1.เสียงส่วนใหญ่ ประชาธิปไตย เผด็จการรัฐสภา มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?
ความหมายของ เผด็จการ คือ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ที่ต้องการจะสืบทอดอำนาจของตัวโดยห้ามผู้อื่นแข่งขัน หากมีการแข่งขันก็จะใช้อำนาจรัฐในการกำจัดคู่แข่งและส่งเสริมความดีมีคุณธรรมของตนเองให้ประชาชนหลงเชื่อ เช่น กรณีผู้นำเกาหลีเหนือ หรือ เป็นต้น กรณีของเกาหลีเหนือนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ คือ เสียงทั้งหมดในสภา ถือว่าเป็นเสียงข้างมากแบบเผด็จการ กรณีกัดดาฟี ใช้เสียงตนเองคนเดียวเป็นเผด็จการ
ส่วนในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนสามารถเปลี่ยนผู้นำได้ตามระยะเวลา โดยไม่มีการใช้อำนาจรัฐมาแทรกแซง อย่างเช่น พม่า จึงมีความแตกต่างกับระบอบเผด็จการตรงนี้ สำหรับในประเทศไทย คำว่า เผด็จการรัฐสภาเป็นเพียงการใส่ร้ายป้ายสีเพื่อให้เกิดความชอบธรรมในการรัฐประหารเท่านั้นเอง
2.ผู้ที่ออกมาต่อต้านระบอบประชาธิปไตย หรือก็คือประท้วงต่อต้านเสียงส่วนใหญ่ ถือว่ามีความผิดตามกฏหมายความมั่นคงหรือไม่ ?
ไม่ผิดกฎหมายด้านความมั่นคง เพราะประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี แต่ในปี 2553 กลับถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ก่อการร้าย เพื่อสร้างความชอบธรรมในการยิงประชาชน..
3.มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีคนที่สนใจการเมือง ตั้งแต่ติดตามข่าวสาร จนถึงขั้นล้วงลึก แล้วยังเป็นกลางทางการเมือง?
เป็นไปไม่ได้ เพราะเมื่อตาสว่างแล้ว มักจะเลือกฝ่ายประชาธิปไตยเสมอ โดยเฉพาะถ้าได้อ่านข้อมูลล้วงลึกที่ว่าแหละ อิอิ
4. หากกระทำความผิดในปี 2547 แล้วถูกตัดสินคดีในปี 2551 จะใช้กฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับไหนครับ แล้วจะมีความเป็นธรรมกับจำเลยหรือไม่?
การพิจารณาคดีจะเลือกใช้กฎหมายหลังสุดที่ให้คุณกับจำเลยจึงจะตัดสินตามนั้น ถ้าเป็นโทษต่อจำเลยจะไม่ตัดสินตาม เพราะถือเป็นการลงโทษย้อนหลัง หรือ ตัดสินคดีย้อนหลังนั้นเอง.. ยกเว้นหลังการยึดอำนาจปี 2549 มีคดียุบพรรคการเมืองด้วยกฎหมายย้อนหลัง และ การปิดโรงงานอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด..
5.การตัดสินคดีที่ดินรัชดาอย่างที่รู้กัน หากภรรยาไม่ให้สามีเซ็นยอมรับ การซื้อขายจะสามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่ หากไม่ได้คู่สามีภรรยาจะต้องจดทะเบียนหย่ากันก่อนหรือไม่ครับจึงจะซื้อได้?
ทำได้ แต่อาจถูกบอกล้างเป็นโมฆียะได้ในภายหลัง แต่ด้วยความบริสุทธิ์ใจจึงได้ขอให้เซ็นรับรองไป ประเด็นคือ ในบัตรนั้นดันมีตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ถูกตัดสินคดีไปตามที่เห็น..
6.รัฐประหารดีกว่าคอรัปชั่นจริงหรือ ?
เมื่อมีการนำถึงเงินที่นำออกไปใช้ถึง 3 พันล้านบาทที่นำออกไปใช้หลังรัฐประหาร ก็ได้รับคำตอบว่า ทหารเป็นวีรบุรุษ ทำงานเพื่อชาติ ไม่จำเป็นต้องชี้แจง...
7.ฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลหรือค้านทุกสิ่งทุกอย่างที่รัฐบาลทำ ?
ในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงในอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลได้ประชุมร่วมมือกันในการออกมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชนจนสำเร็จ แต่ฝ่ายค้านประเทศไทยนี่ ไม่ได้เป็นฝ่ายค้านแท้จริง เพราะ เชื่อมโยงโดยตรงกับกลุ่มอำนาจพิเศษที่จ้องจะโค่นล้มรัฐบาล ผลจึงออกมาอย่างที่เห็น..
