 |
#7 ที่ไปอ่านในงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกจุฬา ทำไมเป็นอีกเรื่องกับที่เขียนมา ยกตัวอย่าง http://freedom-thing.บล็อกสปอต.com/2011/11/2.html .. "ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2489 ก่อนที่จะมีการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ไม่นาน สถานทูตสหรัฐฯได้รายงานความเคลื่อนไหวทางการเมืองระหว่าง ควง อภัยวงศ์กับ พระราชวงศ์ และกลุ่มรอยัลลิสต์ ที่มีการพัฒนาความสัมพันธ์อันแนบแน่นมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้กลุ่มดัง กล่าวประกอบด้วย พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ฯ ,เจ้าพระยาศรีธรรมธิเบศ ,ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ,ม.ร.ว.คึกฤทธิ ปราโมช ,สมบูรณ์ ศิริธร ,เทียม ชัยนันท์ ,เลียง ไชยกาล และใหญ่ ศวิตชาติ เป็นต้น ในเวลาต่อมา พวกเขาได้จัดประชุมทางการเมืองเพื่อเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นที่บ้านของพระพินิจชนคดีเพื่อร่วมมือกันต่อต้านคณะราษฎร โดยได้รับเงินทุนก้อนแรกในจัดตั้งพรรคการเมืองจากพระพินิจชนคดี
ในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในเดือนเมษายนปีเดียวกันนั้นเอง โดยปราศจากนโยบายพรรคฯที่มีความชัดเจน เนื่องจากสมาชิกในพรรคฯ มีความต้องการที่หลากหลาย เช่น สมาชิกบางส่วนมีความต้องการกลับสู่ระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์ บางส่วนต้องการรัฐบาลที่ซื่อสัตย์ บ้างก็ต้องการมีผู้นำที่เข้มแข็งอย่างเช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่บางส่วนก็ไม่ต้องการ จอมพล ป. อย่างไรก็ตาม กล่าวโดยสรุปนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ คือเพื่อค้านเท่านั้น
จากรายงานของอดีตโอเอสเอสคนหนึ่งรายงานว่ารัฐบาล ควง อภัยวงศ์ เป็นรัฐบาลอนุรักษ์นิยม และมีความพยายามทำลายฐานทางการเมืองของ ปรีดี พนมยงค์ ที่มาจากอดีตเสรีไทย และนักการเมืองฝ่ายซ้าย จากนั้น กลุ่มปรีดี นำโดยพรรคสหชีพและ สงวน ตุลารักษ์ ได้เริ่มดำเนินการตอบโต้รัฐบาลควง โดยได้สนับสนุนให้กรรมกรจีนและคนชั้นล่างในกรุงเทพฯ ลุกฮือขึ้นก่อความไม่สงบต่อต้านรัฐบาลควงเพื่อเป็นการโต้ตอบ ไม่นานจากนั้น ความขัดแย้งดังกล่าวนำไปสู่การที่รัฐบาลควงพ่ายแพ้เสียงสนับสนุนในสภาผู้แทนฯ ทำให้ควงต้องลาออกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งได้เพียงไม่ถึงสองเดือนนี้สร้างความไม่พอใจให้ควงเป็นอย่างมาก
จากนั้น ปรีดี พนมยงค์ ได้ก้าวมามีบทบาททางการเมืองโดยตรง ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนถัดมา ด้วยเหตุความพ่ายแพ้ในสภาผู้แทนฯ ได้สร้างความไม่พอใจ ของควง อภัยวงศ์ และกลุ่มรอยัลลิสต์มาก ทำให้พวกเขาตัดสินใจจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นในต้นเดือนเมษายน 2489 โดยผลงานทางการเมืองในช่วงแรกเริ่มของพรรคประชาธิปัตย์ คือการตอบโต้รัฐบาลปรีดีทันที
โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้กล่าวหารัฐบาลปรีดีและเหล่าเสรีไทยว่า ร่วมกันยักยอกเงินจากงบสันติภาพของเสรีไทย แต่ผลการสอบสวนโดยคณะกรรมธิการของสภาผู้แทนฯ ปรากฏว่า ข้อกล่าวหาจากพรรคประชาธิปัตย์ไม่เป็นความจริง อย่างไรก็ตามข้อกล่าวหาของพรรคประชาธิปัตย์ได้สร้างความเสื่อมเสียให้รัฐบาลปรีดีเป็นอย่างมาก และได้กลายเป็นชนวนของความขัดแย้งระหว่าง กลุ่มปรีดี กับกลุ่มรอยัลลิสต์ในเวลาต่อมา ผนวกกับเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับ 2489 ได้ถูกประกาศใช้นำไปสู่การเลือกตั้งนั้นยิ่งก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากันโดยตรงระหว่าง กลุ่มปรีดี กับ กลุ่มรอยัลลิสต์ ผ่านพรรคการเมืองที่แต่ละฝ่ายสนับสนุนมากยิ่งขึ้น
สำหรับบทบาทในการต่อสู้ทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงแรกเริ่มของการก่อตัวนั้น พวกเขาพยายามโฆษณาชวนเชื่อในการหาเสียงการเลือกตั้งเมื่อต้นปี 2489 ว่า การเสด็จนิวัตรพระนครในเดือนธันวาคม 2488 และการเสด็จเยาวราชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นผลงานของพรรคประชาธิปัตย์เพื่อช่วงชิงผลงานจากรัฐบาลปรีดี พนมยงค์นอกจากนี้ พวกเขายังได้พยายามอ้างว่า พระมหากษัตริย์ทรงให้การสนับสนุนพรรคฯของตน
แต่ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคสหชีพและแนวรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลปรีดียังคงได้รับชัยชนะ จากนั้นพวกเขาจึงได้เริ่มรณรงค์ต่อไปว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม พร้อมๆกับการโจมตี ปรีดี ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และการเริ่มต้นแผนการโกงการเลือกพฤติสภา ม.จ.ศุภสวัสดิ์ฯทรงบันทึกว่าควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ที่ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ( A Memorandum on a Certain Aspect of the Siamese Politics for His Majesty The King, 20 June 1947, ใน ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท, 1 ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์, หน้า 547-549 )
ขอบคุณข้อมูลตัดมาจากบางส่วนของวิทยานิพนธ์เรื่อง การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500) โดย ณัฐพลจริงใจ
จากคุณ |
:
คนแดนไท
|
เขียนเมื่อ |
:
2 พ.ค. 55 18:27:29
A:183.89.88.71 X:
|
|
|
|
 |