Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
+++++การนำคำวินิจฉัยศาลฎีกามาใช้ในคดี หรือการอ้างฎีกา เขาไม่ได้อ้างโดยยกอ้างมาทั้งคดีนะครับ คุณโบกกรัก +++++ ติดต่อทีมงาน

ขอแยกเป็นอีกกระทู้จากกระทู้ที่ถามคุณโบกกรักเรื่อง เอาอะไรมาอ้างว่า มาตรา 37 ถูกคุ้มครองด้วยมาตรา 309 เพื่อไม่ให้กระทู้ยาวและเกิดการสับสน เนื่องจากคุณโบกกรักไปโพสต์ในกระทู้ว่า

คุณโบกกรักโพสต์ว่า ....“ผมกำลังพูดถึงว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ หรือ ศาล รธน. ไม่สามารถเอาคำพิพากษาคดีแพ่ง มาเป็นฐานการรับฟ้องคดีของ คตส. ในคดีอาญาได้ ศาลต้องหยิบ คำพิพากษาศาลอาญา คดีที่ "เหมือนกัน" หรือ กม. อาญา ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณารับฟ้อง ทั้งนี้ การรับฟ้องนั้น จะต้องไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่มีผลบังคับใช้ใน ณ วันฟ้องนั้น”

คุณโบกรักครับ ไม่มีใครจะเอาแนวคำวินิจฉัยในฎีกา 1131/2536 มาอ้างว่าเพื่อใช้เป็นฐานการรับฟ้องคดีของ คตส. ในคดีอาญาได้ เพราะการที่คตส จะผิดหรือไม่ผิด มันไม่ได้ตัดสินตอนรับฟ้องนะครับคุณ ตอนรับฟ้องนะเขาเอามาตรา หลักฐานที่พอจะมีฟ้อง มาฟ้องครับ และคตส ก็ถูกฟ้องไปแล้วด้วยนะครับ โดยไม่ต้องอ้างฎีกาใดๆ เพราะการจะฟ้องนั้นเขาไม่ใช้ฎีกากันหรอกครับ เขาใช้มาตราความผิด เรื่องคตส.นี้นะ  ฟ้องกันจนเรื่องขึ้นไปชั้นอุทธรณ์แล้ว เพียงแต่มีการฟ้องกันผิดศาล

การอ้างแนวคำวินิจฉัยของศาลในฎีกา 1131/2536 เรื่องการรับรองของรัฐธรรมนูญต่อประกาศคณะรัฐประหารนั้น จะมีการใช้เมื่อมีการพิจารณาคดีแล้ว น่าจะเป็นในขั้นตอนเกือบสุดท้ายที่จะพิจารณาผิดถูกนั้นแหละ หลังจากมีการนำสืบนำอ้าง นำอ้างถึงกฎหมาย ประกาศคณะปฎิรูป ข้อกฎหมายอื่นๆอีกมากที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ แน่นอนในขั้นตอนหนึ่ง ผู้ถูกฟ้องคือคตส อาจพยายามหาช่องทางเอาตัวรอดโดยอาจจะพยายามอ้าง ว่าประกาศคณะปฏิรูปบัญญัติไว้ไม่ให้ต้องรับผิดแม้จะกระทำผิด อย่างที่คุณกำลังอ้างอยู่ทุกวินาทีนี้

( แต่ในความเป็นจริงแล้ว คตส. ตัวจริงเสียงจริงที่มีตัวมีตนอยู่จริงๆในเวลานี้ ต่างล้วนยอมรับว่า คตส.เองมีสิทธิจะมีความผิดหากกระทำผิด และมีสิทธิถูกฟ้อง และในความเป็นจริง คตส นะถูกฟ้องไปแล้ว แต่เรื่องไม่คืบหน้าเพราะเป็นการฟ้องผิดศาล โดยศาลอุทธรณ์วินิฉัยให้นำคดีไปศาลฏีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะคตส เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามพรบ.ปปช. ดังนั้น การฟ้องร้องคตส ว่าผิดอาญานั้น ทำได้ และไม่ต้องอ้างฎีกาอะไรให้วุ่นวาย )

จนเมื่อ คตส ตัวปลอม(ตัวอย่าง) พยายามยกประกาศคณะปฏิรูปมาอ้างเพื่อให้ไม่ต้องรับผิดนั้นแหละ  ศาลจึงจะนำประกาศและรัฐธรรมนูญที่จำเลย(คือคตส. ตัวปลอม)ยกมา มาวินิจฉัยไปตามแนวฎีกา 1136/2536 เพื่อให้ไม่ขัดแย้งกับแนวพิพากษาเดิม นั้นคือ การรับรองของรัฐธรรมนูญต่อประกาศคณะรัฐประหาร รับรองเพียงให้ใช้เป็นกฎหมายได้ทั่วไปโดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มิได้รับรองให้สามารถจะขัดกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่กำลังใช้อยู่ได้

