Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ข้อสังเกตุ ถึงข้อโจมตี กรณีสินค้าราคาแพง ติดต่อทีมงาน

ในวิถีทางการเมืองในสังคมที่ยังเชื่อว่า ปชช. ที่หาเช้าทานค่ำ ขาดความรู้ความเข้าใจเพียงพอในระบบเศษฐกิจ ที่มักจะนำเอากรณี ค่าครองชีพ (ของแพง) มาเป็นข้อเรียกร้องหลักข้อหนึ่ง สำหรับสร้างกระแสโจมตี ถึงความล้มเหลวในการบริหาร ของฝ่าย รบ. คำถามที่บังเกิดขึ้น จากการสร้างกระแส มิใช่อยู่ที่ ราคาค่าครองชีพ แต่จะอยู่ที่การอาจเอื้อมลวงพลาง หรือหมิ่นคุณวุฒิของ ปชช. เฉพาะเพื่อประโยชน์ทางการเมือง ของฝ่ายสร้างกระแสเท่านั้น ครับ

ระบบเศษฐกิจ มาจากวงจรหมุนเวียนเพิ่มขยายวงเงิน เพื่อสร้างและวิวัฒนาการชีวิตความเป็นอยู่ของ กลุ่มชนในสังคมนั้นๆ ฉนั้นจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ที่ระบบค่าครองชีพ จะหยุดนิ่งและไม่เพิ่มขยายวงจรหมุนเวียน อันก็เป็นผลให้ มีลักษณะปรับปรุงค่าครองชีพ (ของแพง) เป็นธรรมชาติในสังคมขึ้นมา นั่นเอง ปัญหาที่แท้จริงในระบบเศษฐกิจ ก็คือการควบคุมความเจริญเติบโต ของวงจรหมุนเวียนสมดุลย์ ระหว่าง ราคาสินค้า กับ เงินรายได้ถัวเฉลี่ย ในขณะที่เงินรายได้ น้อยกว่าที่จะต้านรับกับราคาสินค้า ก็จะบังเกิดลักษณะ วงจรเศษฐกิจขาดแคลน (เงินฝืด) อย่างเช่น ข้าวใข่เจียวจานละ ๑๐๐ บาท กับรายได้เดือนละ ๕๐๐ บาท อันก็จะเป็นผลกระทบถึงความเป็นอยู่ในสังคม ที่เรียกกันว่า ข้าวยากหมากแพง หรือค่าเงินแข็ง และในขณะที่เงินรายได้มากกว่าความเป็นจริงของราคาสินค้า ก็จะบังเกิดลักษณะ วงจรเศษฐกิจฟ้งเฟ้อ (เงินเฟ้อ) อย่างเช่น ข้าวใข่เจียวจานละ ๑๐๐ บาท กับรายได้เดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท อันก็เป็นผลที่เรียกว่า หามข้าวแรกฟาง หรือ ค่าเงินอ่อน โดยลักษณะสมดุลย์ ก็คือ ข้าวใข่เจียวจานละ ๑๐๐ บาท กับรายได้เดือนละ ๑,๐๐๐ (ข้าว สามมื้อต่อวัน ตกไป ๙๐๐ บาท มีเงินเหลือ ๑๐๐ บาท เป็นเงินสำหรับขยายวงจรเศษฐกิจ) ครับ

ในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ ระหว่างเศษฐกิจภายในประเทศ กับนอกประเทศ (นำเข้า/ส่งออก) ที่มีผลกับระบบค่าครองชีพ ในประเทศ ที่มาจาก ระบบค่าเงินแลก อย่างแยกไม่ได้อีกด้วย อย่างถ้า ระหว่างประเทศ ค่าเงินแลกแข็ง ๑ ยูโร เท่ากับ ๑ บาท ก็จะเป็นผลให้ มีส่วนตกต่ำในการส่งออกกระทบกับการผลิต อันก็เป็นผลให้ระบบเศษฐกิจลดความเจริญเติบโต หรือขาดเงินรายได้ ที่จะต้านรับกับราคาสินค้า (ภาวะเงินฝืด) ในขณะเดียวกันถ้า ค่าเงินแลกอ่อน ๑ ยูโร เท่ากับ ๔๐ บาท ก็จะเพิ่มการส่งออก และก็เป็นผลให้เกิดมีลักษณะสินค้าขาดตลาด หรือราคาแพงเกินการรับทานจากเงินรายได้ถัวเฉลี่ยขึ้นมา (เอ็กพอร์ด โอนลี่) หรือเรียกว่า เงินเฟ้อเฉพาะกลุ่ม และแยกสังคม ระหว่างสองกลุ่ม ระหว่างกลุ่มคนรวยที่เป็นส่วนน้อย กับกลุ่มคนจนที่เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการมีลักษณะสมดุลย์ กับระบบเศษฐกิจในประเทศ (ระบบค่าครองชีพ) ก็จะมีผลให้บังเกิดสังคมสามกลุ่ม โดยกลุ่มคนรวย (กลุ่มลงทุน) และกลุ่มคนจน (กลุ่มผู้ใช้) เป็นส่วนน้อยในสังคม โดยมีส่วนใหญ่ที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง ทั้งสองกลุ่ม (กลุ่มลงทุน / กลุ่มผู้ใช้) คือกลุ่มระดับกลาง (กลุ่มเศษฐกิจ) อันจะทำให้มีความทรงตัว กับระบบค่าเงินแลก และทำให้สมดุลย์กับระบบเศษฐกิจ (ส่งออก / นำเข้า) ครับ

การบริหาร ของ รบ. ในด้านเศษฐกิจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุลย์ อันจะใช้ ระบบภาษี ระบบควบคุมราคาและเงินรายได้ขั้นต่ำถัวเฉลี่ย ระบบทดแทนเฉพาะหน้า ระหว่างสินค้ากับความต้องการ รวมทั้งระบบโครงการลงทุนเพิ่มวงจรเศษฐกิจ เป็นเครื่องมือหลัก ฉนั้น ข้าวใข่เจียวจานละ ๑๐๐ บาทไม่ใช่เป็นปัญหา เพียงแต่ช่วงเวลารองรับ โดยการมีรายได้ต้านรับ อย่างสมดุลย์นั่นเอง การที่ รบ. มีมติให้กำหนดค่าแรงอย่างต่ำ ๓๐๐ บาท หรือปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาท หรือการนำเข้าเมื่อเกิดลักษณะขาดดุลย์สินค้าและราคา รวมทั้งการตั้งกองทุนหมู่บ้าน สิ่งเหล่านี้ก็คือความพยายามในการบริหาร สร้างดุลย์และควบคุม ความเจริญเติบโตด้านเศษฐกิจ ที่หาที่ติมิได้อยู่แล้ว

การที่ฝ่ายค้าน นำเอา กรณี ข้าวยากหมากแพง มาสร้างกระแส ไม่เพียงแต่พยายามจะมอง ปชช. อย่างหมิ่นในคุณวุฒิ แล้วยังพิสูจน์ตัวเองในคุณวุฒิด้านเศษฐกิจของตัวเอง เพิ่มจากความล้มเหลวของการเป็น รบ.ที่ผ่านมา อีกด้วย ครับ

 

แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 55 17:33:04

จากคุณ : พลายทมิฬ
เขียนเมื่อ : 17 มี.ค. 55 17:30:49 A:217.225.247.177 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com