8.การค้านอย่างสร้างสรรค์คืออะไร?
การนำเอานโยบายของรัฐบาลมาชี้แจงถึงข้อดีและข้อเสีย และนำข้อเสนอของฝ่ายตนเองเข้าเทียบเคียง สิ่งใดดี ก็ทำไปด้วยกัน สิ่งที่เห็นว่าทำผิดและรัฐบาลยังทำอยู่ ก็เสนอข้อแก้ไขเอาไว้เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หากรัฐบาลทำผิดพลาดก็สามารถนำข้อเสนอของฝ่ายค้านมาใช้ได้ทันท่วงที ไม่ใช่การด่าว่ากันอย่างไม่มีเหตุผล
10.หากนายกยิ่งลักษณ์ลาออก คิดหรือยังครับว่าจะเอาใครมาแทน แล้วจะให้ลาออกเพื่ออะไร
ถ้าคนสวยลาออก ก็จะเป็นโอกาสของฝ่ายอำนาจพิเศษจะได้จัดตั้งรัฐบาลที่ตนเองหนับหนุนอยู่ และมีนายกคนใหม่ชื่อ อภิสิทธิ์ นั่นเอง..
11.การที่ว่าคนต่างจังหวัดโง่แปลว่าคนกรุงเทพฉลาดใช่ไหม? แล้วคนกรุงเทพมีเหตุผลที่เลือกมาไหม?
พูดกันจริงๆเลย เดี๋ยวนี้ คนต่างจังหวัดรู้ว่ารัฐธรรมนูญแตกต่างกันอย่างไร รู้ประวัติศาสตร์การเมืองชาติไทย บางกลุ่มรู้ถึงขนาดการแย่งชิงอำนาจในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่คนต่างจังหวัดพูดถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญ คนกรุงเทพฯกลับพูดถึงละครน้ำเน่า และข่าวลวงโลกช่วงสั้นๆ ดังนั้นจึงไม่สามรถตัดสินได้ว่าใครฉลาดกว่าใคร แต่ในการเมืองนั้น คนต่างจังหวัดฉลาดกว่าคนกรุงเทพฯ..
12.การพูดให้ตนดูดีกับการพูดให้คนอื่นดูเลวลง อย่างไหนดีกว่ากัน ?
แนวทางนี้ไม่ใช่แนวทางสร้างสรรค์ของมนุษย์ปกติบนโลกนี้ ไม่สามารถตอบได้จ้ะ
13.หากมีนายกพระราชทานแต่พรรครัฐบาลและฝ่ายค้านยังเป็นพรรคเดิม จะมีการต่อต้านอยู่อีกไหม?
ในครั้งนี้ หากมีนายกพระราชทาน ( ซึ่งไม่น่าจะเกิด ) น่าจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน
14.หากฝั่งหนึ่งพูดว่ารัก แปลว่าอีกฝั่งหนึ่งจะไม่รักใช่ไหมครับ
อันนี้เป็นเทคนิคของไอ้ลิ้ม ในการดึงคนอื่นเข้ามาเป็นพวก โดยอ้างสถาบันเป็นเครื่องมือ
15.กระแสรักในหลวงใครเป็นผู้เริ่มครับ และใครเป็นผู้นำมาใช้ทำลายฝ่ายตรงข้าม
ตอบแล้วในข้อ 14
16.บ่อเกิดของความแตกแยกเกิดจากอะไร แล้วจุดจบของความแตกแยกจะจบลงได้อย่างไร ?
เริ่มจากการแบ่งแยกสีของสนธิลิ้ม เมื่อสามัคคีในกลุ่มเล็กก็เท่ากับว่าแบ่งแยกออกจากกลุ่มใหญ่ การจบลง คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางหนึ่งทิศทางใดอย่างสมบูรณ์ ไม่มีการกั๊กไว้กับที่แน่นอน
17.ทำไมประชาธิปไตยในโลกตะวันตกแสดงศักยภาพได้เต็มที่ ทั้งๆที่ระบอบการปกครองก็เหมือนกัน ?
เพราะไม่มีการแทรกแซงจากใครบางคนที่มีอำนาจเกินกว่าจะกล่าวถึง..
19.เมื่อข้าราชการทางการเมืองทำผิดแล้วลาออกหรือยุบสภา ข้าราชการที่ทำความผิดนั้นไม่ต้องถูกดำเนินคดีหรือ ?
ถ้ามีความผิดทางอาญาก็โดนเหมือนกัน แต่การให้ออกจากตำแหน่งทางการเมืองก็ถือว่าเป็นความผิดร้ายแร้วจ้า..
มาเร็ว.. เคลมเร็ว ราตรีสวัสดิ์ จ้า 
