มาร์คเปิดผนึกแย้งงานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า ย้อนประเด็นแม้ว-นิติรัฐ-ฆ่าตัดตอน
เมื่อเวลา 10.10 น. วันที่ 18 มี.ค. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า ในวันนี้จะโพสต์ข้อความ
ในเฟซบุ๊คส่วนตัวเพื่อชี้ให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประมวลข้อเท็จจริงใน
รายงานผลการวิจัยเรื่องการปรองดอง ของสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งความจริงก็
สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของรายงานวิจัยฉบับนี้ แต่ตนอยากย้ำ เพราะเห็นมีการ
เรียกร้องว่าให้ตนร่วมปรองดอง ซึ่งยืนยันว่าตนปรองดอง....แบบค้านมันทุกเรื่องที่เขาเสนอ
ดังนั้นขอให้พรรคเพื่อไทยได้รับข้อเสนอปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า
ที่บอกอย่างชัดเจนว่าอย่าใช้เสียงข้างมากมาทำเรื่องปรองดอง .....ใช้เมื่อไหรก็จะไม่ยอมรับ
ต่อมาเวลา 15.20 น. นายอภิสิทธิ์ เปิดจดหมายเปิดผนึกถึง
คณะผู้วิจัยสถาบันพระปกเกล้า แทนการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตัว
โดยระบุว่า ต้องการชี้ให้เห็นถึงปัญหาจากการประมวลข้อเท็จจริงของ
สถาบันพระปกเกล้าในรายงานผลการวิจัย เรื่องการปรองดองที่สะท้อน
ให้เห็นถึงปัญหาหลายอย่าง อาทิ วิธีวิจัยและการจัดทำรายงานฉบับนี้
รวมไปถึงข้อเสนอแนะ
รายละเอียดของจดหมายเปิดผนึกทั้ง 6 หน้า นายอภิสิทธิ์ตั้งข้อสังเกต
มุ่งเน้นเฉพาะบทที่ว่าด้วย ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในช่วงเวลาตั้งแต่ปี
พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากผู้ที่ติดตามเหตุการณ์
ของบ้านเมืองในช่วงดังกล่าวหากมีโอกาสอ่านรายงานในส่วนนี้จะต้องตก
ใจว่า มีความคลาดเคลื่อนและการข้ามข้อเท็จจริง และเหตุการณ์สำคัญๆ
หลายส่วนอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งการบันทึกข้อเท็จจริงให้แม่นยำ ครบถ้วน
เท่าที่จะทำได้ มีความสำคัญมาก เพราะอาจมีการนำรายงานนี้ไปอ้างอิง
ต่อไปในอนาคต
ดังนั้น ความบกพร่องในการประมวลข้อเท็จจริงย่อมส่งผลกระทบต่อการ
จัดทำข้อเสนอแนะ ซึ่งแม้แต่ข้อสรุปสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ก็ยังกล่าวถึง
ความสำคัญ และความจำเป็น เร่งด่วนที่จะต้องมีการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยว
กับเหตุการณ์ต่างๆ โดยเสนอให้ คอป. ดำเนินการในระยะเวลา 6 เดือน
จึงไม่ควรมีความผิดพลาดในการนำเสนอข้อเท็จจริงผ่านงานวิจัยฉบับนี้
เพราะจะเป็นการทำลายหัวใจที่เป็นต้นทางในการร่วมกันหาทางออกให้
กับประเทศ
เนื้อหารายละเอียดก็ได้ระบุถึงประเด็นหลักๆ ที่มองว่ามีความผิดพลาด ประกอบด้วย
1.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรัฐบาลทักษิณ โดยรายงานฉบับนี้ไม่มีการกล่าวถึง
เหตุการณ์สำคัญที่ คอป.ระบุว่า เป็นต้นตอของปัญหา วิกฤติที่เกิดขึ้นจาก
การแทรกแซงตุลาการจนเกิดการละเมิดหลักนิติธรรมในคดีซุกหุ้นของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ.2544 ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตั้งโจทย์ผิด
จนนำไปสู่การหาคำตอบที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาได้
2.ปัญหาการทำลายระบบนิติรัฐก็มีการระบุเพียงผ่านๆ เท่านั้น ทั้งที่ปัญหา
การแทรกแซงองค์กรอิสระ และการทุจริตเชิงนโยบาย มีรายละเอียดที่อ้างอิง
ได้จากคำวินิจฉัยของตุลาการ รัฐธรรมนูญและศาล ปรากฏการณ์ที่ระบบตรวจ
สอบถูกทำลาย การถ่วงดุลตามระบบทำไม่ได้ จนเกิดการเรียกร้องบนท้อง
ถนนตามมา
