บทความแนะนำให้ สลิ่ม และแมงสาบอ่าน..ศึกษา ความล้มเหลว พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็เห็น ความสำเร็จ..
|
 |
(ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 17 มีนาคม 2555)
สภาพ "ย้อนแย้ง" เป็นปรากฏการณ์อันสะท้อนความเป็นธรรมชาติที่แน่นอนหนึ่งในทางการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นการเมืองใน "อดีต" ไม่ว่าจะเป็นการเมืองใน "ปัจจุบัน"
คล้ายกับว่าอาการย้อนแย้งจะเห็นและสัมผัสได้ผ่านปรากฏการณ์ของบุคคลอย่าง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันของ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ไม่เหมือนกับเมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 แน่นอน
กระนั้น หากสำรวจอย่างเข้มงวดจะประจักษ์ได้ว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ต่างหากที่วิถีทางการเมืองดำเนินไปในลักษณะอันสรุปได้อย่างรวบรัดว่า "ถอยกลับทิศ"
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในเดือนมีนาคม 2555 หรือเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ แผกต่างไปจากบทบาท พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อเดือนกันยายน 2549
นั่นก็เห็นได้จากการเข้าไปอยู่ในสถานะแห่งประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร และการร่วมลงนามในญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 กับพรรคชาติไทยพัฒนา
เป็นไปได้อย่างไร
การร่วมลงนามในญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เท่ากับยอมรับแนวทางพรรคชาติพัฒนาและยอมรับแนวทางพรรคเพื่อไทย
ในที่สุดแล้วก็ยอมรับแนวทางของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นผลพวงจากการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยอำนาจของ คปค.
เป็นการลงนามในประกาศโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน
ขณะเดียวกัน การยอมรับเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร เท่ากับเป็นการสำแดงออกในลักษณะของเสือสำนึกบาป
บาปอันเนื่องมาแต่การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549
ลักษณะ "ย้อนแย้ง" เช่นนี้สะท้อนความเป็นชายชาญของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อย่างสูงและด้วยความเด่นชัด
นั่นก็คือ เมื่อทำอะไรพลาดก็พร้อมน้อมรับและแก้ไข
ลำพังการเข้ามาเป็นประธานคณะกรรมาธิการ ลำพังการลงนามร่วมยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ถูกเยาะเย้ยหยามหยันอย่างยิ่งแล้ว แต่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็อดทน
ก็อดทนและทำงานอย่างมุ่งมั่นแน่วแน่
ความเป็นจริง การเสียสละยอมรับเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร น่าจะเป็นตัวอย่างอันนำไปสู่การปรองดองได้อย่างยอดเยี่ยม
ขณะเดียวกัน กระบวนการทำงานของกรรมาธิการก็รอบคอบและรัดกุม
ทาง 1 ปรึกษาหารือภายในกรรมาธิการเพื่อค้นหาแนวทาง ทาง 1 อาศัยสติปัญญาและความสามารถจากสถาบันพระปกเกล้า ดำเนินการศึกษาวิจัยจัดทำรายงานเพื่อหาแนวทางอันเหมาะสมและเป็นคุณ
การลงมาหาแนวทางปรองดองโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็ถือว่าเป็นความใจกว้างอย่างยิ่งแล้ว
การดำเนินการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าก็เด่นชัดในด้านสถาบันอันเป็น "กลาง"
เมื่อ 2 ส่วนนี้ประกอบเข้าด้วยกันน่าจะเป็นเหมือนประทีปส่องทาง อันสว่างไสว ช่วยให้กรรมาธิการจากทุกพรรคฝ่ายสามารถหาบทสรุปที่สวยงามและเป็นประโยชน์อย่างเป็นจริงในทางการเมือง
แต่ก็กลับล้มเหลว
เป็นความล้มเหลวที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับผลการศึกษาวิจัยของสถาบันอันเป็น กลาง เป็นความล้มเหลวที่แม้กระทั่งบทสรุปคณะกรรมาธิการก็อาจทำได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ
กระนั้น ภายในความล้มเหลวนี้ก็มีความสำเร็จ
อย่าน้อยใจไปเลย ความพยายามของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน สถาบันพระปกเกล้า มิได้สูญเปล่าเลย
อย่างน้อยภายในความล้มเหลวที่ไม่สามารถค้นหาเอกภาพในทางความคิดได้ ก็สามารถค้นพบว่าปัจจัยอันใดทำให้ความ ปรองดองมีปัญหา สะดุดหยุดลง มิอาจเดินไปข้างหน้าได้โดยราบรื่น
การรับรู้ในอุปสรรคคือกุญแจไขไปสู่คำตอบ ไขไปสู่ความสำเร็จได้ระดับอันแน่นอนหนึ่ง
******************************************************
เปิดใจให้กว้าง..โปรดอย่าดักดานหรือจมอยู่กับความแค้น..
โปรดกลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง..เห็นต่างไม่ว่า แต่ค้องเห็นด้วยปัญญา และเห็นมาจากใจ..
ประเทศไทยเสียโอกาสมามากแล้ว..น่าจะได้เวลาเดินหน้าเสียที..
หยุดใส่ร้ายป้ายสี.. หยุดสร้างลัทธิคลั่งชาติ..เท่ากับหยุดทำร้ายประเทศไทย..
ฝากไว้ 1 เพลง ก่อนเข้าสู่วันอาทิตย์ วันดีๆ วันสบายๆที่ทุกคนรอคอย http://www.youtube.com/watch?v=YoBlMyJS5Qs&feature=g-vrec&context=G23fdb08RVAAAAAAAADg
.
จากคุณ |
:
แมวน้ำสีคราม
|
เขียนเมื่อ |
:
17 มี.ค. 55 23:57:03
A:180.180.214.193 X:
|
|
|
|