กรณีที่บริษัท กรุงเทพธนาคม หรือเคที ได้รับการอนุมัติให้ขยายสัญญาบริหาร รถไฟฟ้าให้บีทีเอสซี ไปอีก 13 ปีทั้งที่จะหมดสัญญาการสัมปทานในอีก 17 ปีข้างหน้า เป็นการอนุมัติอย่างเร่งรีบ ไม่ค่อยจะชอบมาพากล เรื่องนี้ พรรคเพื่อไทย ทั้งพรรครับเป็นเจ้าภาพในการที่จะตรวจสอบหาข้อเท็จจริง และจะนำเรื่องเข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ต่อไป
เรื่องทำนองนี้เคยเกิดขึ้นกับการทำสัมปทานในโครงการขยายใหญ่มาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการต่อสัญญาสัมปทานวิทยุ ทีวี หรือโทรคมนาคม มักจะมีการต่อสัญญาล่วงหน้าในระยะเวลาที่ยาวนานเป็น 10 ปี 20 ปีเสมอ
และก็ตามมาด้วยเรื่องของการทุจริต งาบหัวคิว ผลประโยชน์ไปตกกับผู้บริหารหรือผู้อนุมัติเป็นจำนวนมหาศาล โดยมากจะทิ้งทวนกันก่อนที่จะพ้นจากตำแหน่ง
กรณีนี้มีการยกเรื่องที่ ป.ป.ช.ชี้มูลแล้วมาเปรียบเทียบ ตามที่ กสท หรือแคท ยอมให้ทรูหรือฮัทช์ ดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์ระบบ 3 จี ปรากฏว่าการดำเนินการมีลักษณะของนิติกรรมอำพราง ซึ่ง ป.ป.ช.ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่าขัดกับกฎหมาย ทั้งประเด็น พ.ร.บ.ร่วมทุน และกฎหมายอาญามาตรา 157
ดังนั้น การที่เคทีไปเซ็นสัญญาโดยอ้างว่าเป็นการจ้างงาน บริษัทของ กทม.เอง จึงไม่ต้องมีการประกวดราคา เป็นการหลบเลี่ยงกฎหมายหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาของรัฐ พ.ศ.2542 สำนักนายกฯว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมงานหรือดำเนินการของรัฐ พ.ศ.2535
มีการกล่าวหากันถึงขนาดว่างานนี้ มีนักการเมืองระดับรัฐมนตรี ได้รับผลประโยชน์จากการเซ็นสัญญารถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ ไปถึงร้อยละ 10 กินกันตามน้ำ
มีความรู้สึกว่าการจะดำเนินการในโครงการใดโครงการหนึ่งของรัฐบาล จะมีปัญหาความล่าช้า และมีการเปลี่ยนแปลงในทุกครั้งที่ เปลี่ยนตัว รมต.ที่ควบคุม หรือรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการโทรคมนาคม คลื่นความถี่ โทรศัพท์มือถือ รถไฟฟ้า สนามบิน กว่าจะลงตัวหรือตกลงกันได้ บางโครงการต้องใช้เวลานับสิบปี เปลี่ยนนายกฯ เปลี่ยนรัฐบาลไปไม่รู้กี่ชุด
แก้ทีโออาร์กันใหม่ก็มี ล้มประมูลใหม่ก็มี อ้างเหตุผล ระเบียบข้อกฎหมายกันได้สารพัด ไม่ต้องอะไรมาก ไปขอสัมปทานงานจากภาครัฐกระจอกงอกง่อยสักโครงการ มูลค่าโครงการไม่ต้องมาก 1-5 ล้าน อำนาจการอนุมัติขึ้นอยู่กับเลขาฯหน้าห้องอธิบดี เลยไปจนถึงฝ่ายพัสดุ บริษัทไหนจะได้ประมูลงานหรือไม่ต้องมีเส้นสายกันพอสมควร ต้องมีเงินเบี้ยใบ้รายทาง จึงจะทำงานสะดวก ต่อให้ทำงานดีแค่ไหนก็ไปไม่รอด หาเรื่องให้ตกคุณสมบัติเอาดื้อๆ เลยเปิดช่องให้มีบริษัทเอกชนที่ไม่โปร่งใสผูกขาดการสัมปทานงานในกระทรวง ทบวง กรม เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่
เป็นการทุจริตแห่งชาติขั้นพื้นฐาน.
หมัดเหล็ก
http://www.thairath.co.th/column/pol/kaablook/260223
ใกล้สิ้นอายุรัฐบาล ก็มักจะมีการอนุมัติทิ้งทวนกันแบบนี้ ทุกรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองไหน นี่ขนาดไม่ใช่รัฐบาล ก็เป็นไปได้เหมือนกัน
ชอบประโยคสุดท้าย "เป็นการทุจริตแห่งชาติขั้นพื้นฐาน."
งดคำหยาย และสมญานามทุกฝ่ายด้วยค่ะ
ต้องพยายามแปะให้หมด จะได้อ่านกันได้ทันที เดี๋ยวจะบอกว่าไม่มีเวลาอ่าน