1. คำพิพากษาศาลฎีกา 1131/2536 ไม่ได้บอกสักคำเลยว่า คตส. ปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่กล่าวถึงว่า ขัด รธน. แต่ คุณกำลังบอกคนอ่านกระทู้ว่า สิ่งที่ ศาลยกฟ้อง รตอ. เฉลิม แปลว่า คตส. ชุด คปค. เอาผิดได้ใช่หรือไม่
ตอบ- คุณสับสนแล้ว ฏีกาที่ผมยกมานั้น ชี้ให้เห็นประเด็นชัดเจนว่า การที่รัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครอง ได้ประกาศรับรอง ประกาศคำสั่งของ รสช ไว้ในตัวรัฐธรรมนูญเองนั้น ศาลวินิจฉัยว่า รับรองให้เป็นเพียงกฏหมายเพื่อใช้เท่านั้น แต่มิได้รับรองให้ประกาศคำสั่งของรสช สามารถจะมาขัดแย้งกับตัวรัฐธรรมนูญเองได้
ฉันใด ก็ฉันนั้น มาตรา 309 ก็รับรองประกาศ คปค ให้เ็ป็นกฏหมายใช้ได้ แต่มิใช่ให้มาขัดแย้งกับรัฐธรรมนูฯเองได้ ไม่สามารถจะขัดแย้งกับรธน มาตรา 39 ที่บัญญัติสให้คนที่ทำผิดอาญาต้อรับผิดได้ หากคตส ทำผิดอาญาจึงต้องรับผิด ไม่สามารถยกเว้น
ที่ผมยกฎีกานี้มาก็เพื่อจะเปรียเทียบเรื่องนี้กับมาตรา 309 ที่คนมักจะเข้าใจผิดกัน ไม่ได้ยกมาอ้างเอาผิด คตส ของ รสช คุณกลับไปอ่านที่ผมโพสต์ให้ดีๆ
2. ยังไม่มีคำพิพากษาศาลไหนเลยที่ พิพากษาว่า คตส. ชุด คปค. มีความผิด แต่ ถามคุณว่า คตส. ชุดนี้สามารถเอาผิดใช่หรือไม่
ตอบ ก็นั้นนะสิ ผมก็ไม่ได้ว่า คตส ชุด รสช ผิดนิคุณ คุณอ่านที่มผอธิบายแมวน้ำสีครามไว้ข้างล่างด้วย คตส ของ รสช จะผิด หากมีการกระทที่เจตนาจะปฏิบีติเพื่อให้ผู้อื่นเสียหาย หรือเจตนฟ้งศาลว่าผู้อื่นกระทำผิอาญาด้วยคสวามเท็จ หลักนี้ ก็สามารถนำมาใช้กับ คตส ของ คปค ด้วย
3. การที่คุณกล่าวงอ้าง ฎ. แล้วมาเปรียบเทียบกับ 309 คุณนั้นแหละที่ผิด เพราะ การเอา ฎ. มาใช้ ต้องมีคดีที่มึมูลเหมือนกัน องค์ประกอบของคดีที่เหมือนกัน ฎ. ไม่สามารถเอาคดีที่ฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วย มีด ที่มีองค์ประกอบของคดีเดียวกัน แต่ คดีอีกคดีนั้น เป็นการใช้ปืน การที่คุณกล่าวอ้าง คดีที่ องค์ประกอบคดีต่างกัน แล้วมาชวนเชื่อว่า คำพิพากษาต้องมาแนวเดียวกันนั้นมันถูกต้องแล้วหรือ
ตอบ ผมอ้างถูกในบริบทเดียวกัน ในเรื่องที่ธรรมนูญการปกครอง 2534 รับรองประกาศ รสช ว่าชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้รับรองว่าประกาศคำสั่ง รสช จะสามารถขัดรธน เองได้ ผมอ้างฏีกา มิใช่เรื่องจะเอาผิดอาญา คตส นะคุณ คุณสับสนหรือเปล่า ประเด็นอยู่ที่ คตส ไม่ว่าจะรสช หรือคปค จะกระทำผิดอาญาในระหว่าปฏิบัติหน่าที่มิได้ เพราะรัฐธรรมนูญทุกฉบับระบุว่าเป็นความผิด
4. ฏ. 1131/2536 ใช้บรรทัดฐานการพิจารณาคดีจากขณะนั้น ศาลยุติธรรม ที่มีศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา แตกต่างจากปัจจุบัน ที่มีศาลเดียว คือ ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาฯ คุณใช้บรรทัดฐานเดียว กับ สิ่งที่ใช้คนละบรรทัดฐานใช่หรือไม่
ตอบ คุณยกมาคนละเรื่องครับ ศาลฏีกาอธิบายเรื่องนี้ไว้แล้วยาว คุณไปอ่านดูเอง ศาลอธิบายไว่เป็นขั้นตอน มแต่เรื่องที่ว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ส่งเรื่องนี้ให้ตุลาการรัฐธรรมนูญ
5. การที่คุณกล่าวอ้าง คดีที่ศาลฎีกา ใช้ บรรทัดฐาน จาก รธน. 2546 มา เป็น บรรทัดฐานในการพิจารณาคดีเดียวกับ รธน. 2550 ที่ ตัว รธน. เกี่ยวพันกับ ประกาศ คปค. และ รธน. 2549 นั้น คุณทำถูกต้อง และใช้มูลคดี และบรรทัดฐานของการพิจารณาคดีเดียวกันหรือไม่