(ศาลไม่วินิจฉัยให้แตกต่างไปจากแนวฏีกาเดิมหากสภาพสังคมยังเหมือนเดิม เพราะจะเกิดความสับสนแก่ระบบกฎหมายว่า ทำไมในคราวหนี่ง ศาลถือว่าประกาศนี้ละเมิดรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่มาอีกคราวหนึ่ง ศาลให้ประกาศละเมิดรัฐธรรมนูญได้ แบบนี้ระบบกฎหมายจะเกิดความสับสน สังคมจะเกิดความสับสน)

เรื่องที่คุณยกมาว่า เอาแนวคำวินิจฉัยในฎีกาคดีแพ่ง มาเป็นฐานการรับฟ้องคดีของ คตส. ในคดีอาญาได้ น่าจะเกิดจากการที่คุณเข้าใจผิดครับ ไม่มีการใช้ฎีกาที่ว่าคือ 1136/2536 ในขั้นตอนการรับฟ้องหรอกครับ  เพราะในฎีกานั้น ไม่ได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องการรับฟ้องนะครับคุณ ฎีกานั้นใช้วินิจฉัยในขั้นตอนการพิจาณาเรื่องต่างๆมาประกอบกันแล้วจะตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิดต่างหาก



   การตีบทกฎหมายของศาลฎีกา ในฎีกา สามารถนำมาอ้างได้เป็นการทั่วไป

คำอ้างที่ว่า แนววินิจฉัยหรือการตีบทกฎหมายของศาลฎีกาที่เกิดในคดีแพ่งจะนำมาใช้เป็นกรณีทั่วไปกับคดีอื่นๆไม่ได้ ไม่เป็นความจริง เพราะในความเป็นจริงขออนุญาตยกตัวอย่าง ฎีกาเช่น "เรื่องคณะรัฐประหารเมื่อยึดอำนาจแล้วย่อมมีอำนาจในการออกกฎหมายได้"นั้น มีครั้งแรกในคดีแพ่งคือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่  45/2496 ในคดีเกี่ยวกับการละเมิด และต่อมาการวินิจฉัยคดีอาญา ก็ใช้แนวฎีกา45/2496 ที่ยอมรับอำนาจคณะรัฐประหารว่าเป็นกฎหมายได้ หากต้องมีการตีความประกาศคณะรัฐประหาร เช่นคดีอาญาใน ฎีกาที่  1662/2505 (ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157) หรือฎีกาที่  6411/2534 (ที่เป็นคดีอาญาเป็นการขัดคำสั่งของเจ้าพนักงาน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368)

ซึ่งปกติการอ้างแนววินิจฉัยฎีกาเก่าในศาลฎีกาด้วยกัน จะไม่ยกเลขฎีกาให้คู่กรณีฟัง แต่จะนำถ้อยบัญญัติในฎีกาเก่าทีมีเนื้อความลักษณะเดียวกันมาใช้ เช่นกรณีนี้คือการอ้างเรื่องคณะรัฐประหารมีอำนาจออกกฎหมาย ฎีกาต่างๆ แม้คนละปี แต่จะมีความเดียวกับฎีกาแรกคือ 45/2496 ว่าคณะรัฐประหารมีอำนาจในการออกกฎหมาย

การอ้างอิงฏีกาข้ามไปมานี้ อย่าว่าแต่คดีอาญา มาเอาแนวฎีกาจากคดีแพ่งในกรณีที่เหมือนๆกันที่ยกมาแล้ว คือ ประกาศคณะรัฐประหารมีอำนาจทางกฎหมายเพียงไร แม้แต่ข้ามศาลไปคนละศาล ยังมีการหยิบยกมาอ้างกันเพื่อใช้ในการวินิจฉัยคดี ดังที่กล่าวแล้ว เช่น ศาลรัฐธรรมนูญในคดีพิจารณาความชอบธรรมของประกาศ คตส ในการดำเนินคดีอาญาตามพรบ.ปปช ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดียังหยิบฎีกาจากคดีแพ่งดังกล่าวคือฎีกา 45/2496 และคดีอาญาเช่น 1662/2505 และ 6411/2534  ข้ามศาลกัน มาอ้างไว้ในคำวินิจฉัย

   ความเข้าใจผิดของคุณน่าจะเกิดจากตรงนี้ คุณนึกว่าเขาอ้างฎีกาโดยยกมาทั้งคดี

การอ้างฎีกานี้คุณอย่าเข้าใจผิดว่าเขาอ้างฎีกาในลักษณะเอามาทั้งคดี หรือเอาว่าคู่ความในคดีใครชนะใคร เพื่อเอามารับฟ้อง ส่วนใหญ่ของการอ้างฎีกาเขาไม่ได้อ้างฎีกากันว่าจะรับฟ้องหรือไม่รับฟ้อง อย่างที่คุณเข้าใจ แต่เขาจะอ้างเพื่อใช้วินิจฉัยรายละเอียดที่สำคัญในพฤติการณ์แห่งคดี

