 |
อันที่สองคือในส่วนของประชาชนที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม คือมาชุมนุมโดยตรงหรือไม่ได้มาชุมนุม แต่มีส่วนเกี่ยวข้องทางอ้อม เช่น ส่งอาหารให้ ส่งเงินให้ หรือเคลื่อนไหวอยู่ข้างนอก ก็แบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่เป็นความผิดละเมิดกฎหมายภาวะฉุกเฉินและกฎหมายความมั่นคง 2 ฉบับที่ออกมาในช่วงนั้น ประชาชนที่เข้าข่ายละเมิดกฎหมาย 2 ฉบับนี้ให้นิรโทษกรรมไปเลยทันที เพราะกฎหมาย 2 ฉบับนี้ถือว่าละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างเช่น ละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วถูกศาลสั่งจำคุก 2 ปี พวกนี้นิรโทษกรรมหมด และกลุ่มที่ 2 นี้ยังรวมถึงคนที่ละเมิดกฎหมายอื่นๆ แต่เป็นลหุโทษ พวกนี้ก็ให้นิรโทษกรรมไปพร้อมกันด้วย
กลุ่มที่ 3 คือประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ไปละเมิดกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่ลหุโทษ ซึ่งคณะนิติราษฎร์เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง จะได้มาอย่างไรก็ต้องไปดูอีกที คณะกรรมการความขัดแย้งก็จะเอากลุ่มที่ 3 มาดูเป็นกรณีๆ ไป ว่าเหตุที่เกิดขึ้น เช่นคนนี้ถูกข้อหาว่าเผาศาลากลาง ไปดูสิว่าเผาจริงหรือเปล่า หรือแค่มุงดูแล้วถูกจับ อันไหนที่ไม่สมเหตุสมผลแล้วส่งฟ้องก็อาจจะให้นิรโทษกรรม นี่ก็คือสิ่งที่นิติราษฎร์เสนอ แต่สิ่งที่นิติราษฎร์ยังไม่ได้พูดถึงก็คือ
ในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสลายการชุมนุม ก็ต้องไปดูว่าคนสั่งการคือใคร คำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญขณะนั้นหรือไม่ คนที่รับคำสั่งเบื้องต้นคือนายทหารระดับบนมีใครบ้าง และรับคำสั่งโดยเงื่อนไขใด มีความรับรู้แค่ไหนว่าเป็นคำสั่งที่ชอบหรือไม่ชอบ และคนที่รับคำสั่งต่อไปอีกไปทำตามคำสั่งแค่ไหน ทำน้อยหรือทำมากกว่าคำสั่งแค่ไหน การปฏิบัติงานมีการละเมิดนอกเหนือคำสั่งหรือไม่ สุดท้ายแล้วอาจจะออกมาในรูปเจ้าหน้าที่ภาครัฐฝ่ายปฏิบัติการตั้งแต่ระดับกลางถึงล่างอาจจะนิรโทษกรรมทั้งหมด ยกเว้นเจ้าหน้าที่ที่ทำนอกเหนือคำสั่ง เช่น ไปยิงไปฆ่ามันโดยที่ไม่มีเหตุผลอันควร สำหรับเมืองไทยเป็นไปได้ยากที่จะเปิดเผยข้อเท็จจริงในระดับผู้สั่งการ ในประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่ผ่านมาเราก็ไม่เคยไปสู่จุดนั้น ทำไม่ได้เพราะ 3 ครั้งที่ผ่านมาเราไม่พยายามทำ แต่คราวนี้ผมเชื่อว่าหลักฐานข้อมูลเยอะมาก ใครสั่งการใครทำอะไร และการค้นหาความจริงมันก็มีวิธีการต่างๆ ที่ในต่างประเทศเขาก็ทำมา เช่น แอฟริกาใต้ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแล้วมาเปิดเผยความจริงทั้งหมด มีทางเลือกที่จะนิรโทษกรรม เช่น มารับสารภาพความจริงว่าได้รับคำสั่งให้ไปลอบฆ่าคนนั้น ให้ข้อมูลทั้งหมดและก็บอกว่าใครสั่ง บางทีคนนั้นจะได้รับการนิรโทษกรรม มีตัวอย่างมาแล้วในต่างประเทศเขาทำ มันมีวิธีการเยอะที่จะค้นหาความจริง ระบุคนที่มีส่วนกระทำผิด ฉะนั้นโดยสรุปก็คือว่าข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เรื่องนิรโทษกรรม ผมว่าเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ เพราะมีหลักทางกฎหมายรองรับและอธิบายชัด ย้อนมาที่การให้บทเรียนกับนักการเมืองเพื่อไทยในปทุมฯ โมเดล พรรคประชาธิปัตย์เคลมว่าเป็นชัยชนะ แต่แท้จริงแล้วเป็นเพราะเสื้อแดงไม่ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ตัวผู้สมัครมีข้อเด่นตรงที่ว่าลงพื้นที่มาก ดูแลชาวบ้านเยอะในช่วงน้ำท่วมเขาไม่ทิ้ง จุดนี้คนเสื้อแดงในพื้นที่ก็ยอมรับว่าเขาทำงานจริง เกาะติดพื้นที่ ซึ่งต่างจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่โทรศัพท์ยังไม่เปิดเลย แต่ว่าฝั่งประชาธิปัตย์เขาก็ไม่ได้คะแนนเสียงเพิ่ม คะแนนเสียงหายไปส่วนหนึ่ง เพราะว่าเป็นการเลือกตั้งซ่อม แต่ว่าที่หายไปเป็นหมื่นๆ เลยก็คือฝั่งเพื่อไทย ประชาชนเขาไม่ออกไปใช้สิทธิ์ จริงๆ แล้วก็คือการบอยคอตพรรคเพื่อไทย และนี่ก็เป็นลักษณะร่วมของมวลชนเกือบทุกพื้นที่ เป็นความรู้สึกโดยทั่วไปในพื้นที่ที่เป็นของพรรคเพื่อไทย ตอนเลือกตั้งใหญ่ก็มีเสียงบ่นในพื้นที่เลือกตั้งเกือบทุกที่ว่าผู้สมัครเป็นใครก็ไม่รู้ เอามายัดๆ ใส่ อาศัยกระแสคุณทักษิณกับคุณยิ่งลักษณ์ แต่เขาลงให้เพราะอยากให้รัฐบาลมาจากเพื่อไทย ก็ลงให้ ส.ส.พวกนี้ก็รู้ว่าได้เข้ามาเพราะว่าเป็นกระแส ไม่ใช่ด้วยผลงาน พอเข้ามาแล้วก็ยังคงวิ่งตามกระแส วิ่งตามคุณยิ่งลักษณ์ และก็ไม่สนใจประชาชน ไม่ทำงานในพื้นที่ วันๆ ก็วิ่งตามนายกฯ จะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นทั้งหลายจะมีผู้สมัครของคนเสื้อแดงขึ้นมาแข่งกับผู้สมัครที่พรรคเพื่อไทยส่ง
เพราะฉะนั้นแสดงว่าคนเสื้อแดงในพื้นที่เขาไม่พอใจผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยหรือกลุ่มของพรรคเพื่อไทยที่อยู่ในพื้นที่ และผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยที่ลงไปตามพื้นที่ต่างๆ ก็จะเป็นเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เลือกตั้ง อบจ. นายกเทศมนตรี พวกนี้ใครเลือกเข้าไปก็คือเจ้าของพื้นที่ ซึ่งมักจะเป็น ส.ส.หน้าเดิมในพื้นที่ และก็มีหัวหน้าก๊วน เลือกกันเองว่าจะเอาใครลง เอ็งลาออกแล้วไปลง หรือถ้าไม่ได้ลาออกก็เอาพรรคพวกเพื่อนฝูงญาติพี่น้องมาลง ซึ่งก็ไม่ได้มีพื้นฐานในพื้นที่ คนเสื้อแดงก็ไม่พอใจเอาใครมาลงก็ไมรู้ เขาก็ส่งคนของเขาเอง
ถ้าคนเสื้อแดงหลายกลุ่มรวมตัวกันได้ก็อาจจะมีตัวแทนคนเสื้อแดงแค่คนเดียว แต่ในบางเขตคนเสื้อแดงมีหลายกลุ่มรวมตัวกันไม่ได้ก็มีตัวแทนอยู่ 2-3 คนมา ก็เลยกลายเป็นคนของเพื่อไทยกับตัวแทนคนเสื้อแดง 1 2 3 4 คนสู้กับอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งก็มักจะเป็นคนของภูมิใจไทยที่คุมพื้นที่ระดับท้องถิ่นเยอะ ในหลายพื้นที่เขาก็ค่อนข้างมีผลงานเยอะ ฉะนั้นที่ผ่านมาผลที่เกิดขึ้นก็คือว่าพรรคเพื่อไทยก็ดี เสื้อแดงก็ดี แพ้เลือกตั้งระดับท้องถิ่นหมดเลย แทบจะไม่ชนะเลย เพราะพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดงไม่ได้ประสานเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน ส.ส.