ในเวลานี้คดีปรส ที่ดีเอสไอโอนไปให้ปปช จะมี คดีกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล ที่ปปช มีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป โดยคดีนี้เป็นมีมูลค่าสูงสุดในบรรดาคดี ปรส ด้วยกัน เพราะ ปรส รับโอนยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอลไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท (มูลค่าลดเหลือแค่ร้อยละ 19 ) แต่คดีนี้สุดท้ายดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่า พยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา และต้องยกข้อกล่าวหาไปแล้ว ( คลิกดูคำประกาศ ปปช ในดคีนี้อีกที ที่นี้ )
ทำไม ปรส รับโอนสินทรัพย์ทางบัญชีมาตั้ง 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอลไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท ได้เท่านั้น มูลค่าลดไปร้อยละ 80 เหลือมูลค่าแค่ร้อยละ 19 ทำไมจึงไม่มีความผิดเหล่า ? ทำราคาที่มันต่างกันมากมายเช่นนั้น? จึงไม่มีความผิด ?
คำตอบคือ มันเป็นการขายประมูลตามราคาสินทรัพย์ที่เสื่อมสภาพลงตามปกติวิสัย หลังวิกฤติการณ์ ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ปกติ ดังนั้น เมื่อปปช ไปตรวจสอบในคดีนี้ จึงไม่พบหลักฐานการทุจริตอะไร
ตัวอย่างการเสื่อมราคาของสินทรัพย์หลังวิกฤติเศรษฐกิจในไทย
เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน คุณไป่ฉี่ได้ยกตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบการเสื่อมราคาของสินทรัพย์ในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ของไทย ไว้ชัดเจนกรณีหนึ่งคือ กรณีที่กองทุนเพื่อฟื้นฟูสถาบันการเงินฯ เข้าซื้อที่ดินของเอราวัณทรัสต์ในยุคก่อนฟองสบู่แตกในปี 2538 ในราคา 2,140,357,500 บาท ราวสามสิบห้าไร่
ในปี 2544 กองทุนต้องปรับบัญชีใหม่ตามราคาประเมินของกรมที่ดิน ในปีนั้น ที่ดินแปลงนี้ราคาตกลงมาหลือ 754,500,000 บาท เท่านั้น และต่อมาได้มีการประมูลขาย และคุณหญิงประมูลซื้อไปได้ในราคา 772,000,000 บาท (ที่ดินแปลนี้มีการทำโฉนดใหม่ตัดส่วนที่กันหักส่วนที่เป็นสาธารณประโยชน์ออก เหลือเนื้อที่รวมราวสามสิบสามไร่ ก่อนออกประมูลขาย คลิกอ่านที่นี้ )
ดังนั้น ราคาสินทรัพย์ก่อนฟองสบู่แตกนี้ เมื่อนำมาขายในยุคทักษิณที่ว่ากันว่าเศรษฐกิจรุ่งเรื่องดีแล้ว ยังขายได้ราคาแค่ร้อยละ 36 นับเป็นการเสื่อมราคาอย่างแรง
ตัวอย่างการเสื่อมราคาของสินทรัพย์หลังวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา
เมื่อ 3 ปีก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า ซับไพร์ม มีลักษณะเป็นฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์คล้ายที่เกิดในประเทศไทย ปรากกว่าสินทรัพย์นั้น ก็มีการเสื่อมราคาลงอย่างมากเช่นกัน เท่าที่อ่านพบจากบทความของคุณมนตรี การเสื่อมราคาลง และประมูลขายออกได้ราคาเพียงร้อยละ 22 เท่านั้น ดังความบรรยายที่คุณมนตรีบรรยายว่า กรณีคล้ายๆกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นที่อเมริกาและยุโรป ตั้งแต่ช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ สถาบันใหญ่อย่างเช่นเมอริลลินช์ ก็สินทรัพย์ได้เพียง 22% เท่านั้น ( ในบทความนี้ )
สรุป
ดังนั้น การทุจริตในคดีปรส ที่ปปช กำลังพิจารณาอยู่นี้ จะมีจริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการสอบสวนในพฤติการณ์การทำงาน หากมีการทำงานที่เอื้อประโยชน์ ขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อระเบียบจริง ผู้กระทำผิดก็ต้องรับโทษ
แต่การกระทำผิดที่กิดขึ้น ได้ส่งผลเสียหายเท่าไรนั้น แม้ยากจะคำนวณ แต่หากดูจากข้อเท็จจริงที่ว่า
1.คดีปรส รับโอนสินทรัพย์ทางบัญชีมาตั้ง 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอลไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท ไม่พบคยวามผิด ทั้งๆที่มูลค่าลดลงไปเหลือแค่ร้อยละ 19 ก็ยังไม่พบว่าเกิดมีการทุจริต
2. ตัวอย่างการเสื่อมมูลค่าของสินทรัพย์ที่มาขายในยุคที่อ้างกันว่าเศรษฐกิจดีแล้วคือยุคคุณทักษิณ สินทรัพย์ก็ยังขายได้แค่ร้อยละ 36 ขนาดเศรษฐกิจรุ่งเรื่องแล้วนะ
3. ตัวอย่างการเสื่อมมูลค่าของสินทรัพย์ของเมลริลลินซ์ที่ประมูลขายออกได้เพียงร้อยละ 22
ทำให้มองได้ว่า ปรส รับโอนสินทรัพย์มามูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท ประมูลขายสินทรัพย์ออกไปได้มูลค่าเพียงร้อยละ 22.3 จึงอาจเป็นความปกติของการเสื่อมราคาสินทรัพย์ตามสภาพวิกฤติเศรษฐกิจ แต่หากในการสอบสวน พบผู้กระทำผิดกฏหมาย ก็ต้องลงโทษ ไปตามกระบิลเมือง เพียงแต่ความเสียในคดีนี้ น่าจะเกิดขึ้นเพราะธรรมชาติของสินทรัพย์ที่จะเสื่อมราคาลงเอง มากกว่า