 |
 
ความคิดเห็นที่ 17 |
เอกสารทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพฝ่ายพม่ามีความชื่นชมในความสามารถของเจ้าพระยาจักรี จึงขอดูตัวอีกทั้งยังทำนายว่าต่อไปในภายภาคหน้าเจ้าพระยาจักรีผู้นี้จะได้เป็นพระมหากษัตริย์ ดังปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ดังนี้
แล้วอะแซหวุ่นกี้ก็พิจารณาดูรูป ดูลักษณะเจ้าพระยาจักรีแล้วสรรเสริญว่า รูปก็งาม ฝีมือก็เข้ม แข็ง สู้รบเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตนไว้ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์เป็นแท้ (พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, ๒๐๔)
เนื้อความในเอกสารทางประวัติศาสตร์ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความปรีชากล้าหาญของเจ้าพระยาจักรี จนกระทั่งอะแซหวุ่นกี้ผู้เป็นแม่ทัพคนสำคัญ ของฝ่ายพม่าสรรเสริญ และกล่าวคำทำนายได้ให้เป็นเกียรติแก่เจ้าพระยาจักรี แต่ตัวบทเรื่องเล่าที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ คือบทละครเรื่อง “ พระเจ้ากรุงธน ” นวนิยายเรื่อง “ ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน? ” และนวนิยายเรื่อง “ ความหลงในสงสาร ” ได้สร้างคำอธิบายชุดใหม่ที่แสดงเหตุผลการทำนายของอะแซหวุ่นกี้ว่า
ต้องการยุยงให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเจ้าพระยาจักรีผิดใจกัน ดังนี้
พระเจ้ากรุงธน - แล้วเรื่องที่อะแซหวุ่นกี้ทำนายว่าเจ้าพระยาจักรีจะได้เป็นพระมหากษัตริย์นั่นล่ะ เขาว่ากันยังไงกัน
ธิเบศร์ - ขอเดชะ คนเป็นอันมาก เห็นว่าอะแซหวุ่นกี้ยุงยงให้ทรงระแวงเจ้าพระยาจักรี คิดจะให้เกิดการแตกสามัคคี จึงแกล้งทำนายเช่นนั้น
พระเจ้ากรุงธน - เรื่องที่ข้าจะระแวงเจ้าพระยาจักรีนั้นน่ะเป็นไม่มีละ ข้ารู้ดีว่าที่ข้าทำการใหญ่สำเร็จจนไทยประเทศเป็นปึกแผ่นแข็งแรงได้ถึง ปานนี้ ก็โดยได้อาศัยเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ สองพี่น้องนี้มาก แต่ไม่มีใครเขานึกบ้างหรือ ว่าบางทีในภายหน้าเจ้าพระยาจักรีอาจจะได้เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองบ้านเมืองแทนข้าจริง
อำมาตย์ - เห็นจะไม่มีใครนึกเช่นนั้นพระพุทธเจ้าค่ะ
(บทละครเรื่องพระเจ้ากรุงธน, ๑๐๑)
จากบทละครเรื่อง “ พระเจ้ากรุงธน ” ข้างต้นแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ของคำทำนายที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนการในการศึกษาเท่านั้นที่ต้องการสร้างความหวาดระแวง ระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเจ้าพระยาจักรี นอกจากนี้ยังปรากฏในนวนิยายเรื่อง “ความหลงในสงสาร” ในทำนองเดียวกัน ดังนี้
“ ในที่สุด คำทำนายทายทักของซินแสก็กลายเป็นความจริง กระผมคิดว่าซินแสคนนั้นน่าจะมีความรู้ทางโหราศาสตร์นะขอรับ ” ท่านพระครูออกความเห็น
“ เราคิดอย่างท่าน แต่สำหรับอะแซหวุ่นกี้ เขามีความประสงค์จะให้เรากับสหายเป็นศัตรูกัน เพราะถ้าคนไทยรบกันเองแล้ว พม่าก็จะกลืนชาติได้ง่าย เพราะฉะนั้น การที่เราสั่งให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเข้าเฝ้า ให้แต่งชุดนักรบถือดาบเข้ามาด้วย ก็เพื่อจะทดสอบใจสหายของเรา ว่าอยากเป็นพระเจ้าแผ่นดินตามคำพยากรณ์ของอะแซหวุ่นกี้หรือไม่ แต่ไม่ว่าเราจะพูดอย่างไร สหายผู้ซื่อสัตย์ของเราก็ไม่ยอมตกปากรับคำที่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน บอกแต่ว่ามีความสุขแล้ว... ” ( จากเรื่องความหลงในสงสาร, ๔๘)
ผู้น้อย ขอน้อมคารวะครับพี่ท่าน จาน ชาม ช้อน ส้อม ที่นับถือครับ
จากคุณ |
:
อาร์ต โฟล์คสวาเกน
|
เขียนเมื่อ |
:
29 เม.ย. 55 00:44:14
A:118.172.86.109 X:
|
|
|
|
 |