โดยจะนำเฉพาะส่วนที่เป็นการตีความบทกฎหมายที่มีปัญหาในคดีเก่า ที่มักเรียกันว่าแนววินิจฉัย มาใช้ซ้ำ เพื่อให้การตีความบทกฎหมายของศาลมีคตวามแน่นอน ไม่ใช่ ตีความแบบวันนั้นอย่าง วันนี้อีกอย่าง พรุ่งนี้อีกอย่าง

แนววินิจฉัย มักเป็นเรื่องแปลกใหม่ ประเด็นปัญหาของกฎหมาย ที่ศาลต้องตีดความ ที่แม้จะเป็นเพียงแค่ส่วนองค์ประกอบหนึ่งในคำพิพากษานั้น เช่น กรณี ฎีกา 45/2496 อำนาจประกาศคณะรัฐประหาร นั้น ที่จริงเป็นคดีที่ฟ้องเรื่องอื่น เกี่ยวกับการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2485  เรื่องข้อสรุปศาลเกี่ยวกับประกาศคณะรัฐประหาร จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องหลักของคดี เพราะเขาไม่ได้ฟ้องว่าประกาศคณะรัฐประหารมีอำนาจอย่างไร แต่เขาฟ้องเรื่องการละเมิด แต่การพิจารณาคดีครั้งนั้น มีการวินิจฉัยเรื่องอำนาจประกาศคณะรัฐประการไว้ และก็กลายเป็นสิ่งที่อ้างอิง แม้แต่ในคดีอาญาอื่น หรือแม้แต่ในศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นคนละศาลก็ยังอ้างฎีกา

ดังนั้น การอ้างว่าแนววินิจฉัยฎีกาที่เกิดในคดีแพ่งจะมาใช้ในคดีอื่นๆไม่ได้ เป็นเรื่องไม่จริง และน่าจะเกิดจากการที่คุณเข้าใจผิดว่าเขายกทั้งฎีกาทั้งคดีมาอ้าง ว่าคดีนี้ใครชนะใคร แบบนี้จึงฟ้องได้ฟ้องไม่ได้ อันดูเหมือนเป็นความเข้าใจของคุณในเวลานี้ ซึงผิด เพราะฎีกาเวลาเขาอ้างกันนั้น เขาอ้างถ้อยบัญญัติทีมีการตีความกฎหมายไว้ต่างหาก แม้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคดีและมิใช่เรื่องที่เขาฟ้องร้องกันโดยตรง แต่ก็จะมีการนำแนววินิจฉัยนั้นไปอ้างต่อ หากเป็นการตีความกฎหมาย

สรุป แนววินิจฉัยของศาลก็คือการตีความบทฎหมายช่วงที่มีปัญหา และเมื่อวินิจฉัยแล้ว สามารถนำอ้างได้ทั่วไป แนววินิจฉัยเป็นเพียงส่วนหนึ่งในคำพิพากษา ไม่ใช่คำพิพากษาทั้งฉบับ ไม่ผูกพันว่าคู่คดีเป็นใคร หรือเป็นคดีในศาลใด แต่ผูกพันกับว่า บทกฎหมายที่ต้องตีความนั้นเกี่ยวกับบทกฎหมายเรื่องเช่นไร

กรณีฎีกา 1136/2536 นั้น ศาลมีแนววินิจฉัยว่า การรับรองประกาศคณะปฏิรูป รับรองให้เพียงม่ขัดรัฐธรรมนูญ หากขัดรัฐธรรมนูญความส่วนนั้นของประกาศย่อมใช้ไม่ได้ ในคดีใดก็ตาม ไม่ว่าแพ่ง อาญา ปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ หากประเด็นว่า การรับรองประกาศคณะรัฐประหารรับรองไว้ให้ขัดรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ก็ย่อมอิงฏีกา 1136/2536 ที่ว่า ขัดรัฐธรรมนูญไมไ่ด้ โดยไม่เกี่ยวกับว่าคดีของฎีกา 1136/2536 เป็นคดีอะไร

จึงขอให้คุณเข้าใจให้ตรง หรือหากจะโต้แย้งก็ยินดีรับฟัง แต่อย่ายกเอาความเข้าใจของตนมาอ้าง โดยไม่มีหลักฐานกฎหมายหรือหลักกฎหมายอื่นประกอบ





 

 

ปรับถ้อยคำที่อาจจะสื่อความหมายไม่ตรงเสียใหม่
.

แก้ไขเมื่อ 07 มี.ค. 55 20:23:05

แก้ไขเมื่อ 07 มี.ค. 55 18:51:28

แก้ไขเมื่อ 07 มี.ค. 55 18:39:30

จากคุณ : thyrocyte
เขียนเมื่อ : 7 มี.ค. 55 18:30:17 A:58.137.0.146 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com