3.ปัญหาการฆ่าตัดตอน ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 2,500 ศพ จากนโยบาย
สงครามกับยาเสพติดที่มีผลสรุปของคณะกรรมการอิสระแล้วว่า เป็นความ
ผิดพลาดจากนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติด และอาจเข้าข่ายการ
ป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยที่รัฐบาลในขณะนั้น มิได้พยายามที่จะแก้ไข
หรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ
นายอภิสิทธ์ ยังได้สรุปแนวคิดไว้ว่า เหตุการณ์ข้างต้นล้วนมีนัยสำคัญที่สะท้อน
ความความรุนแรง ความขัดแย้ง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การละเมิดหลักนิติรัฐ
นิติธรรมว่า เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่ใน
รายงานนี้ แทบไม่มีการเอ่ยถึงเลย ทั้งที่ส่งผลโดยตรงต่อปัญหาการปรองดอง
แต่รายงานกลับมุ่งเน้นไปที่มิติความแข็งแกร่งของรัฐบาลทักษิณ จนกระทั่งมี
ความคลาดเคลื่อนง่ายๆในข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น กับงานวิจัยที่มีการ
แสวงหาข้อมูลอย่างรอบด้าน
เช่น การอ้างว่าพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งท่วมท้นจนเป็นรัฐบาลพรรค
เดียวสองสมัย ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงในปี 2544 ที่ผลการเลือกตั้งและการจัดตั้ง
รัฐบาลมิได้เป็นเช่นนั้น นอกจากนี้ ก็ได้อธิบายถึงเหตุการณ์ทั้ง 3 ช่วง ตามที่
มองว่ามีการคลาดเคลื่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงรัฐประหารและรัฐบาลสมัคร
สมชาย ช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์และเหตุการณ์ปี 25522553 รวมถึงกรณี
เหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค.2553
ในส่วนสุดท้ายของจดหมายเปิดผนึก นายอภิสิทธิ์ แสดงความคิดเห็นทิ้งท้าย
ด้วยว่า หากข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนย่อมนำมาซึ่งการโต้แย้งและการไม่ยอมรับ
ต่อผลการศึกษาที่เกิดขึ้นจากข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งไม่
เพียงแต่จะเสื่อมเสียถึงชื่อเสียงของสถาบันพระปกเกล้าที่จะถูกตั้งคำถาม
ถึงความเป็นอิสระทางวิชาการเท่านั้น แต่จะส่งผลเสียต่อการแสวงหาทางออก
ให้สังคม เพราะจะถูกมองว่า เป็นการเสนอทางออกตามความต้องการของคน
กลุ่มเดียว ซึ่งผมเชื่อว่าคงไม่ใช่เจตนาของผู้วิจัย จึงขอให้คณะผู้วิจัยได้ทำการ
ทบทวนรายงานดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1qQTFNalE0Tnc9PQ==&subcatid=
หึ หึ เมื่อผลการวิจัยไม่ถูกใจ ก็ไม่ยอมรับ ซะอย่างงั้น
นี่ไง...ตัวการต่อต้านการปรองดอง .... ทุกวันนี้ ยังไม่เห็นว่า
ปชป.จะถูกใจการทำงาน ของ คณะทำงานใด ๆ เลย ไม่ว่า
จะเป็นรัฐบาล หรือ คนที่เป็นกลางแบบ "สถาบันพระปกเกล้า"
เหมือนเพื่อน ๆ ในห้องนี้ ยังไง ยังงั้น เลย ไม่มีอะไรก็ลงท้าย
มันไป "แพงทั้งแผ่นดิน"
คุณทักษิณ จะผิดจะถูกยังไง ก็ต้องให้การตัดสินเป็นไปตามกระบวน
ยุติธรรมตามปกติ ไม่ใช่ปฏิวัติ ซะก่อน ให้คมช.เป็นรัฐาธิปัตย์ แล้วก็
ตั้งข้อกล่าวหา ...ปฏิวัติเพื่อเอาผิดคน ๆ เดียวให้ได้ ประเด็นนี้ตะหาก
ที่ทำให้คนเขาไม่ยอมรับกัน ยกเว้นผู้ที่เรียกร้อง กับคนที่ได้รับประโยชน์
ถามจริงๆ เถอะ ปฏิวัติทำไม คุณทักษิณเขาจะอยู่ค้ำฟ้า จนถึงขั้น
ปชป.และปชช.ไม่สามารถใช้กระบวนการปกติตรวจสอบได้เลยหรือ?
แล้ววันนี้น่ะ หน้าไหนมันตรวจสอบได้ว่า ปฏิวัติครั้งนั้น ใช่งบประมาณ
ไปมากน้อยแค่ไหน ใครได้รับประโยชน์กันบ้าง เห็นตะหานๆ เข้าไปเป็น
กรรมการในรัฐวิสาหกิจ เสวยเบี้ยประชุมกัน วันนี้ลืมกันไปหมดแล้ว