ในพื้นที่ นักการเมืองในพื้นที่มันก็ไม่เอาเสื้อแดง มองว่าคนเสื้อแดงเป็นอุปสรรค หลังความพ่ายแพ้ที่ปทุมธานี มีการพูดถึงระบบ primary vote ในพรรคเพื่อไทย แต่ถึงที่สุดแล้วการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่ ตัวแทนมวลชนเสื้อแดงก็ต้องยอมหลีกให้โควตาพรรค นี่อาจจะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านปรับโครงสร้างอำนาจภายใน"มันจะเปลี่ยนผ่านหรือเปลี่ยนพังก็ไม่รู้ แต่ว่าการให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนในการเลือกผู้สมัครคงยากมากที่จะทำ ผมคิดว่าพรรคเพื่อไทยถ้าจะไปรอดสุดท้ายต้องทำ เพราะไม่อย่างนั้นพรรคเพื่อไทยก็ไปไม่รอด แต่ทำได้ยากมาก เพราะคนที่อยู่ในพื้นที่เขาไม่ยอมอยู่แล้ว ทุกวันนี้เขาสามารถคุยกับส.ส.ในพื้นที่ 3-4 คน นั่งประชุมว่าจะเอาคนนี้ลงๆ ง่ายกว่าที่จะเอาเครือข่ายของตัวเองไปคุม เอาคนนี้ไปคุม อบจ. คนนี้ไปคุมสภาเทศบาล
สุดท้ายแล้วถ้าพรรคเพื่อไทยไม่ต้องการเป็นแค่พรรคเฉพาะกิจหรือพรรคเถ้าแก่จะต้องทำ และมันก็เป็นปัญหาเฉพาะหน้าอันหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยจะต้องแก้ สิ่งที่ทำได้มากที่สุด ณ เวลานี้ ก็คือว่าเวลาจะส่งตัวแทนลงสมัครในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งซ่อม ส.ส.หรือท้องถิ่นก็แล้วแต่ ก็อาจจะเชิญแกนนำคนเสื้อแดงมาคุยกันเสียก่อนว่าเอ้ยขอนะ ขอกันว่าให้คนนี้ละกัน ค่อยมาว่ากันทีหลัง อย่างเช่นที่เชียงใหม่เอาคนของพรรคเพื่อไทยลง ก็ใช้วิธีเรียกแกนนำคนเสื้อแดงคุย มานั่งคุยขอร้องกันว่าคราวนี้อย่างนี้นะ ขอกัน ก็คงจะปุปะอย่างนี้กันไปได้ในบางพื้นที่ เฉพาะหน้าคงได้ ส่วนในระยะยาวคงต้องปรับโครงสร้างของพรรค ซึ่งอันนี้ก็อยู่ที่แกนนำพรรค-กรรมการพรรค"
คนวงนอกหรือแม้แต่หน่วยงานความมั่นคงอาจเข้าใจว่า หมู่บ้านเสื้อแดงคือฐานกำลังของพรรคเพื่อไทย แต่ในความเป็นจริงแล้วนักการเมืองในพื้นที่กลับเห็นว่า ความเข้มข้นของหมู่บ้านเสื้อแดงนับวันยิ่งเป็นอุปสรรค "ก็มีส่วนมาก เพราะว่าเป็นหมู่บ้านซึ่งไม่ได้อยู่ในความควบคุมของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย และก็บอกได้เลยว่าหมู่บ้านเสื้อแดง นอกจากทางการไม่ว่าจะเป็นทหาร, กอ.รมน., ข้าราชการในพื้นที่ก็ดี ไม่ชอบหมู่บ้านเสื้อแดงทั้งนั้นแหละ
แล้วที่ไม่ชอบหมู่บ้านเสื้อแดงมากๆ เลยก็คือพวก ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งต่อต้านหมู่บ้านเสื้อแดงอย่างมาก ไม่เอาเลย เขาไม่ได้มองว่าเป็นฐานเสียง เขามองว่าเป็นกลุ่มคนที่ไม่ขึ้นกับเขา ฉะนั้นเขาไม่เอาเลย ต่อต้านมาก ก็คือลักษณะเป็นกลุ่มก๊วนเจ้าของพื้นที่นั่นเอง ถ้าจะมีฐานมวลชนก็เป็นฐานมวลชนที่เป็นของฉัน ที่ฉันสร้างขึ้นมา ที่ฉันไปอุปถัมภ์ แต่หมู่บ้านเสื้อแดงชาวบ้านเขาสร้างกันขึ้นมา ใช้เงินของตัวเองชาวบ้านออกเงินกันเอง ไม่แม้แต่จะมาขอเงินจาก ส.ส.ด้วยซ้ำ พิธีเปิดก็ไม่เชิญ เขาก็ต่อต้าน ฉะนั้นแกนนำหมู่บ้านเสื้อแดงเขาก็บ่นกันว่า คนที่ต่อต้านเขาหนักที่สุดไม่ใช่มหาดไทย ไม่ใช่ทหาร แต่เป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทยในพื้นที่"เห็นชัดว่านักการเมืองก้าวตามไม่ทันชาวบ้าน เพราะ ส.ส.ยังเล่นการเมืองในวัฒนธรรมเก่า
มีต่อค่ะ.....3
จากคุณ |
:
Khun-Data
|
เขียนเมื่อ |
:
15 พ.ค. 55 20:13:46
A:68.77.109.199 X:
|
|
|
|
 |