ผู้ตรวจฯ ชี้ นลินี-ณัฐวุฒิ นั่ง รมต.ไม่ผิด แต่นายกฯ ไม่รอบคอบ ตั้งคนติดแบล็กลิสต์-ผู้ต้องหาก่อการร้ายเป็นรัฐมนตรี ทำเสื่อมเสียเกียรติภูมิชาติ-ปชช.ไม่เชื่อถือศรัทธา ส่งหนังสือถึง ยิ่งลักษณ์ ให้พิจารณาใหม่ใน 30 วัน พร้อมจี้ปรับปรุงหลักเกณฑ์-คุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีครอบคลุมถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมด้วย
กรณีร้องเรียน นายณัฐวุฒิ ที่เคยเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ หรือ นปช. ข้อเท็จจริงพบว่า ถูกตั้งข้อหาร้ายแรงในคดีก่อการร้าย และขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งทางผู้ตรวจฯ เห็นว่า ข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลทั้งสอง เกิดขึ้นและเป็นการกระทำก่อนที่บุคคลดังกล่าวจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง 2551 จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมตามระเบียบ จึงวินิจฉัยให้ยุติการพิจารณา
สำหรับกรณีร้องเรียน นายอำพน ตามข้อเท็จจริงพบว่า เลขาธิการคณะรัฐมนตรีทำการตรวจสอบประวัติผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้ง โดยยึดตามแบบแสดงประวัติผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย (แบบ รมต.1) และแบบแสดงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีใช้ตรวจสอบและรับรองตนเอง (แบบ รมต.2) เท่านั้นและถือปฏิบัติเช่นนี้มาโดยตลอด ผู้ตรวจฯ การจึงเห็นว่าไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการตรวจสอบคุณสมบัติของนางนลินีและนายณัฐวุฒิเลขาฯ ครม.ปฏิบัติแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติมาจึงให้ยุติเรื่อง
ผู้ตรวจฯ ได้แยกการพิจารณาการดำเนินการทางกฎหมายและจริยธรรมออกจากกัน ซึ่งหากมองจริยธรรมทางลึกแล้วไม่ถึงขั้นเป็นความผิดร้ายแรงที่ต้องส่งให้กับทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถอดถอน แต่อาจจะเพราะนายกฯ ไม่รอบคอบเพียงพอในการแต่งตั้งบุคคลทั้ง 2 เป็นรัฐมนตรี โดยลืมดูไปว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 279 บัญญัติให้การตั้งบุคคลต้องคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรม ทางผู้ตรวจฯ จึงจะมีหนังสือให้นายกฯ ไปพิจารณาการแต่งตั้งบุคคล 2 ให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ แล้วแจ้งให้ทางผู้ตรวจทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากนายกฯ นิ่งเฉย ตามขั้นตอนทางผู้ตรวจฯ ก็ต้องทำหนังสือเตือน และต่อไปก็ทำรายงานต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
เมื่อถามว่าการให้นายกฯ พิจารณาการแต่งตั้งบุคคลทั้งสองเป็นรัฐมนตรีมีความหมายถึงการให้บุคคลทั้งสองออกจากการเป็นรัฐมนตรีใช่หรือไม่ นางผาณิตเลี่ยงที่จะตอบ โดยกล่าวเพียงว่า ให้นายกฯ พิจารณา ซึ่งผู้ตรวจฯ อยากให้การแต่งตั้งบุคคลที่จะเข้าไปใช้อำนาจรัฐทุกตำแหน่งเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 279 วรรคสี่บัญญัติไว้ และอยากให้ถือว่าการพิจารณากรณีนี้เป็นบรรทัดฐานให้รัฐบาลถือปฏิบัติในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในคราวต่อไป
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000029805
สรุปก็คือ ไม่ผิด แต่ตรูจะหาเรื่องให้ได้ ว่างั้นเหอะ
