วันนี้ อยากเล่าเรื่องโบราณ ที่ทุกท่านรู้จักดีอยู่แล้ว "ศรีปราชญ์"
|
 |
ศรีปราชญ์เกิดมาในยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งช่วงนั้น บ้านเมืองมีความสงบไม่ต้องออกศึกสู้รบกับใคร ศรีปราชญ์เป็นผู้เก่งเรื่องการแต่งกลอน จึงเป็นที่โปรดปรานของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ส่งศรีปราชญ์ให้มารับราชการอยู่กับเจ้าพระยานครศรีธรรมราชน ซึ่งเจ้าพระยานครฯ ก็โปรดปรานศรีปราชญ์ เพราะฉลาด มีความรู้ความสามารถ เป็นที่ปรึกษาราชการต่าง ๆได้อย่างดี วันหนึ่ง ภรรยาน้อยของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เกิดชอบในบทกลอนที่ศรีปราชญ์แต่งขึ้น และหลงรักศรีปราชญ์ ลอบส่งสาสน์ไปให้ศรีปราชญ์ แต่เมื่อศรีปราชญ์อ่านสาสน์ก็คิดจะตอบกลับไปว่ารักของเราคงเป็นไปไม่ได้ แต่เกิดโชคร้ายเมื่อขุนนางราชสำนักมาเห็นสาสน์นี้เข้า จึงเกิดเข้าใจผิดและนำความไปกราบทูลแก่เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชว่า ภรรยาน้อยของท่านลักลอบคบชู้กับเจ้าศรีปราชญ์ เมื่อทราบความดังนั้นเจ้าเมืองก็ทรงกริ้วมากจึงนำคู่กรณี ทั้งสองมาพบกัน แต่ภรรยาน้อยได้ใช้มารยาหญิงใส่ร้ายป้ายสีว่า ศรีปราชญ์เป็นคนเริ่มก่อน เจ้าเมืองก็หลงเชื่อและสั่งประหารศรีปราชญ์ ในลานประหารที่เป็นเนินดินปนทราย ก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบ ศรีปราชญ์ได้ใช้หัวแม่เท้าเขียนบทโคลงสี่สุภาพลงบนพื้น ใจความว่า
ธรณี นี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์ มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิด ท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิด ท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง
หลังจากศรีปราชญ์ตาย วันหนึ่ง เมื่อพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงกลอนติดขัด หาคนแต่งต่อให้ถูกพระทัยไม่ได้ ก็ทรงระลึกถึงศรีปราชญ์ ก็ตรัสให้เรียกตัวกลับ เมื่อพระองค์ทรงทราบข่าวว่า ตอนนี้ศรีปราชญ์ได้ต้องโทษประหารจากเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ก็ทรงพระพิโรธ ตรัสว่า "อ้ายพระยานครศรีฯ มันถือดีอย่างไร ที่บังอาจสั่งประหารคนในปกครองของกูโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดของอ้ายศรีฯ นั้นขนาดมันล่วงเกินกูในทำนองเดียวกัน กูยังไว้ชีวิตมันเลย ไม่ได้การ ไอ้คนพรรค์นี้เอาไว้ไม่ได้ "ว่าแล้วก็ตรัสให้นำเจ้าพระยานครศรีฯไปประหารชีวิต ด้วยดาบเล่มเดียวกันกับที่ประหารศรีปราชญ์"
เรื่องราวที่อยากจะสื่อคือ กรรมใดใครก่อ กรรมนั้น ไม่เร็ว ก็ช้า มันจะกลับมาคืนสนอง ผู้ก่อกรรมทำเข็ญคนนั้น
จากคุณ |
:
โบกกรัก
|
เขียนเมื่อ |
:
25 มี.ค. 55 23:17:49
A:41.76.148.10 X:
|
|
|
|