ข้อเสนอถึงการสร้าง ประเทศไทย ในอนาคต
|
 |
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ปทท. เคยมีความต้องการ ให้ทหาร ปฎิบัติหน้าที่ป้องการการรุกราน จากภายนอก (ทำสงคราม) เมื่อเทียบกับ การนำมาใช้สำหรับ ยึดอำนาจ ภายในประเทศ (ทำการปฎิวัติ และรัฐประหาร) มีจำนวนแตกต่างกัน มากน้อยอย่างไร ครับ? ในขณะเดียวกัน การใช้งบประมาณในแต่ล๊ะปี เพื่อสร้าง และวิวัฒนาการแสนยาภาพ ของกองทัพ เมื่อเทียบกับ ลักษณะของยุโธปกรณ์ มีระสิทธิภาพกับการใช้ปฎิบัติการ เพื่อป้องกัน ปทท. (สงครามถูกรุกราน) อย่างสมควรกับวิวัฒนาการหรือไม่ ครับ? รวมทั้ง การจัดระบบปรับระดับข้าราชการ ในระดับชั้นสัญญาบัตร ปทท. มีจำนวน นายพล กี่คน ที่เคยมีประสบการณ์ในการปฎิบัติการปกป้อง ปทท. (ทำสงครามจริง) หรือมีจำนวนสมดุลย์ กับจำนวน ทหารที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ครับ?
๑.) เป็นความจริงหรือไม่ ที่ค่าใช้จ่าย ของทหาร ที่ปรับตามระดับยศ และแบ่งระหว่าง ชั้นประทวน และชั้นสัญญาบัตร ไม่เพียงแต่ รายได้ประจำเดือน หรือเงินบำเน็จ ในฐานะข้าราชการ แต่ยังต้อง รวมถึง เครื่องแต่งกาย อาวุธยุโธปกรณ์ ประจำตัว และสวัสดิการประจำตำแหน่ง ฯลฯ อีกด้วย อันค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เป็นเงินที่มาจาก ภาษีของ ปชช.ไทย ทุกคน ฉนั้นในการใช้กำลังทหารเพื่อประโยชน์ของการยึดอำนาจให้กลุ่มใด หรือคนใดคนหนึ่ง และยังมีผลให้ ปชช.ไทย เจ้าของ เงินภาษี เกิดความสูญเสีย ครั้งแล้วครั้งเร่าบังเกิดขึ้น รบ. ที่มาจาก ปชช. ก็สมควรที่จะนำเอา นโยบาย ลดกำลังพล ที่ไม่อยู่ในความจำเป็นกับหน้าที่ ของการป้องกัน ปทท. มาพิจารณา ครับ
๒.) เป็นความจริงหรือไม่ ที่ในขณะนี้ ปทท. ขาดความสมดุลย์ ระหว่าง นายพล กับ พลทหาร หรือที่เรียกว่า โรคหัวโต และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการใช้ค่าสวัสดิการ เมื่อเทียบกับข้าราชการ พลเรือน ไม่อยู่ในลักษณะความเป็นธรรมเสมอภาค อย่างชัดเจน เช่นเดียวกัน การเป็นข้าราชการ จะมีขอบช่วงเวลา ของการปฎิบัติหน้าที่เต็มเวลา ในตัวอยู่แล้ว แต่จากความเป็นจริง ที่นายทหาร สามารถเอาเวลาราชการ ไปปฎิบัติภาระกิจอื่นๆ อย่างเช่น การเมือง หรือธุรกิจส่วนตัว อันในขณะเดียวกัน ก็ยังสามารถนำใช้ ข้าราชการทหาร ในระดับต่ำ ในฐานะผู้บังคับบัญชา เป็นตัวช่วยได้อีกด้วย รบ. ที่มาจาก ปชช. ก็สมควรที่จะนำนโยบายเข้า ควบคุมและแก้ใข เพื่อลดความ สูญเสีย ของประเทศ และเงินภาษีของ ปชช. ครับ
๓.) เป็นความจริงหรือไม่ ที่หน้าที่การปฎิบัติหน้าที่ เพื่อความสงบภายในประเทศ เป็นสิทธิอำนาจ หน้าที่ ของข้าราชการตำรวจ ตาม เจตนารมณ์ ของ รธน. ทุกฉบับที่มีใน ปทท. แม้แต่ใน พรก.ฉุกเฉิน ก็ไม่เคยระบุให้ อยู่ในอำนาจหน้าที่หลัก ของข้าราชการทหารเพียงแต่สามารถ ให้มาเป็นกำลังสนับสนุน เท่านั้น การตั้ง ศอฉ. โดยใช้การบงการและปฎิบัติการโดยไม่อยู่ใต้การอำนวยการของ จนท.เฉพาะการ (ตำรวจ) อย่างที่ผ่านมา ไม่น่าจะเป็นกรณี ถูกต้อง สมควรแล้วมิใช่ หรือ จาก รบ. ที่มาจาก ปชช. จะออกมาแถลงการณ์ ยอมรับความผิดพลาดของการ บริหาร ของ รบ. ชุดก่อนหน้า และรับรอง เป็นนโยบาย กับ ปชช. มิให้เกิดขึ้นอีก ครับ
ผมเชื่อว่า ปชช.ไทย จะมีความยินดีและภาคภูมิใจ กับการมี ข้าราชการทหาร ที่มีแสนยานุภาพทันยุค ทันสมัยเพื่อปกป้องภัยพิบัติภายนอก ต่อประเทศ และได้รับค่าทดแทน รวมทั้งสวัสดิการ อย่างสมเหตุสมผล รวมทั้งไม่ต้องหนักใจกับการเสียเงินภาษีเพื่อเอามาเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความสูญเสียให้กับ พี่น้องไทยด้วยกันครับ สุดท้ายก็จะลดความเศล้าที่ต้องทนดู คำอ้างของสากลว่า ใน ปทท. มีนายพลเกลื่อนกลาดถึงขนาด คงต้องส่งไปแนวหน้าเพื่อรบกับฆ่าศึก ครับ
(ผมสงสัยจริงๆ ว่ามีนายพลกี่คน ที่สามารถหลับตา ถอดและประกอบ เอ็ม ๑๖ ได้ครับ)
แก้ไขเมื่อ 05 เม.ย. 55 02:21:11
จากคุณ |
:
พลายทมิฬ
|
เขียนเมื่อ |
:
5 เม.ย. 55 02:15:37
A:217.227.48.73 X:
|
|
|
|