล้องกับการตรวจสอบตาม
บัญชีเงินฝากข้างต้น คือกองทุนหมู่บ้านประมาณร้อยละ 50 มีหนี้ค้าง
ชำระหรือเงินขาดบัญชี ประมาณ 83.39 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.53
จากการพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยกู้และรับชำระหนี้เงินกู้จาก
สมาชิกกองทุนหมู่บ้านแต่ละกองทุน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2549 ตาม
บัญชีที่กองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่งเปิดไว้ และดำเนินกิจกรรมปล่อยกู้
และรับชำระหนี้ผ่าน ธ.ก.ส. จำนวน 13,936 กองทุน โดยพิจารณา
ข้อมูลของกองทุนหมู่บ้านย้อนหลังในรอบ 1 ปี 5 เดือน (สำหรับ
ธนาคารออมสินระบบจัดเก็บข้อมูลบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ไม่สามารถ
ตรวจสอบการเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน) พบว่ามีกองทุนหมู่บ้านที่
ประสบปัญหาหนี้ค้างชำระหรือเงินขาดบัญชี อย่างน้อย 2,543 กองทุน
คิดเป็นร้อยละ 18.25 ของกองทุนหมู่บ้านที่เปิดบัญชีกับ ธ.ก.ส. รวม
เป็นเงินไม่น้อยกว่า 1,582.32 ล้านบาท หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 11.36
และจากการสุ่มตรวจสอบกองทุนหมุ่บ้านทั่วประเทศ ช่วงเดือนตุลาคม
2548 ถึงเดือนมีนาคม 2549 ครอบคุลม 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน
15 จังหวัด 450 กองทุนหมู่บ้าน เงินกองทุนที่จัดสรรทั้งสิ้น 450 ล้านบาท
พบว่ากองทุนหมู่บ้านทุกจังหวัดจำนวน 225 กองทุน หรือร้อยละ 50
ของจำนนกองทุนหมู่บ้านที่สุ่มตรวจสอบ มีปัญหาหนี้ค้างชำระหรือเงิน
ขาดบัญชีเป็นเงิน 83.39 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.53 ของเงิน
กองทุนที่จัดสรร โดยส่วนใหญ่เป็นกองทุนหมู่บ้านทางภาคใต้
หากแยกพิจารณารายละเอียดของหนี้ค้างชำระหรือเงินขาดบัญชี พบว่า
-กองทุนหมู่บ้านมีปัญหาหนี้ค้างชำระมากเกินกว่าครึ่งหนึ่งของเงินกองทุน
หรือมากกว่า 5 แสนบาทขึ้นไป จำนวนถึง 77 กองทุน คิดเป็นร้อยละ
17.11 ในจำนวนนี้มีกองทุนหมู่บ้านที่มีหนี้สินค้างชำระมากกว่า 9 แสน
บาทขึ้นไป หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นหนี้ค้างชำระหมดทั้งกองทุน
จำนวนถึง 28 กองทุน
แก้ไขเมื่อ 24 ก.พ. 55 18:29:00