Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
/***เก็บเรื่องเล่าเอามาเขียน ตอน แพงทั้งแผ่นดิน จริงหรือ ?- ดัชนีราคาผู้บริโภค - บัวหิมะ และ หญ้า ***/ ติดต่อทีมงาน

วันนี้ขออนุญาต
พามาคุยเรื่องราคาสินค้าแพงนะคะ
เห็นมีการถกเถียงกันเยอะ ในช่วงที่ผ่านมา

ก่อนอื่นต้องเอามาดูกันก่อน
ว่า "สินค้าแพง"
แพงแบบไหน แพงในความหมายใด

เช่น ความหมายของคุณชวนนท์
คือข้าวกระเพราะ จานละ 80 บาท
โดยร้านใกล้ๆ ราคา 30 บาท ไม่ไปกิน   (ฮา)

บางท่านอาศัยเดินตลาด ซื้อของทุกวัน
ก็รู้ว่ามันแพงหรือไม่แพง

บางท่านอาศัยดูจากดัชนีผู้บริโภค
ประมาณว่า...ข้ามีข้อมูลอ้างอิงนะเฟ้ย พวกเอ็งอย่ามาเถียง (ฮา)

และบางท่าน อาศัยเดาเอา ว่ามันคงแพงมั้ง  (ฮา)

กรณีของคุณชวนนท์ เราข้ามไปดีกว่านะคะ
อย่าเอามาเป็นประเด็นเลย ท่านรวย เราก็ปล่อยท่านไป (ฮา)

มาดูเรื่องดัชนีราคาผู้บริโภคกันดีกว่าค่ะ

ดัชนีราคาผู้บริโภคคืออะไร ?
ดัชนีราคาผู้บริโภค  คือตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ

โอ๊ย เบื่อศัพท์แสงพวกนี้จริงๆ เอาง่ายๆ ดีกว่าเนอะ
ดัชนีราคาผู้บริโภค คือตัวที่บอกว่าของมันถูกลงหรือแพงขึ้นนั่นเอง
ค่อยเข้าใจขึ้นมาหน่อย   (ฮา)

ทีนี้เราจะดูว่าของถูกลงหรือแพงขึ้น เราดูปีเดียวได้มั้ย
ไม่ได้สิคะ สมมุติว่าปีนี้หมูราคา 100 บาท
อ่าว......แล้วมันถูกลงหรือแพงขึ้นล่ะเนี่ย
เราก็ต้องไปหาตัวมาเปรียบเทียบค่ะ

ถ้าปีที่แล้วหมูราคา 130 บาท ปีนี้ 100 บาท
แสดงว่าปีนี้หมูราคาถูกลงนะจ๊ะ <<< เช่นนี้เป็นต้น
แล้วพอเอาสินค้าหลายๆ ชนิด หลายๆ กลุ่มมาเฉลี่ยกัน
มันก็ได้มาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคในแต่ละปีนั่นเองค่ะ

ทีนี้เมื่อต้องมีตัวเปรียบเทียบ แล้วเขาเอาอะไรเทียบล่ะ?
ก็ต้องมีการกำหนดปีอ้างอิงขึ้นมา 1 ปี ค่ะ
เช่น ตั้งแต่ปี 2551 - 2555 เป็นต้นมา
ปีอ้างอิงที่ใช้คือดัชนีราคาฯ ของปี 2550 ค่ะ

อธิบายอีกทีให้เห็นภาพชัดๆ
ถ้า.........
       ปี 2550 หมูราคา  80   บาท
       ปี 2554 หมูราคา 130 บาท
แบบนี้ แสดงว่าปี 2554 หมูแพงขึ้น 50 บาท
เมื่อเอาไปเทียบกับปี 2550 <<< เข้าใจเนอะ ^^

แต่แบบนี้มันเกิดปัญหาตามมาว่า ไม่แฟร์น่ะสิ
เพราะสินค้าแต่ละตัวราคาไม่เท่ากัน
ไม่แฟร์ยังไง ?

สมมุติว่ามีสินค้าที่เอามาคิดแค่ 2 ชนิดนะคะ

ชนิดแรก คือ"หญ้า" เอาไว้รับประทานเวลาสติปัญญาตกต่ำ   (ฮา)
สมมุติว่าหญ้า ราคากิโลละ 1 บาท ปีต่อมาเพิ่มเป็นกิโลละ 2 บาท

ชนิดที่สอง คือ "บัวหิมะ" เอาไว้รับประทานเพื่อเพิ่มวิทยายุทธ์
สมมุติว่าบัวหิมะราคากิโลละ 500 ปีต่อมาเพิ่มเป็น 600 บาท

จะเห็นว่า ราคาญ้าเพิ่มขึ้นแค่ 1 บาทเท่านั้น
แต่เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์แล้วเพิ่มมาถึง 100 เปอร์เซนต์
ส่วนบัวหิมะ ราคาเพิ่มขึ้นถึง 100 บาท
แต่เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์แล้ว เพิ่มขึ้นเพียง 20 เปอร์เซนต์

แบบนี้พอเห็นภาพมั้ยคะว่ามันไม่แฟร์
เพราะคนขายหญ้า ก็บอกว่าข้าขึ้นราคาบาทเดียวเอง
คนขายบัวหิมะ ก็บอกว่าข้าขึ้นราคาแค่ 20 เปอร์เซนต์เอง

คนคิดเขาฉลาด เขาก็เลยกำหนดว่าให้อ้างอิงราคาสินค้าเทียบกับร้อย
ก็คือกำหนดให้ราคาสินค้าในปีฐานน่ะ = 100 ไปซะ ให้หมดทุกประเภท

เช่น ราคาหญ้าที่ยกตัวอย่างมา ราคา 1 บาทเพิ่มเป็น 2 บาท
หากเทียบให้ปีแรกเป็น 100
แสดงว่าราคาเพิ่มจาก 100 เป็น 200 บาท

ส่วนบัวหิมะ ราคา 500 เพิ่มเป็น 600 บาท
หากเทียบให้ปีแรกเป็น 100
แสดงว่าราคาเพิ่มจาก 100 เป็น 120 บาทเท่านั้น

หมายความว่าจริงๆ แล้ว...............
หญ้ามีราคาเพิ่มขึ้นมากกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาบัวหิมะนั่นเอง

ยาวแล้วเนอะ.........แต่อย่าคิดว่าจะจบง่ายๆ
อนุญาตให้พักไปทานข้าว จิบกาแฟ กินบัวหิมะ หรือเคี้ยวหญ้าเล่นกันก่อนตามอัธยาศัยค่ะ
.....เฮ้ย  คนเค้าไม่เคี้ยวหญ้ากันหรอกยัยหงส์                        (ฮา)

แล้วมาต่อกันในคอมมเมนต์ถัดไปค่ะ

จากคุณ : หงส์หิมะ
เขียนเมื่อ : 5 เม.ย. 55 15:25:20 A:58.11.144.230 X:




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com