กระแส "ปรองดอง-นิรโทษกรรม" ถูกปลุกขึ้นมาเป็นประเด็นเกรียวกราวรอบใหม่
ต้นเรื่องมาจากการที่พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ส่งคลื่นสัญญาณแรงข้ามประเทศ
แสดงความเชื่อมั่นว่าภายใต้ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ความปรองดองในไทยจะเกิดขึ้น ได้ในที่สุด และอาจรวดเร็วกว่าที่ ใครคิด
ส่งผลให้ตนเองเดินทางกลับประเทศได้ภายในปีนี้
เพียงคำพูดไม่กี่ประโยคของพ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้รัฐบาลน้อง สาวตนเอง "งานเข้า"
ทันควัน จน นายกฯ ยิ่งลักษณ์ต้องชิงออกมาตัด บทเสียงอ่อนเสียงหวานว่า
"ไม่ได้กลับค่ะ"
แต่คำปฏิเสธเพียงแค่สั้นๆ ไม่สามารถกลบกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ที่ต่อยอดไปไกล
ถึงขั้นว่าพ.ต.ท. ทักษิณที่กำลังฉวัดเฉวียนอยู่แถวประเทศเพื่อนบ้าน
มีแผนจู่โจมกลับไทยในเดือนเม.ย.
จากกระแสดังกล่าวก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์แตกออกเป็น 2 ทิศ ทางคือ
เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยที่พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางกลับประเทศในปีนี้
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยแน่นอนว่า คือ พรรคการเมืองบางพรรคและกลุ่ม พันธมิตรฯ
ที่มีความเคียดแค้นชิงชังพ.ต.ท.ทักษิณแบบฝังรากลึก
พรรคประชาธิปัตย์แสดงออกชัดแจ้งว่าหัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ ต้องการให้พ.ต.ท.ทักษิณ
ได้กลับประเทศ หรือถ้าจะกลับก็ต้องยินยอมรับโทษจำคุก 2 ปี ในคดีที่ดินรัชดาฯ
ตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง
ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองลุกเป็นไฟแน่
ทั้งยังยื่นหนังสือถึง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
ขอให้ทบทวนรายงานแนวทางสร้างความปรองดองที่คณะ
ทำงานของสถาบันจัดทำเสนอไปยังกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทาง
การสร้างความปรองดองแห่งชาติก
สภาผู้แทนฯ ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธาน
โดยเฉพาะประเด็นนิรโทษกรรมคดีเกี่ยวข้อง กับการชุมนุมทางการเมือง
และคดีเกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวหาจากกระบวนการของคณะกรรมการตรวจสอบ
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ หรือ คตส.
นิรโทษกรรม-ล้างคดีคตส.
ทั้ง 2 ประเด็นถูกตีความเป็นวาระแอบแฝง ส่อ เจตนาให้พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ได้รับ
อานิสงส์จากข้อเสนอดังกล่าวโดยตรง รวมถึงแกนนำ "เสื้อแดง" บางคน
จึงต้องโดดขวางกันสุดแรงไม่ยี่หระต่อเสียงค่อนแคะของคนพรรคเพื่อไทยที่ว่า
แท้จริงแล้วพรรคประชาธิปัตย์นั่นแหละที่ก้าวข้ามไม่พ้นคนชื่อ "ทักษิณ" เสียเอง
ไม่สนใจว่าประเทศชาติและประชาชนจะได้ประโยชน์มากมายจากการปรองดอง
ขอเพียงแต่พ.ต.ท.ทักษิณต้องไม่ได้ด้วยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ถึงช่องทางการนำเสนอจะแตกต่าง
แต่ผลวิจัยแนวทางการสร้างความปรองดองของทีมงานสถาบันพระปกเกล้า
ก็เปิดออกมาในจังหวะไล่เลี่ย
ตีคู่มากับแนวทางของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รอง นายกฯ ผู้อาสาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงพา
"นายใหญ่" กลับบ้านโดยไม่ต้องรับโทษ ผ่านการผลักดันร่างกฎหมายในนามพ.ร.บ.ปรองดอง
ซึ่งได้ใช้ความรู้ความสามารถระดับด๊อกเตอร์ด้าน กฎหมาย
ยกร่างเตรียมไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งหมด 6 มาตรา
พร้อมรายชื่อส.ส.ผู้สนับสนุนตามเกณฑ์กำหนด
แค่รอจังหวะเหมาะๆ ส่งไม้ต่อให้ประธานสภาบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมเท่านั้น
