กรณีสองพี่น้องชกต่อยทำร้ายร่างกายวรเจตน์นั้น จนหน้าตกฟกช้ำให้เห็นนั้น อาจจะเป็นความผิดที่ฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายอาญาได้ในมาตราใดมาตราหนึ่งในสองมาตราคือ 295 หรือ 391(ลหุโทษ ซึ่งมีโทษเบา) ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาพร่างกายและบาดแผลว่าบาดเจ็บมากน้อยเพียงไร มิใช่ว่า จะผิดในมาตรา 295 แต่มาตราเดียว ตามที่สมาชิกบางท่านเชื่อ
มาตรา ๒๙๕ ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๙๑ ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( ถือเป็นลหุโทษ)
การวินิจฉัยว่าถูกทำร้ายเพียงไร จึงจะถือว่า เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามาตรา 295 นั้น ที่เป็นที่รู้กันคือ หากผิวหนังฉีกขาดถึงกับต้องเย็บ แบบนี้จะถูกวินิจฉัยว่ามีอันตรายต่อกายตามาตรา 295 แต่หากไม่มีแผลแตกเย็บ ลำพังถลอก ฟกช้ำนี้ จะเป็นอันตรายแก่กายตามาตรา 295 หรือไม่ หรือเป็นเพียงความผิดลหุโทษ 391 จึงขอให้สมาชิกพิจารณาจาก แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกา ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 889/2507 ใช้มีดดาบแทงทำร้ายถูกชายโครงซ้ายมีรอยช้ำแดงโตกลมครึ่งเซนติเมตร รักษาประมาณ 5 วันหาย นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย จึงผิดเพียงมาตรา 391 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 703/2506 การทำร้ายแค่ไหนจะถือว่าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ กายหรือจิตใจตาม มาตรา 295 แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่นั้น จำต้องพิจารณาถึงการกระทำของจำเลยและบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับประกอบกัน
จำเลยเพียงแต่ใช้เท้าเตะและใช้มือตบผู้เสียหาย มิได้ใช้อาวุธทำร้ายผู้เสียหายได้รับบาดแผลเพียงฟกช้ำเท่านั้นและรักษาเพียง 5 วันก็หายยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 คงเป็นผิดตามมาตรา 391 เท่านั้น |
คำพิพากษาฎีกาที่202/2510 รอยบาดเจ็บเพียงโหนกแก้มถลอกโตกลมประมาณ 3 เซ็นติเมตร เข่าบวมโตกลมประมาณ 5 เซ็นติเมตร ข้อศอกหนังถลอกโตกลมประมาณ 5 เซ็นติเมตร รักษาประมาณ 4 วัน ยังไม่เป็นอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390 ( มาตรา 390 ทำให้เกิดอันตรายแก่กาย โดยประมาท)
|
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2507
จำเลยเตะและถีบทำร้ายร่างกายนายสุพรรณมีฐานแผลคือ 1. ที่ดั้งจมูกมีแผลถลอกเล็กน้อยเท่าเมล็ดข้าวเปลือก 2. หางคิ้วซ้ายถลอกเล็กน้อย และ 3. ที่ใบหูขวาช้ำเล็กน้อย ทั้ง 3 แผลนายแพทย์ประมาณว่ารักษา 2 วันหาย และโจทก์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ศาล ชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 แต่เห็นว่าจำเลยไม่ได้ใช้อาวุธ เป็นแต่ใช้กำลังทำร้ายและบาดแผลเพียงถลอกเล็กน้อยรักษาเพียง 2 วันก็หาย ไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กาย เป็นความผิดตามมาตรา 391 ลงโทษปรับ ศาลฎีกาพิพากษายืน
คำพิพากษาฎีกาที่2192/2539
ต้องอาศัยพยานแวดล้อมมาฟังประกอบคำเบิกความของผู้เสียหาย ผู้เสียหายมีบาดแผล ที่ใบหน้าบริเวณโหนกแก้มขวาบวมช้ำเขียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ3เซนติเมตร มีรอยถลอกเป็นทาง1เซนติเมตรที่บริเวณเขียวช้ำตามร่างกายไม่พบบาดแผลบาดเจ็บที่ใบหน้าจากของแข็งไม่มีคนใช้เวลารักษาประมาณ10วันหายถ้า ไม่มีโรคแทรกซ้อนลักษณะของการกระทำและบาดแผลดังกล่าวไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
คำพิพากษาฎีกาที่ 330/2535
การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่เป็นความผิดทำร้ายร่างกาย ผลการชันสูตรบาดแผลของแพทย์มีความเห็นว่ามีรอยบวมเล็กน้อยที่ขมับด้านซ้าย บาดแผลรักษาหายภายใน3 วัน เป็นความเป็นผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 (ลหุโทษ)
ดังนั้น เรื่องนี้จึงต้องพิจารณาจากบาดแผลจากใบชัณสูตรบาดแผล และความเห็นแพทย์ประกอบว่า การบาดเจ็บนั้น จะไปเข้าข่ายมาตราใด จึงอย่าเพิ่งไปคาดหวังให้ศาลลงโทษให้หนักในมาตรา 295 และพหากศาลไม่ลงโทษในมาตรา 295 ก็อย่าไปเกิดความเข้าใจผิดต่อศาล เพราะการทำร้ายร่างกายไม่ใช่จะต้องผิดมาตรา 295 เสมอไป ดังนั้น คดีนี้ ต้องดูข้อเท็จจริงของบาดแผล อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่า กลายเป็นมองศาลในแง่ไม่ปกติเอาอีก

.
แก้ไขเมื่อ 02 มี.ค. 55 16:55:49
แก้ไขเมื่อ 02 มี.ค. 55 16:11:32