Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
รายงานผลการศึกษา กระบวนการและวิธีการ จัดการทรัพย์สินของ ปรส. part 2 ติดต่อทีมงาน

เมื่อผู้ประมูล-ผู้ซื้อ เป็นคนละคนรัฐสูญรายได้เท่าไร...?

ปรส.กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจำหน่ายสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงินฯ โดยอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล โอนสิทธิในการทำสัญญาขายมาตรฐานให้ผู้อื่นได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อรัฐหรือประเทศอย่างไร

1. ปรส.กำหนดหลักทรัพย์ เงื่อนไข และวิธีการจำหน่ายสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงินฯ อนุญาตให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิในการทำสัญญาขายมาตรฐานให้ผู้อื่นได้ ในกรณีนี้ผู้ทำสัญญากับ ปรส.คือกองทุนรวมซึ่งมีสิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล พร้อมภาษีอื่นและลดหย่อนค่าธรรมเนียม ดังนี้

1.1 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร 3 ฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้ พ.ย.2541

ฉบับที่ 336 ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ฉบับที่ 337 ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ

ฉบับที่ 338 ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

1.2 กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (2541) ออกตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 กองทุนรวมได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎกระทรวงฉบับนี้โดยได้รับการปรับลดหย่อนค่าธรรมเนียมการรับโอนอสังหาริมทรัพย์ (จาก 2%-0.01% ทั้งนี้ไม่เกิน 100,000 บาท) มีผลบังคับใช้ 26 ต.ค.2541

ฉะนั้น การประกอบธุรกิจทุกประเภทของกองทุนรวมตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการในประเทศไทย ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว คาดว่าเป็นเงินจำนวนมาก นั่นหมายถึงการขายรายได้ของประเทศในจำนวนเดียวกัน

2. ผลจากการที่ ปรส.ให้ผู้ประมูลกับผู้ซื้อเป็นคนละคน มีผลตามมาดังนี้

2.1 รายได้ของ ปรส.หรือรัฐลดลง เพราะผู้ซื้อตัวจริงไม่ได้เข้าประมูล ซึ่งหากประมูลเอง และต้องการได้ ก็ต้องเสนอราคาที่สูงกว่าที่ผู้ประมูลเสนอราคาไป นั่นหมายถึงค่าธรรมเนียม 1% ที่ ปรส.หรือรัฐจะได้รับจะสูงกว่าจำนวนเงิน ปรส.ได้รับมาแล้ว เสมือนเป็นการหรือสมยอมราคา เพราะราคาที่ได้มิใช่ราคาซื้อที่แท้จริง

2.2 เงินที่จะคืนให้เจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินที่ถูกปิดได้รับต่ำลง

2.3 การออกข้อสนเทศการขาย ฉบับที่ 2 ทำให้ ปรส.ได้รับเงินจากการประมูลล่าช้าทำให้ประโยชน์ที่ควรจะได้รับลดน้อยลง

ประเด็นที่ 4 กรณีที่ผู้ประมูลได้เป็นบริษัทต่างประเทศ ประมูลได้แล้ว มีการขายคืนให้คนไทยและหากมีการขายเมื่อใด มีการขายภายใน 6 เดือนหรือไม่

ได้รับคำตอบด้วยวาจาจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด ว่า เมื่อรวมสวมสิทธิในการทำสัญญาแล้ว ไม่ได้ขายต่อให้กับผู้ใด แต่บริหารเอง โดยจ้างผู้บริหารสิทธิมาดูแล

ประเด็นที่ 5 "Benchmark" ในการให้ประมูลสินทรัพย์ของ ปรส.ผู้ใดเป็นผู้กำหนด

ได้รับคำตอบด้วยวาจาจากเจ้าหน้าที่ของ ปรส.ว่า ปรส.จ้างเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ทางด้านการเงิน ซึ่งเป็นการกำหนดราคาขึ้นเพื่อให้บอร์ดหรือผู้บริหารใช้ประกอบในการพิจารณาประมูล ซึ่งขณะให้ข้อมูลส่วนงานนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว

อนึ่ง หากการดำเนินการของคณะทำงานได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน เช่นเดียวกับหน่วยงานในภาครัฐ จะทำให้ผลการศึกษาได้ข้อเท็จจริงที่จะนำมาวิเคราะห์และนำเสนอข้อเสนอแนะซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อคณะอนุกรรมการในการพิจารณาต่อไป

ข้อเสนอแนะ

1. เห็นควรตั้งคณะทำงานเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงในประเด็นที่ภาคเอกชนยังไม่ให้ความร่วมมือเพื่ออธิบายข้อสงสัย ซึ่งจะได้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผู้บริหารเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป

