ช่วงอาจารย์ปิยบุตรอภิปราย น่าสนใจและมีประโยชน์มาก เราเลยนำมาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน-ได้ฟังไปด้วยค่ะ
อ.ปิยบุตร อภิปรายเกี่ยวกับศาลอาญาระหว่างประเทศว่า ไม่ใช่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (รัฐกับรัฐ) แต่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะเล่นไปที่ตัวบุคคล ศาลอาญาระหว่างประเทศ มีลักษณะพิเศษคือ
1. เป็นศาลถาวร เป็นศาลเฉพาะคดี 2. เป็นศาลเสริมศาลภายใน จะต้องให้กระบวนการยุติธรรม ภายในของแต่ละประเทศดำเนินการให้เสร็จก่อน 3. คนที่ถูกกล่าวหา คนที่ถูกฟ้อง เป็นบุคคลไม่ใช่รัฐ 4. เกิดจากการสมัครใจของแต่ละรัฐ นอกจากจะลงนามในธรรมนูญกรุงโรมแล้ว จะมีผลใช้บังคับก็ต่อเมื่อไปลงสัตยาบรรณ ด้วยปัจจุบันมี 121 ประเทศ ที่ให้สัตยาบันแล้ว กรณีไทยลงนามที่ศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว แต่ยังไม่ไปลงสัตยาบัน
เงื่อนไขการรับคำร้อง
1. เขตอำนาจทางเวลา เขียนเมื่อปี 1998 รัฐที่ลงสัตยาบันแล้ว เริ่มใช้บังคับเมื่อ 1 กรกฎาคม 2545 ถ้ารัฐใดลงสัตยาบันทีหลัง ก็ให้นับจากวันที่ลงนามให้สัตยาบัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าประเทศไทย ลงสัตยาบัน วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ก็จะมีผลการบังคับใช้ใน วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป ความผิดที่เกิดก่อน 1 พฤษภาคม 2555 ไม่มีผล
กรณีการสลายชุมนุมในไทย เมื่อปี 2552-2553 นั้น ก็จะต้องมีวิธีการตามธรรมนูญ มาตรา 12 วรรค 3 คือรัฐภาคีที่ยังไม่ได้ลงสัตยาบัน สามารถทำคำประกาศฝ่ายเดียว เพื่อยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เฉพาะกรณีได้ เราก็สามารถถอยเวลากลับไปได้ ว่าจะเริ่มเมื่อไหร่ สมมุติประเทศไทย ทำคำประกาศฝ่ายเดียว ย้อนเหตุการณ์ไปถึงวันไหน ธรรมนุญกรุงโรมฉบับนี้ ก็จะถอยไปบังคับใช้ตามวัน เวลา ที่เรากำหนด ประเทศที่ทำมาแล้วมี 2 ประเทศ คือประเทศยูกันดา ตอนนี้คดีของยูกันดา ก็อยู่ในศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว และ ประเทศไอเวอรี่โคสต์ ก็ทำเรื่องขอยอมรับเขตอำนาจศาลเช่นเดียวกัน ตอนนี้คดีก็อยู๋ในศาลอาญาระหว่างประเทศแล้วเช่นกัน
อาจารย์ปิยบุตร แนะนำว่า ประเทศไทยสามารถทำตามธรรมนูญ มาตรา 12 วรรค 3 ดร.สุนัย ขอสำเนาตัวอย่างจากอาจารย์ปิยบุตร และ อาจารย์ก็ได้มอบให้ ดร.สุนัยไว้แล้ว
2. เขตอำนาจทางพื้นที่ และเขตอำนาจทางบุคคล ความผิดต้องเกิดในดินแดนของรัฐภาคี ตอนนี้ไทยไม่ได้เป็นรัฐภาคี หรือผู้ถูกกล่าวหา มีสัญชาติของรัฐภาคี แต่อาจจะมาติดที่ มาตรา 17
เนื่องจากศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นศาลเสริม ต้องรอให้กระบวนการยุติธรรมของรัฐภายในเสร็จเสียก่อน แต่ถ้ารัฐนั้นไม่เต็มใจหรือไม่ สามารถดำเนินคดีได้ เช่น สมมุติว่าศาล ไม่เป็นกลาง ไม่เป็นอิสระ กระบวนการยุติธรรมล่าช้า เป็นต้น
จะเห็นว่าเกณฑ์ในการรับคดีไม่ได้เป็นไปได้ง่ายๆ ดูในทางคดีเงื่อนไขเยอะมากๆ กรณีของไทยมีการริเริ่มดังกล่าวแล้ว สมมุติว่าศาลอาญา ระหว่างประเทศมองว่ากระบวนการยุติธรรมในไทย ยังปรกติอยู่ ก็จะยังไม่เข้ามายุ่ง
เรื่องกระบวนการยุติธรรมภายในไร้ความสามารถหรือไม่ตั้งใจหรือไม่ หลายๆ ประเทศเริ่มใช้การนิรโทษกรรม ถ้านิรโทษกรรมแล้วได้รับการ นิรโทษกรรม ก็ถือว่ารัฐภายในไม่เต็มใจดำเนินคดีแล้วหรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุป ก็ยังมีการถกเถียงในตำราเรื่องนี้กันอยู่
จากคุณ |
:
Khun-Data
|
เขียนเมื่อ |
:
2 พ.ค. 55 06:34:05
A:68.77.109.199 X:
|
|
|
|