ตอบ คุณกำลังพูดถึงเรื่องอะไรครับ ผมกำลังถกเรื่อง ประกาศคำสั่ง ของคปค ไม่สามารถขัดแย้งมาตรา 39 ที่บัญญัติว่า บุคคลต้องรับผิดทางอาญาหากระทำผิดอาญา ดังนั้น หากคตส กระทำผิด ก็ต้องรับผิด นี้คุณจะพูดเรื่องอะไรหรือ
6. ฎ. 1131/2536 อ้างการพิพากษาคดีเรื่องการไม่มีตุลาการรัฐธรรมนูญ แตกต่างจาก ปัจจุบัน ที่ คมช. ยังคงไว้ ดูคำพิพากษา ฉบับเต็มได้ที่นี่ กรุณาคลิก คุณใช้บรรทัดฐานเดียวกันกับ การมีศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตอบ คุณกลับไปอ่านคำพิพากษาให้ดีดีกว่าครับ
7. คำพิพากษา ศาลยุติธรรม ที่มีสามระดับ ที่พิจารณา กับ คำพิพากษาศาลเดียว คือ ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คุณใช้อะไรมาเป็นบรรทัดฐาน
ตอบ เรื่องที่คุณถามมานี้ นอกประเด็นไปไกลแล้วครับ ผมจะตอบหทีหลัก ไม่เช่นนั้นกระทู้และประเด็นนี้จะยาวยืดแน่
8. เรื่อง ฎ. 1131/2536 ที่ใช้ รธน. 2534 มาเป็นคำตอบ เรื่องยกฟ้อง รตอ. เฉลิม กับ รธน. 2550 ที่เกี่ยวเนื่องกับ 2549 ที่ปกป้อง คตส. คุณเอาอะไรมาเป็นบรรทัดฐาน เพื่อการเปรียบเทียบ
ตอบ ตอบซ้ำเช่นเดิม รธน 2550 และ 2549 ไม่อาจจะปกป้องคตส ได้อย่างที่คุณเข้าใจผิดตีความผิด กรุณาอ่านกระทุ้ข้างล่างที่เพิเงโพสต์ดู http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11764926/P11764926.html
9. คุณพิพากษา แทนศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งฯ กรณี คตส. ของ ปคป. ที่ใช้ wording ของ ประกาศ ปคป. ที่ 30 รธน. 49 และ รธน. 50 โดนกล่าวอ้าง คำพิพากษา ศาลยุติธรรม ได้อย่างไร ทำไม คุณเอา ฎ1131/2546 มาทำให้คนในห้องนี้ เชื่อว่ามันเหมือนกัน
ตอบ คุณกำลังพูดเรื่องอะไรหรือ คุณอธิบายเพิ่มสักนิดว่าคุณกำลังพูดเรื่องอะไร
10. คดีเรื่อง คตส. กระทำการแล้วเป็นโมฆะ หรือ คตส. มีความผิดตามกฎหมาย หรือ ไม่สามรถแตะต้อง ฟ้องร้องได้ ทั้ง ๆ ที่คดียังไม่เกิด คุณคิดว่า ศาลจะพิจารณาคดี แบบที่คุณคิดได้อย่างไร คุณรู้อนาคต หรือ ว่า คุณรู้ความคิดของผู้พิพากษา คนไหนครับ
ตอบ คดีอะไรคดีไหนที่ยังไม่เกิด? คุณพูดถึงคดีอะไรของคุณ? ผมรู้แต่ว่าแนวฏีกานั้น ยืนยันว่า ประกาศคณะรัฐประหารไม่ว่าจะคณะใด เป็นเพียงกฏหมายทั่วไป ที่มิอาจจะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญได้ครับ
สรุป
หากคุณคิดว่า ประกาศคณะรัฐประหารฉบับใด สามารถจะขัดแย้งรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในเวลานั้นได้ ก็กรุณายกมาให้ดูด้วยครับ ไม่เช่นนั้น คุณก็อย่าฝืนให้วุ่นวาย จิตบรรเจิดคิดเลยเถิดไปเองแบบนี้ ไปเลยครับ
เพราะรัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายสูงสุดครับ กฏหมายฉบับใด ประกาศคณะรัฐประหารไม่ว่าฉบับใด ก็มิอาจจะขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ครับ มีแต่เวลาเดียวที่ประกาศคณะรัฐประหารจะขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ นั้นก็คือ เวลาที่ตัวรัฐธรรมนูญเองถูกยกเลิกไป แต่เมื่อมีรัฐธรรมนูญใช้อยู่ ประกาศคณะรัฐประหารทุกฉบับ ก็ตกสภาพเป็นกฆมายทั่วไป มิอาจจะมาขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้
ขอให้คุณเข้าใจหลัพื้นฐานนี้ของกฏหมายเสียก่อน

.
แก้ไขเมื่อ 28 ก.พ. 55 09:09:39