2. หากไม่คำนึงถึง "ไชนีสวอลล์" ซึ่งไม่สามารถควบคุมหรือตรวจสอบได้ ในอนาคตเมื่อเกิดวิกฤต การณ์เช่นนี้อีก ไม่ควรอนุญาตให้บริษัทที่มีความเกี่ยวพันกับบริษัทที่ปรึกษาเข้าร่วมประมูล

3. เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ลงทุนในประเทศทั้งที่มีเงินทุนน้อยและมากเข้ามาลงทุน ซึ่งส่งผลให้มีเงินเข้าสู่ระบบมาก กระแสเงินจะได้หมุนเวียนอยู่ในประเทศ เห็นควร

3.1 การจัดประมูลสินทรัพย์ควรใช้นโยบาย จัดสินทรัพย์เป็นกองเล็กๆ

3.2 ค่าธรรมเนียมตลอดจนเงินมัดจำในการดูข้อมูลหรือขั้นตอนต่างๆ ไม่ควรสูงมาก

 

ที่มา จาก ม.รัฐแห่งหนึ่ง ตามลิงค์

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2003q2/article2003june4p4.htm

เอาลงหมดไม่ได้ มันยาวมาก

สรุปคดีนี้ ง่ายๆ ชวน ออกตัวว่า ปรส.เป็นองค์กรอิสระ ไม่ได้ถูกควบคุมโดย รัฐบาล (อ้าว ทักกี้ จะโดนจับข้อหาอะไรล่ะ เซ็นต์ชื่อให้อดีตเมีย ประมูลที่ดิน จาก ปรส. ก็ไม่ผิด อ่ะดิ) ชวนม่ายผิด

ทะ:-)ๆที่ ปรส. ยอมให้ บริษัทฯลูก ของ บริษัทฯที่ปรึกษา เข้ามาประมูล ทรัพย์สิน ได้

โดยเงื่อนไขของ IMF เสมือนกำหนดทางเลือกให้กับรัฐบาลไทย ผ่านการปฏิบัติงานของปรส. ที่จำต้องเปิดประตูให้ GE Capital  Goldman Sachs และ LEHMAN BROTHERS กอบโกยความมั่งคั่งออกไปจากระบบเศรษฐกิจไทยผ่านการประมูลสินทรัพย์ ปรส.

LEHMAN BROTHERS เป็นบริษัทที่อื้อฉาวที่สุดในสามบริษัท Vulture Company

LEHMAN BROTHERS ถูกโจมตีจากสื่อมวลชนอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นบริษัทที่ ปรส.จ้างให้เป็นที่ปรึกษา

แต่คงจะเห็นว่า แค่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอย่างเดียวได้น้อยไป ฟันได้ไม่มากพอจึงเข้าร่วมประมูลสินทรัพย์ของปรส.ด้วย และได้สินทรัพย์ของปรส. ไปด้วยราคาที่ถูกเหมือนได้เปล่า

ความ Trickgreedy  (Tricky + Greedy) ของ LEHMAN BROTHERS ถูกโจมตีว่า เป็นเรื่องที่ไร้จรรยาบรรณไม่มีจริยธรรมในทางธุรกิจและเป็นเรื่อง Conflict of Interest อย่างโจ่งแจ้ง

 

แต่ผู้บริหารของ LEHMAN BROTHERS ซึ่งเป็นคนไทยกลับ Make คำอธิบายที่ยิ่งสะท้อนให้เห็นดีกรี Trickgreedy ของตัวเองได้อย่างดีว่า LEHMAN BROTHERS มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างฝ่ายที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและฝ่ายที่ทำหน้าที่ประมูลอย่างชัดเจนตามหลัก Chinese Wall การประมูลสินทรัพย์ของ ปรส. ครั้งนั้น LEHMAN BROTHERS และ GE Capital ได้สินทรัพย์ชั้นดี ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นสินเชื่อบ้านและรถยนต์ไปในราคาเพียงประมาณ 30% ของมูลค่าหนี้คงค้าง

หลังจากนั้นไม่นาน LEHMAN BROTHERS และ GE Capital  ก็สามารถทำกำไรจากการประมูลได้เกือบเท่าตัว  จากราคาที่ประมูลมาจากปรส.

 

ไม่รู้ว่ามีใส้ศึกคนไทย เห็นประโยชน์ส่วนตัว ทำตัวเป็นเจ้าพระยาจักรีหรือไม่? ที่ เปิดประตูเมืองให้ สองอีแร้งมาทึ้ง ผลประโยชน์ของชาตื

 

ความเจ็บปวดนี้ ยากจะลืมเลื่อน ที่ไม่อาจปฎิเสธได้ว่า เป็นการกระทำภายใต้ รัฐบาล ชวน2  

จากคุณ : ไทปัน
เขียนเมื่อ : 8 มี.ค. 55 09:25:29 A:203.146.190.3 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com