จากชตากรรมการเสียชีวิต ของ อากง อันเป็นสถานะการณ์สะเทือนใจกับ กลุ่มชนส่วนหนึ่งในสังคม และเมื่อจากความรู้สึกเข้าใจของกลุ่มชนอีกส่วนหนึ่ง ถึงความคลุมเคลือในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะเมื่อ ม.๑๑๒ ที่กำลังอยู่ในข้ออภิปราย ถึงการมีปัญหาและแนวทางแก้ใข จากกลุ่มชนอีกกลุ่มหนึ่ง อีกทั้งกลุ่มชนอีกส่วนหนึ่ง ที่มอง ปัญหา รธน. และ ปัญหา ตุลาการ มีส่วนผูกพันการเมือง ในทางตรง หรือทางอ้อม กับกรณี อากง ทั้งนี้และทั้งนั้น ทำให้ กระแส อากง ถูกยกระดับเป็นสัญญาลักษณ์การต่อสู้ ของกลุ่มชนบางส่วน ในกลุ่มนั้นๆ ขึ้นมา ในขณะเดียวกัน จากสภาพการจากไป ของ อากง เป็นความสูญเสีย และภาระปัญหาที่เป็นผลพวงมาจาก คดีความ ทิ้งไว้ให้กับ ญาติพี่น้อง ลูกหลาน และครอบครัว โดยปริยายอยู่แล้ว แต่การนำเอา ศพอากง มาเป็นชะนวนปลุกกระแสเพื่อจุดประสงศ์ ของกลุ่มนั้นๆ อาจถูกมองได้ว่า เป็นการทับถม สภาวะจิตใจ ของครอบครัวผู้สูญเสีย เกินความจำเป็น และสมควร ก็ได้ ครับ
ในกรณี อากง ก็คือ ผู้ต้องหาสูงอายุคนหนึ่ง ในคดีความ ม.๑๑๒ ที่ศาลขั้นต้น ได้มีคำพิพากษา ในฐานะ ผู้กระทำผิด ด้วยการลงอาญา ให้จำคุก ๒๐ ปี และเมื่อได้มีการถอน อุทรณ์ ก็ทำให้คำพิพากษา เป็นที่สิ้นสุด อันทำให้ อากง ตกอยู่ในสภาวะ น.ช. และอยู่ในสภาวะผู้รับโทษ ในเมื่อมีการเสียชีวิต ก่อนที่จะได้รับ อภัยโทษ ตามคำร้อง ทุกอย่างของ อากง ได้จบสิ้นลงไป สิ่งที่เหลือ ก็เป็นเพียง ความทรงจำในแง่ของ ประสบการณ์ หรือ ชตากรรม ของชีวิตคนๆ หนึ่ง ที่มีความหมาย ก็แต่กับครอบครัวที่เขาจากไป ตามกฎแห่งกรรม คือ เกิด – แก่ – เจ็บ – ตาย นั่นเอง อันจากการมองเช่นนี้นี่เอง ทำให้มีฝ่ายที่อ้างในฐานะเป็นผู้หวังดี ด้วยกระแสต่อต้าน ที่ว่า “อย่าหากินกับศพ” มาตั้งแต่สมัย ๙๑ ศพ และย้อนมาใช้กับ อากง อีกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าจะมองในภาพรวม ก็น่าจะสันนิฐานได้ว่า ที่มาของความหวังดี มาจากเหตุและเพื่อผลประโยชน์ใด ที่อยู่เบื้องหลัง ครับ
แต่ปัญหาที่มีความเกี่ยวข้อง กับ อากง ก็คือปัญหาสภาวะความเป็นอยู่ในสังคม ที่ครอบคลุมกับทุกคน รวมทั้งครอบครัวผู้เสียหาย โดยปริยายมาก่อนๆ การสิ้นสุดชีวิตของ อากง และก็ยังจะคงอยู่ต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน ในด้านแรกก็คือ การเรียกร้องให้ตรวจสอบ กระบวนการดำเนินคดี กับ คดีอากง เพื่อหาข้อสรุป ของลักษณะที่มาของคำพิพากษา อันทำให้เกิดการแก้ใข ไปสู่ลักษณะอย่างน้อย ดังนี้
๑.) วิธีพิจารณาความอาญา ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ในอนาคต (วิอาญา) ๒.) พิกัดการลงอาญา ที่มุ่งถึงลักษณะบ่งชัดถึง ความสัมพันธ์ และสมควร ระหว่าง ความผิด และกรอบอาญา (ระวางโทษ) ๓.) รูปธรรม ของ ตัวบทกฏหมาย ที่ให้เกิดลักษณะเฉพาะกรณีใน มาตราเดียวกัน (จุดต้องห้าม) ๔.) การบังคับใช้ โดยมาตราการการลงอาญา โดยคุมขัง ที่อยู่ในขอบข่ายของการควบคุมหรือจำกัด การใช้ชีวิตในสังคม โดยปราศจากการละเมิดสิทธิอันชอบธรรมส่วนบุคคล (จองจำ)
จากความจำเป็นเหล่านี้ นี่เอง ทำให้ผมลงคะแนนโหวต ใน ข้อ ๑ และสนับสนุนทุกการเคลื่อนใหว เพื่อประโยชน์เสมอภาคในสังคม ครับ
จากคุณ |
:
พลายทมิฬ
|
เขียนเมื่อ |
:
12 พ.ค. 55 06:39:35
A:217.225.228.126 X:
|
|
|
|