จากกระทู้ คุณ นพนครพิงค์ และความเห็นจากอีกหลายๆท่าน ใน กรณี คุณ สนธิ ลิ้ม
พอทำให้เข้าใจได้ว่า คดียังไม่สิ้นสุดเป็นการใช้สิทธิประกันตัวเพื่อต่อสู้คดี
จึงอยากนำมาเป็นเรื่องสนทนาที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากเรี่องนึง
กรณีนี้ทำให้มองได้ว่าขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเอง เป็นตัวขัดขวางการลงโทษผู้กระทำความผิด
เมื่อเป็นความผิดที่เกิดขึ้นจริงโดยมีหลักฐานที่เพียงพอประกอบในการพิจารณาตัดสินความผิด
ประกอบกับ การยอมรับของผู้ที่กระทำความผิด
กรณีนี้ผู้ที่กระทำความผิดน่าจะถือว่าเป็นนักโทษที่โดนตัดสินความผิดแล้ว
ไม่ใช่เป็นผู้ต้องสงสัยที่ยังไม่ถูกตัดสิน การต่อสู้ใดๆต่อไปในศาล
ซึ่งกรณีนี้ คุณ นพนครพิงค์กรุณาชี้ว่าเป็นการต่อสู้เพื่อขอลดโทษ
ควรต้องต่อสู้ในฐานะนักโทษจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องกว่าในกระบวนการยุติธรรม
ไม่มีความรู้ด้านนี้ ไม่แน่ใจว่าประเทศอื่นๆ กฎหมายกรณีนี้เป็นอย่างไร
ผมจึงมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ของกระบวนการยุติธรรม
เพราะกลายเป็นว่า ขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมกลับถูกนำมาใช้ขัดขวางการลงโทษ
ผู้กระทำความผิดที่ถูกตัดสินโดยกระบวนการยุติธรรมเอง
ทำให้ผมสนใจเรื่องหลายๆวันก่อนที่มีน้องนักศึกษาอดข้าวประท้วง
ซึ่งตอนแรกไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้เลยไม่ได้สนใจมากนัก แต่พอมีกรณีคุณ สนธิ ลิ้ม
จึงทำให้สงสัยว่าทั้งที่ยังไม่มีการตัดสินตัดสิน แต่กลับถูกลงโทษเหมือนเป็นนักโทษแล้ว
จึงเห็นว่าเรื่อง 2 กรณีนี้น่าจะเป็นอีกเรื่องนึงที่ต้องมีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง
ถึงกระบวนการยุติธรรมที่เราใช้อยู่ว่าขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเองถูกต้องดีพอหรือไม่
ไม่เช่นนั้นจะเกิดคำถามในลักษณะนี้ขึ้นในสังคมอยู่ตลอดเวลา
และผู้ที่กระทำความผิดก็จะสามารถนำขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมมา
ขัดขวางการรับโทษจากการตัดสินจากกระบวนการยุติธรรมเอง
สุดท้าย ขอฝากความเห็นนึงครับ เพื่อการก้าวเข้าสูู่ความปรองดองของชาติ
"เมื่อทำผิดก็ต้องรับโทษ สิทธิ์การต่อสู้ทางกระบวนการยุติธรรมต้องทำในฐานะนักโทษ"
คิดใหม่ทำใหม่เถอะครับ ไม่อย่างนั้นขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมของเราเองนั่นแหละครับ
คือเครื่องมือของโจรครับ ยังไงรบกวนท่านที่มีความรู้ร่วมสนทนาและช่วยแนะนำชี้แนะครับ
ต่อจากกระทู้
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11767449/P11767449.html
และขอบคุณ กระทู้คุณ นพนครพิงค์ และคุณ โบกกรัก ที่ให้ความรู้ด้วยครับ
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11767962/P11767962.html