Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
+++++ เห็นด้วยกับเรื่อง ปรส. หากพบการกระทำผิด ควรรีบส่งฟ้องโดยเร็วก่อนหมดอายุความ +++++ ติดต่อทีมงาน

เพราะผู้กระทำควาผมิดควรได้รับการลงโทษ เพียงแต่ขอให้มีผู้กระทำความผิดจริง ซึ่งเรื่องนี้คนทั่วไปมักคิดว่า จะต้องมีผู้กระทำทุจริตจริงแน่ๆ เพราะราคาประมูลที่ปรส ได้มา มันต่ำมากผิดวิสัยและความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อมองแบบเผินๆ

แต่หากได้มีการกระทำผิดอาญาอย่างชัดแจ้งจริง ทำไมจึงใช้เวลานานนักในการสอบสวนหาความผิด เพราะปรส. หรือ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน มีการดำเนินงานที่ถูกกล่าวหาว่าอาจมีการทุจริตในช่วงปี 2540-2541 และองค์กรทำงานจนบรรลุหน้าที่และปิดตัวลงในสมัยทักษิณในปี 2545 โดยในช่วงปี 2545-2549 คุณทักษิณและพรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาล หากการกระทำผิดอาญามีจริงและเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดๆอย่างที่เรารู้สึกกัน และที่มีคนพยายามนำเสนอ ว่าทุจริตขายชาติอย่างโจงแจ้งนั้น หากเป็นเช่นที่ว่าจริง ทำไมเรื่องจึงไม่เสร็จและไม่สั่งฟ้องกันตั้งแต่สมัยคุณทักษิณเป็นรัฐบาล

คำตอบคือ การทุจริตจะมีจริงหรือไม่ยังอาจจะต้องรอการพิสูจน์ เพราะลำพังการที่ปรส ขายสินทรัพย์และหนี้จาก ได้มูลค่าน้อย มิได้หมายความว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นทั้งนี้เพราะ 1.มูลค่าดังกล่าวเป็นมูลค่าของหนี้และทรัพย์ที่ถูกปั่นขึ้นในยุคฟองสบู่ ซึ่งมีการปั่นราคาจนทำให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์และหุ้นสูงเกินจริงไปมากมาย 2.ทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ปรส.รับมาจากสถาบันการเงินที่ถูกปิดตัวลงไปนั้น จะอย่างไรก็ไม่มีทางขายออกได้ราคา เพราะย่อมถูกมองเป็นของเน่าสำหรับนักลงทุน และในเวลานั้นเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงวิกฤติ มีการลดค่าเงินบาทและขอความช่วยเหลือจากไอเอมเอฟ คนไทยเองแทบไม่มีกำลังจะมาซื้อทรัพย์สินหรือหนี้สินเหล่านี้เอง ต่างชาติเองก็มองว่าหากมาลงทุนซื้อหนี้สินทรัพย์สินเหล่านี้ จะขายได้กำไรได้อย่างไร เพราะระบบเศรษฐกิจไทยยังวิกฤติ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้เสนอราคาสูง

ดังนั้น ลำพังการดูยอดเงินที่ว่า ทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท นั้นย่อมเป็นการทุจริต หลักฐานเพียงแค่นี้ จึงไม่เพียงพอที่จะฟ้องรัองเอาผิดทางอาญาได้ เพราะมูลค่า851,000 ล้านบาท เป็นมูลค่าที่ถูกปั่นขึ้น ในความแท้จริงที่ไม่มีการปั่นมูลค่านั้นอาจมีเพียงแค่ 4-6 แสนล้านเท่านั้น และผู้ที่จะซื้อต่อย่อมต้องกดราคา เพื่อขายต่อใหได้กำไร ดังนั้น การเสนอซื้อ ย่อมต้องต่ำกว่า 4-6 แสนล้าน ซึ่งอาจจะมาตกที่ 2-3 แสนล้าน เพื่อขายต่อตามราคาตลาด ให้ได้กำไร ( ตัวเลขที่ยกมานี้เป็นเพียงการสมมุติ เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ในเวลานั้น)