ร.ต.อ.เฉลิมเชื่อว่าการปรองดองจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีกฎหมาย มาบังคับ
ภายใต้แผนปฏิบัติการ "ทักษิณรีเทิร์น"
ฝ่ายสนับสนุนมองว่าถ้าหากพ.ต.ท.ทักษิณมุ่งมั่นจะกลับประเทศให้ ได้
ช่วงนี้คือจังหวะใกล้เคียงความเป็นไปได้ที่สุด
เนื่องจากรัฐบาลและนายกฯ ยิ่งลักษณ์ซึ่งผ่านการบริหารประเทศมานานกว่าครึ่งปี
ผ่านด่านทดสอบหนักๆ อย่างวิกฤตน้ำท่วมใหญ่มาได้
การผลักดันนโยบายประชานิยม การปราบปรามยา เสพติด ตลอดจนการวางนโยบาย
แก้ไขปัญหาด้าน ต่างๆ แม้บางเรื่องยังติดๆ ดับๆ แต่ส่วนใหญ่เริ่มเข้ารูปเข้ารอย
เรื่องใหญ่สำคัญอย่างการจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันมหาอุทกภัยในอนาคต
นายกฯ ยิ่งลักษณ์สามารถชี้แจง สร้างความมั่นใจให้กับประเทศยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุน
ทั้งญี่ปุ่น สหรัฐ และจีน ได้สำเร็จ บวกกับความสัมพันธ์กับกองทัพที่ ดีวันดีคืน นายกฯ
ยิ่งลักษณ์ใช้ความอ่อนสยบแข็งกร้าวอย่างได้ผล
จึงไม่แปลกที่ในการสำรวจเอแบคโพลล์ครั้งหลังสุด จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ ร้อยละ
76.4 ระบุรัฐบาลชุดปัจจุบันมีความแข็งแกร่งมั่นคงค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 46.8 ระบุนายกฯ ยิ่งลักษณ์มีความเป็นผู้นำมากขึ้น
กระนั้นก็ตามถึงรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์จะเริ่มปีกกล้าขาแข็งจนกล้าตัดบทปฏิเสธ
แผนการเดินทางกลับประเทศของพ.ต.ท.ทักษิณ
แต่เหตุการณ์ร้อนแรงภายในกระ ทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ภายหลังคำสั่งย้าย นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา
พ้นจากเก้าอี้ปลัดกระทรวงไปนั่งตบยุงที่ทำเนียบ
เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม
เพราะถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จะไม่ใช่กระทรวงใหญ่โต
แต่นางพนิตาก็ไม่ใช่ผู้หญิงตัวคนเดียวโดดๆ
เห็นได้จากการที่มีกลุ่มสตรีและข้าราชการจำนวนไม่น้อย
ที่มารุมล้อมมอบดอกไม้ให้กำลังใจ
ในวันที่เจ้าตัวเปิดแถลงข่าว "ดับเครื่องชน" ฝ่ายการเมือง
กล่าวหาทีมกุนซือรอบตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ นายสันติ พร้อมพัฒน์
มีส่วนพัวพันผลประโยชน์โยงใยไปถึง "ไอ้โม่ง" บางคนที่อยู่เบื้องหลัง
ไม่เท่านั้น กรณีคำสั่งย้ายฟ้าผ่านางพนิตา ยัง นำไปสู่ความบาดหมางรุนแรงระหว่าง
นายประวัฒน์ อุตตะโมต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย น้องชายนางพนิตากับนายสันติ
ถึงขั้นขึ้น "กะรู-มะรึง" ประกาศจองเวร หวิดวาง มวยกันกลางวงประชุมพรรค
ต่อหน้าต่อตานายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่นั่งร่วมประชุมอยู่ด้วย
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการท้าทายฝีมือน.ส.ยิ่งลักษณ์
ในการใช้ภาวะผู้นำที่โดดเด่นขึ้นเรื่อยๆ
สร้างความปรองดองภายในพรรคของตนเองเป็นอันดับแรก
จากนั้นก็เป็นคิวปรองดองฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำ
ที่ประเด็นการโยกย้ายหวุดหวิด จะเป็นเรื่องบานปลายมาแล้วหลายครั้ง
ปรองดอง 2 กลไกในมือให้เสร็จเรียบ
แล้วค่อยมาว่ากันเรื่องแผนปรองดอง ระดับชาติ
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNVEU0TURNMU5RPT0=§ionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBeE1pMHdNeTB4T0E9PQ==
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน สำหรับการเมืองในพรรคเพื่อไทยก็คือ
การประสานประโยชน์ เมื่อมันไม่ลงตัวก็จะเกิดกรณีเช่นนี้
การเมืองในพรรค หรือการเมืองกระดับประเทศก็ไม่ต่างกันนัก