การทุจริต จึงต้องดูในข้อเท็จจริงแห่งพฤติการณ์ว่า ได้มีการใช้อำนาจหน้าที่ที่มี เพื่อเปิดช่องให้มีการประมูลในลักษณะที่ไม่ชอบหรือไม่ มีการเอาความลับไปให้เอกชนเพื่อตั้งราคาประมูลให้ต่ำหรือไม่ ฯลฯ ทีเป็นสิ่งที่เจ้าพนักงานจะต้องไม่กระทำหรือไม่การประมูลหนี้เสียรวมกับหนี้ดีทำให้ได้ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นจริงแท้แน่หรือ (ประเด็นนี้ ปรส แจงว่าขายคละกันจะได้ราคาดีกว่า และปรสต้องการให้ทำรวดเร็ว โดยแจ้งว่า ตอนนั้นดอกเบี้ย 20% หากทำช้ายิ่งแย่ลงเพราะการเสื่อมราคา เรื่องที่ปรส แจงมานี้ เท็จจริงคงต้องพิสูจน์กัน ) หรือที่สงสัยว่า ปรส. กันไม่ให้บบส. มารวมประมูลด้วย(ประเด็นนี้ ปรส แย้งว่า บบส.มีสิทธิเข้าประมูลจริง  แต่ บบส. ไม่ใช้สิทธิ เพราะไม่มีเงินพอในช่วงนั้น มีเงินทุน 1 พันล้านบาทในเวลานั้น จนปลายปีมีเงินทุนเพิ่มเป็น 9 พันล้านบาท เพิ่งมาใช้สิทธิก็ไม่ทันการประมูลเสร็จไปแล้ว)

ในเวลานั้น ฟองสบู่แตก ระบบเศรษฐกิจไทยวิกฤติอย่างหนัก ต้องลดค่าเงินบาท รัฐบาลชวลิตต้องขอความช่วยเหลือจากไอเอมเอฟต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลชวน สถาบันการเงินถูกปิดลง 56 แห่ง ทรัพย์สินและหนี้สินของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่งนี้ จะถูกแช่แข็งไม่สามารถทำอะไรได้ จนมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ รัฐบาลในเวลานั้น จึงออก พรก จัดตั้งปรส เพื่อมาดูแลจัดการทรัพย์สินหนี้สินของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่งนี้ ซึ่ง พรก การจัดตั้งปรส นี้สุดท้ายได้รับการรับรองจากสภาจนเป็นกฎหมายใช้ได้ต่อเนื่อง นั้นแสดงว่าสภาในเวลานั้น เห็นด้วยกับวิธีจัดการหนี้และทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ต้องปิดตัวลง ด้วยการจัดตั้งปรส.

แม้ว่าการทำงานของปรส จะไม่ประสพผลสำเร็จยิ่งใหญ่อะไร แต่ในแง่มุมหนึ่ง ก็สามารถนำทรัพย์และหนี้ของสถาบันการเงินเหล่านั้นมาเคลียร์ออกไปได้บ้าง แทนที่จะถูกแช่แข็งและรอวันเสื่อมราคาลงไป และทำให้ระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องคือธนาคาร เจ้าหนี้ ลูกค้าของสถาบันการเงินเหล่านั้น ได้รับการชดเชยไปบ้างแม้จะไม่มากนัก แต่ประเทศไทยก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้

ดังนั้น หากพนักงานสอบสวน พบว่ามีการทุจริตการประพฤติมิชอบจริงก็สมควรเร่งสั่งฟ้องก่อนหมดอายุความให้ได้  แต่ทุกท่านก็ต้องเข้าใจพนักงานสอบสวนด้วยว่า หากหลักฐานมันไม่มีเพราะปรส ทำไปตามหน้าที่โดยสุจริต การขายได้ราคาต่ำ เกิดจาก แรงกดดันตามสภาพความเป็นจริงในเวลานั้น ที่ไม่มีทางที่หนี้หรือทรัพย์จากสถาบันที่ถูกปิด ซึ่งย่อมถูกมองว่าเป็นของเน่าที่ไม่สามารถให้ราคาได้ ยิ่งผู้ที่จะซื้อจะต้องมาขายต่อในระบบเศรฐกิจไทยที่กำลังมีปัญหา เช่นนี้ก็ไม่มีทางจะให้ราคาได้สูง ทำให้การประมูลได้ราคาน้อย เช่นนี้ พนักงานสอบสวนก็คงระวังตัว ไม่กล้าส่งฟ้องหากหลักฐานที่เกี่ยวกับการทุจริตมันไม่มี เพราะจะโดนเขาฟ้องกลับได้นั้นเอง

ก็เป็นการมองจากมุมหนึ่ง




จากคุณ : thyrocyte
เขียนเมื่อ : 5 มี.ค. 55 10:18:13 A:58.137.0.146 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com